กิจกรรมเวิร์กช็อป Storytelling Classroom ห้องเรียนนักเล่าเรื่อง 101
หัวข้อ: ศิลปะการเชื่อมโยงความคิด และกระบวนการออกแบบความคิดแบบเรื่องเล่า
วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2562 / 11.00 - 18.00 น.
ห้อง workshop (ชั้น 2) TCDC COMMONS - W District
เราเคยได้ยินคำว่า "Storytelling" กันมามาก บางคนว่าคือการเอาเรื่องมาเล่า บางคนว่าคือกลยุทธใหม่ของธุรกิจ บางคนว่าคือเทคนิคจูงใจคน บางคนว่าคือเคล็ดลับความสำเร็จ และอีกหลายแห่งก็ว่า มันคือวิธีการสร้างแบรนด์บนโลกออนไลน์ แต่มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือ
Content is NOT King เนื้อหาหล่อๆ คำพูดเท่ๆ ไอเดียแปลกๆ ใครๆ ก็พูดได้
Storytelling is the best way to communicate people หรือการนิยามเหนือๆ เป้าหมายล้ำๆ ใครๆ ก็โชว์คูลได้เหมือนกัน
แต่การนำ "ไอเดีย ความคิด และเรื่องเหล่านั้น" ลงไปวางในใจผู้คนได้จริง รู้วิธี รู้จังหวะปลูกฝังลงในความคิด ไม่ต้องประดิษฐ์เล่นคำ ไม่ต้องเป็นคนดัง
ไม่ต้องเล่นมุข ไม่ต้องพยายามฮา และรู้วิธีและมีทักษะในการทำให้ผู้คนเกิดอารมณ์และความเต็มใจได้ สิ่งเหล่านี้มีเพียง "นักเล่าเรื่อง" ที่ถูกฝึกสร้างมาอย่างเป็นกระบวนการเท่านั้นที่ทำได้
เพราะ "กระบวนการคิด" และ "ศิลปะการเชื่อมโยงจินตนาการให้ผู้คนด้วยเรื่องเล่า" นั้น ได้กลายเป็นทักษะเฉพาะตัวของนักเล่าเรื่องเหล่านั้น
แล้วทักษะ ศิลปะ วิธีคิด และเนื้อหาวิชาการนั้นมีอะไรบ้าง คลาส "ห้องเรียนนักเล่าเรื่อง 101 ในหัวข้อ: ศิลปะการเชื่อมโยงความคิดและการออกแบบความคิดแบบเรื่องเล่า" คือสิ่งที่เราเตรียมไว้ให้
กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับ
ผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักเรียนนักศึกษาหรือบุคคลที่มีความสนใจในกระบวนการออกแบบความคิด การเขียน โดยการเล่าเรื่อง (Storytelling)
ค่าเข้าร่วมกิจกรรม
***ไม่เสียค่าใช้จ่าย***
การเข้าร่วมกิจกรรม
- เปิดรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 20 ท่าน
- เพียงเขียนแนะนำตัวสั้นๆ และตอบคำถามจากวิทยากร (คลิก REGISTER)
- ประกาศรายชื่อผู้ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรม ภายใน วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2562 ทาง Facebook: TCDC Commons – W District หรือเจ้าหน้าที่จาก TCDC จะติดต่อกลับ
หมายเหตุ: การคัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นไปตามสิทธิการพิจารณาของวิทยากร และผู้ที่ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมนี้ไม่สามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ได้ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม
กำหนดการ
10.30 - 11.00 น. : ลงทะเบียน
11.00 - 12.00 น. : วิทยากรกล่าวแนะนำ และเริ่มบรรยายเนื้อหาช่วงที่ 1
12.00 - 13.00 น. : ---------พักรับประทานอาหารกลางวัน-----------
13.00 - 15.00 น. : วิทยากรบรรยายเนื้อหาช่วงที่ 2
15.00 - 15.20 น. : -------------พักเบรค (20 นาที)----------------
15.20 - 17.00 น. : วิทยากรบรรยายเนื้อหาช่วงที่ 3
17.00 - 18.00 น. : ถาม-ตอบ
เนื้อหาในการจัดกิจกรรม
1. Story: the ancient art & skills
ทำความรู้จักโลกของเรื่องเล่าและการเล่าเรื่อง ศิลปะเก่าแก่ของมนุษย์และกระบวนการใช้เรื่องเล่าเพื่อเชื่อมโยง สร้างความคิด และเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ
2. Think as storyteller
เวลาคิดไอเดียไม่ออก ปัญหาคือ เราไม่ได้คิดแบบเรื่องเล่า เพราะกระบวนการคิดแบบเรื่องเล่า คือรากฐานของการ "สร้างสรรค์ไอเดีย" โดยเฉพาะไอเดียในแบบของเราเองที่มีมุมมองของเราเอง ดังนั้น การเข้าใจกระบวนการคิดแบบนักเล่าเรื่อง เพื่อมองหาเรื่อง ดัดแปลงเรื่อง และสร้างเรื่องขึ้นมาสื่อสาร ก่อนพัฒนาไปสู่สื่อชนิดต่างๆ ทั้งการเขียน การพูด การใช้ภาพ อื่นๆ จึงเป็นส่วนสำคัญที่สุด
3. From ideas to stories
จากปัญหาที่มี ช่องว่างการสื่อสารที่เกิด เรามองหาความคิด ตีความอย่างไรให้กลายเป็นไอเดียใช้งาน จากแรงบันดาลใจ คำเพียงคำเดียว เราคิด เชื่อมโยงมันมาเป็นก้อนความคิด ออกแบบมัยใหม่กลายเป็นแก่นเรื่อง และพัฒนามันให้กลายเป็นพลอตเรื่องได้อย่างไร (ก่อนจะออกแบบแต่งเติมจังหะให้กลายเป็นเรื่องที่สมบูรณ์ต่อไป)
4. Learning stories & structure
เรื่องเล่าทุกเรื่องทั้งสั้นและยาว มีส่วนประกอบสำคัญที่เป็นโครงสร้างสากลทำงานอยู่ในนั้น การเรียนรู้ "เรื่อง" (Story) ให้ชัดคือการผ่าและมองเข้าไปในส่วนประกอบสากลเหล่านั้น ทำความเข้าใจหน้าที่ของมันเพื่อเรียนรู้การแก้ไขเรื่องที่หลวมให้มีพลัง และเรียนรู้วิธีออกแบบในแต่ละส่วนของมันเพื่อครีเอทไอเดียในแต่ละส่วนให้หลากหลายขึ้น
5. Into stories & experience
การเรียนรู้ "ศิลปะและทักษะการเล่าเรื่อง" ของห้องเรียนนักเล่าเรื่องนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่ความคิดของเราเล่าเรื่องสดในหัวได้ (ก่อนที่จะเขียน พูด ใช้ภาพ หรือสร้างสรรค์อีเวนต์ต่างๆ) ดังนั้น ในการเรียนนอกจากส่วนออกแบบความคิดและส่วนวิชาการแล้ว อีกส่วนที่สำคัญคือการ "เข้าสู่ประสบการณ์ของการเล่าเรื่อง" (สด) เพื่อเข้าใจสภาวะเวลาที่ความคิดของเราเชื่อมโยงเรื่อง เชื่อมต่อจินตนาการ ประสานความคิด และการพยายามประคองเรื่องเล่าเพื่อเล่าออกไป ในส่วนนี้เป็นการฝึกที่เน้นการเล่าเรื่อง (รับคอมเมนต์และพัฒนาเรื่องร่วมกัน)
วิทยากร
คุณกานต์ หงษ์ทอง
อดีต :
- นักการละครเวที นักแสดง
- นักเขียนบทภาพยนตร์ และกำกับ
- บรรณาธิการบริหาร ARENA MAGAZINE THAI EDITION, นิตยสาร PHEROMONE ASIA ผู้บริหารบริษัทภาพยนตร์และสื่อสิ่งพิมพ์
- เจ้าของรายการทีวีทาง PPTV รายการ BadTalk ชีวิตดีไม่ต้องดู และ Podcast ชีวิตดีไม่ต้องฟัง และ Storytelling Talkshow ชีวิตดีไม่ต้องมา
- เจ้าของสำนักพิมพ์ MOODY BOOK
- ผู้เขียนหนังสือ "ในนรกฝนตกเป็นความรัก" "พิกุลกัญชา" และ "รอยจูบของผู้หญิงที่คนรักของเธอไม่รัก" ฯ
ปัจจุบัน :
- นักออกแบบการสื่อสารด้วยเรื่องเล่าขององค์กรและธุรกิจ และเป็นที่ปรึกษา
- ผู้สอนพิเศษ Storytelling Art & Skills ให้กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ป.ตรีและป.โท องค์กรเอกชน และภาครัฐ
- ผู้สอนคลาส THE STORY 3 ของ SPU
- เจ้าของเพจ "ห้องเรียนนักเล่าเรื่อง 2018" เพจความรู้เกี่ยวกับ Storytelling Art & Skills และผู้สอนหลัก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ TCDC COMMONS - W District
เปิด 10.30 - 21.00 น. (ปิดวันจันทร์)
โทร. 02 178 0096