“จักรวาลการกินอยู่: ออกแบบอย่างไร? ให้…ยืนหยัด ยืดหยุ่น และ ยั่งยืน”
เป้าหมายปลายทางของการอภิปรายภายใต้กิจกรรมดังกล่าวนี้ มุ่งมั่นตั้งใจขยายพรมแดนความรู้ใหม่เกี่ยวกับการศึกษาศิลปวิทยาการอาหาร (New Frontier in Gastronomy Education) ครอบคลุมประเด็นปัจจุบันสำคัญ และ ประเด็นร่วมสมัย ควบคู่กับ “การประมวลเนื้อหา” และ “การสรุปสังเคราะห์” กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนสังคมเพื่ออาหารและความยั่งยืน “อย่างเป็นองค์รวม” ร่วมกับภาคีขับเคลื่อนด้วยพลังนำร่วมโดยมีย่านสร้างสรรค์เป็นแกนกลางของการขับเคลื่อน
ปณิธานสูงสุด คือ การพัฒนาฟื้นฟูเศรษฐกิจภูมิภาคจากฐานทุนทางวัฒนธรรมของพื้นที่ โดยปรับประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านศิลปวิทยาการอาหารอย่างองค์รวม เป็นเครื่องมือในการสร้างการเข้าถึงทรัพยากรที่เป็นธรรม ปันประโยชน์อย่างเท่าเทียม มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ นำทางสู่หมุดหมายใหม่แห่งการขับเคลื่อนสังคมเพื่ออาหารและความยั่งยืน
เวทีเสวนา เรื่องอาหารและการใช้ชีวิต หรือ “Food Forum” คือ การสนทนาเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาอาหาร (Food Studies) ด้วยความเข้าใจหยั่งลึกอย่างองค์รวม (Holistic Gastronomy)
เพราะ อาหาร คือ ศาสตร์ประสานศิลป์
“จักรวาลการกินอยู่: ออกแบบอย่างไร? ให้…ยืนหยัด ยืดหยุ่น และ ยั่งยืน”
วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม 2564 | 15:00 - 17:00 น.
โดย
คุณวัลลภา แวน วิลเลียนส์วาร์ด
นักขับเคลื่อนที่เชื่อว่าอาหารเปลี่ยนโลกได้ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินี่เครือข่ายนวัตกรรมสากล (INI-Innovation Network Internation) และผู้จัดการโครงการยุทธศาสตร์บูรณาการแผนอาหาร สสส.
ดร.จุฑา ธาราไชย
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ภาคเหนือ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
ดร.ปรเมษฐ์ ชุ่มยิ้ม
Platform Manager Food Innopolis Accelator และที่ปรึกษาอาวุโสโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร หรือ Food Innopolis สวทช.
คุณอโนชา ปาระมีสัก
กษตรกรรุ่นใหม่ สมาชิกสภา และเลขานุการสภาเทศบาลตำบลป่าสัก จังหวัดลำพูน
อ.ดร.จารุวรรณ แดงบุบผา
ผู้อำนวยการสถานวิจัย เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการจัดการท่องเที่ยว (CoETR) มหาวิทยาลัยนเรศวร
อ.อนุวัต เชื้อเย็น
ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาด้านการท่องเที่ยวเชิงศิลปวิทยาการอาหารนานาชาติ (International Gastronomy Tourism Centre: iGTC)
09.00 - 10.00 น. What Urban Eat? โดย คุณวัลลภา แวน วิลเลียนส์วาร์ด นักขับเคลื่อนที่เชื่อว่าอาหารเปลี่ยนโลกได้ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินี่เครือข่ายนวัตกรรมสากล (INI-Innovation Network Internation) และผู้จัดการโครงการยุทธศาสตร์บูรณาการแผนอาหาร สสส. นำเสนอเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจ ฉายภาพ “ระบบอาหารโลก” ผ่าน “อาหารของคนเมือง” เพื่อกระตุ้นความตระหนักรู้ หยั่งลึกความเข้าใจเกี่ยวกับ “ภูมิทัศน์อาหารปลอดภัย” มุ่งประมวลเนื้อหา เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสนับสนุนการสร้างฐานองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบอาหารที่ยั่งยืน
10.00 - 11.00 น. MICE & Gastronomy โดย ดร.จุฑา ธาราไชย ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ภาคเหนือ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ นำเสนอแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจ แนะนำบริการโปรแกรมสนับสนุนอุตสาหกรรม MICE หลังโควิด MICE & Gastronomy มีความสำคัญกับการพัฒนาเมือง และฟื้นฟูเศรษฐกิจภูมิภาค “โปรแกรมใดเหมาะสมกับเรา ต้องเตรียมตัว เตรียมความพร้อมเข้าสู่กระบวนการให้การสนับสนุนอย่างไร”
11.00 - 12.00 น. The Future of Food Business โดย ดร.ปรเมษฐ์ ชุ่มยิ้ม Platform Manager Food Innopolis Accelator และที่ปรึกษาอาวุโสโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร หรือ Food Innopolis สวทช. นำเสนอข้อมูลการสังเคราะห์เนื้อหาจากการถอดบทเรียนโครงการพัฒนาผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม การให้คำปรึกษากลุ่มธุรกิจนวัตกรรมอาหาร การเชื่อมต่อบริการอื่นๆ ตลอดจนการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมอาหาร ภายใต้การกำกับดูแล โดย FIA by Food Innopolis สวทช. รวมถึง ข้อสันนิษฐาน” และ “ภาพอนาคต” ที่มีต่อการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมอาหาร ให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง “เมื่อโลกเปลี่ยนไว ไม่แน่นอน ซับซ้อนมาก และมีความคลุมเครือสูง”
12.00 - 13.00 น. PASAK Movement & Anocha’s Journey โดย คุณอโนชา ปาระมีสัก เกษตรกรรุ่นใหม่ สมาชิกสภา และเลขานุการสภาเทศบาลตำบลป่าสัก จังหวัดลำพูน ร่วมต่อเติมฝันให้คนรุ่นใหม่…เติมพลังใจให้ชุมชน เพราะนี่คือบ้านเกิด…เพราะนี่คือเมืองนอน วิถีชีวิตที่ผูกพันตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัจจุบัน ร่วมติดตามเรื่องราวชีวิตจริงของจุดเริ่มต้นการทำเกษตรที่บ้านเกิด ความท้าทายรายรอบด้าน ทั้งทัศนคติของสมาชิกในครอบครัว และปัจจัยแวดล้อมอันเลวร้าย อาทิ สภาพดินฟ้าอากาศ ภัยพิบัติ การตลาด และการบริหารจัดการ จากแปลงทดลองนาข้าวอินทรีย์ปี 2558 สู่พลังสร้างสรรค์เพื่อ “สวนสุขใจ” ทำไมถึงทำ ทำแล้วเกิดผลลัพธ์อะไร ช่วยขับเคลื่อนท้องถิ่นในบทบาทของสมาชิกสภาได้อย่างไร
13.00 - 14.00 น. Cultural Mapping มุมมองจากความรู้ฐาน ด้วยแผนที่ทางวัฒนธรรมหนึ่งในเครื่องมือวิจัยเชิงพื้นที่ เพื่อการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมในมิติศิลปวิทยาการอาหาร โดย อ.ดร.จารุวรรณ แดงบุบผา ผู้อำนวยการสถานวิจัย เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการจัดการท่องเที่ยว (CoETR) มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมพัฒนาข้อเสนอเพื่อกำหนดร่าง “ตัวแบบการท่องเที่ยวใหม่ (New Age Tourism)” ส่งเสริมการพลิกฟื้นเศรษฐกิจภูมิภาค โดยนำการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนา อาทิ การท่องเที่ยวเพื่อการฟื้นฟู Regenerative Tourism for Post Pandemic, “Gastro-Genomics”, ฉายภาพ “จุดบรรจบ” ระหว่าง “นักวิชาการ นักปฏิบัติ และ นักขับเคลื่อน”
14.00 - 15.00 น. Gastronomy Tourism คำนำเสนอเกี่ยวกับประเด็นปัจจุบันสำคัญในมุมมองการท่องเที่ยวเชิงศิลปวิทยาการอาหาร ประมวลวิธีคิดเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจภูมิภาค ผ่านการศึกษาสำรวจเหตุการณ์เหนือเมฆ (Wild Card) หรือ ตัวแปรที่คาดไม่ถึง ประมวลจากจินตนาการหรือการคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ ควบคู่กับการประเมินสถานการณ์แวดล้อมอย่างรอบด้านผ่านการปริทัศน์เป็นระบบ (systematic review) มุ่งสังเคราะห์เนื้อหา (textual analysis) บริบท (contextual analysis) ตัวแบบ (structural analysis) ในกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงศิลปวิทยาการอาหาร (Gastronomy Tourism)
[สามารถรับชมได้ทาง Facebook Live]