Design Research Day จาก 10 นักสร้างสรรค์จากหลากหลายสาขา Zipevent

Design Research Day จาก 10 นักสร้างสรรค์จากหลากหลายสาขา

6 Feb 2020
13:30 - 16:50 (UTC+7)
TCDC Bangkok

Event Information


Design Research Day

10 นักสร้างสรรค์จากหลากหลายสาขา

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.30 - 16.50 น.

ห้องออดิทอเรียม ชั้น M (อาคารส่วนหน้า) TCDC กรุงเทพฯ

___________________________

ฟรี ไม่เสียค่าเข้าชม

เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ จะเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 – 9 กุมภาพันธ์ 2563 ภายใต้แนวคิด “Resilience: New potential for living ปรับตัว › อยู่รอด › เติบโต” เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับกลุ่มนักสร้างสรรค์ องค์กรภาครัฐ และเอกชน ที่มาร่วมกันนำเสนอวิสัยทัศน์และผลงาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดแนวความคิดสร้างสรรค์ที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพใหม่ให้กับกรุงเทพฯ ทั้งยังเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย และขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เติบโต

เตรียมพบกับ 10 นักสร้างสรรค์ในการนำเสนอโปรเจ็กต์ และงานวิจัยด้านการออกแบบจากหลากหลายสาขา  ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการใช้ความคิดสร้างสรรค์จากกระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาต่างๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นให้เกิดแนวคิดที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพใหม่ๆซึ่งจะเกิดขึ้นในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2563

Design Research Day :

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 l 13.30-16.50 (ประตูเปิด 13.00) l ห้องออดิทอเรียม ชั้น M(อาคารส่วนหน้า) TCDC กรุงเทพฯ

ลงทะเบียนเพื่อสำรองที่นั่งฟรี ตั้งแต่วันนี้ - วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563

เวลา เรื่องวิทยากร
13.30-13.50รูปแบบสีของเมืองกรุงเทพฯ : Bangkok city Colourscape

ธนสาร ช่างนาวา l อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร

13.50-14.10Cycles

ภทรฤน พงษ์ประสิทธิ์  l Creative Director และ Strategist บริษัท Yellaban Creative Media Studio

14.10-14.30Every day Architecture : สถาปัตยกรรมของทุกวัน (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคนเมือง)

ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ l Everyday Architect & Design Studio , Architect

14.30-14.50โครงการพัฒนาคุณภาพผ้าไหม ให้มีคุณสมบัติทำความสะอาดตัวเองได้

นัดดาวดี บุญญะเดโช l อาจารย์วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

14.50-15.10The Human Needs : An Affordable Architecture

กิจโชติ นันทนสิริวิกรม l ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ปรัชญาและทฤษฎีสถาปัตยกรรม

15.10-15.30Swing Notation : The Swing Dancical Notation

ชิษณพงศ์ ธนาธีรสวัสดิ์ l Graphic Designer 

15.30-15.50CharoenKrung : Making of Creative Industry Hub ผังเมืองเจริญกรุง:ย่านสร้างสรรค์ฉบับคิด-ผลิต-ขาย

เบญจมินทร์ ปันสน l Urban Planner & Researcher Thammasat Design School

15.50-16.10Love Without Boundary

วิธินันท์ วัฒนศัพท์ l Witi9.studio, Architec

16.10-16.30The Future Trend of Aging Society 2020-21 : ข้อมูลวิจัยเทรนด์ โอกาสใหม่ทางธุรกิจและคุณภาพชีวิตที่จะงอกเงยและเติบโตไปพร้อมกัน

ปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ l Baramizi Lab Co.,Ltd. , Director Design Researcher & Trend Analyst

16.30-16.50นวัตกรรมการใช้ดินเพื่อทดแทนวัสดุสิ่งทออันสะท้อนถึงการเห็นคุณค่าของตนเอง

ขจรศักต์ นาคปาน l อาจารย์พิเศษ สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย โรงเรียนบุนกะแฟชั่น และนักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เนื้อหาการบรรยาย และประวัติวิทยากร

1)“รูปแบบสีของเมืองกรุงเทพฯ : Bangkok city Colourscape”

อัตลักษณ์ของพื้นที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการรับรู้รูปแบบสีขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม เช่น เปลือกอาคาร หลังคา ประตู และหน้าต่าง ผลงานวิจัยนี้ได้นำเสนอตัวอย่างการศึกษา และการสร้างรูปแบบสีที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ผ่านทฤษฎีสี เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์และรักษาความกลมกลืนทางภูมิทัศน์ ทั้งในระดับสถาปัตยกรรมและระดับย่าน ด้วยกระบวนการถ่ายภาพและการประมวลผลในรูปแบบดิจิทัลอย่างง่าย เพื่อมุ่งหวังให้คนทั่วไปสามารถนำองค์ความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่เมือง ย่านหรือชุมชนของตนเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สำคัญที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ / โดยธนสาร ช่างนาวา - อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในงานออกแบบ และงานสถาปัตยกรรม มีความสนใจทางด้านการศึกษาประสิทธิภาพและความคิดสร้างสรรค์ของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการทำงานวิจัยที่บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบที่พัฒนาคุณภาพในการดำรงชีวิตของมนุษย์ 

2)“Cycles”

นิทรรศการเชิงปฏิสัมพันธ์ที่ตั้งคำถามกับระบบการเรียนการสอนของประเทศไทยในยุคปัจจุบัน ถึงการค้นหาวิถีและแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ให้มีศักยภาพมากขึ้น โดยอาศัยหลักการทางจิตวิทยาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาเป็นส่วนประกอบในการสร้างสรรค์ทฤษฎีจิตวิทยาแฟชั่น ซึ่งถูกบรรจุไปด้วยกิจกรรมทางดิจิทัล และอนาล็อคทั้งหมด 5 รูปแบบ ใช้เป็นสื่อกลางในการค้นหาตัวตนและลักษณะของการรับรู้ของผู้ที่เข้าร่วม เพื่อใช้เป็นจุดกำเนิดของการเรียนรู้แบบ Individual Learning หรือการเรียนแบบเจาะจงในอนาคต / โดยภทรฤน พงษ์ประสิทธิ์ - นิสิตปริญญาโท สาขานวัตกรรมการออกแบบ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เจ้าของแบรนด์ VINN PATARARIN / Creative Director และ Strategist บริษัท Yellaban Creative Media Studio

3)“Every day Architecture : สถาปัตยกรรมของทุกวัน (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคนเมือง)”

จากเนื้อหางานเขียนของผู้บรรยายในคอลัมน์ ‘อาคิเต็ก-เจอ’ ในนิตยสารออนไลน์ The Cloud ที่พาไปสำรวจพื้นที่สถาปัตยกรรมแบบไทยๆ ในหลายแง่มุม ตั้งแต่ พื้นที่จอดวินมอเตอร์ไซค์ยันศาลพระภูมิ โดยทั้งหมดทั้งมวลก็คือปรากฏการณ์การออกแบบแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ในเมืองที่เรามองเห็นได้ริมทางทุกวัน หรือที่เรียกว่าคือสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคนเมือง สู่การเริ่มทำวิจัยโดยสังเกตในเรื่องเหล่านี้ที่ลงลึกขึ้นโดยการบันทึกด้วยการถ่ายภาพและการสเก็ตช์รูปเพื่อให้เห็นแนวความคิดการออกแบบแก้ปัญหาเชิงพื้นที่นั้นๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อหาความซ้ำและความเชื่อมโยงวิธีออกแบบแก้ปัญหาของคนเมืองจริงๆ  / โดยชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ - ประกอบอาชีพสถาปนิกและอาชีพนักเขียน โดยมีงานเขียนคอลัมน์ของตนเองที่มีชื่อว่า ‘อาคิเต็ก-เจอ’ ในนิตยสารออนไลน์ The Cloud โดย อาคิเต็ก-เจอ เป็นแสลงภาษาไทยที่ว่า สถาปนิกไปเจออะไรมา โดยเป็นคอลัมน์เล่าเรื่องสถาปัตย์ไทยๆ ใกล้ตัวในเมืองโดยสังเกต ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างพื้นที่ไม้ห้ามจอดรถ ยันเรื่องใหญ่ๆ อย่างปรากฏการณ์พื้นที่วินมอเตอร์ไซค์ ในมุมมองสถาปนิก โดยทำงานเขียนกับงานออกแบบควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันกำลังเริ่มต้นทำสตูดิโอสถาปนิกของตนเองที่มีชื่อว่า Everyday Architect & Design Studioโดยให้ความสนใจในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับงานเขียนของตน หรือที่เรียกว่า Urban Vernacular Design นั่นเอง

4)"โครงการพัฒนาคุณภาพผ้าไหม ให้มีคุณสมบัติทำความสะอาดตัวเองได้”

การอนุรักษณ์สืบสานงานปราณีตศิลป์การทอผ้ายกดอก อยุธยา หัตถศิลภูมิปัญญาของไทยให้มีความโดดเด่นและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องประกอบการแต่งกาย ที่ไม่ต้องการการทำความสะอาดบ่อยครั้ง เหมาะสมตรงตามความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ ด้วยการนำเทคโนโลยีงานวิจัยมาพัฒนาต่อยอด ทำให้ผ้าไหมมีสมบัติ self-cleaning หรือสมบัติผ้าทำความสะอาดตัวเองได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนซักเพียงแค่นำผ้าไหมที่เปื้อนคราบสิ่งสกปรกชนิดสารอินทรีย์วางไว้ภายใต้สภาวะแสงอัลตราไวโอเลต เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาโฟโตแคตาไลติค และทำให้คราบสิ่งสกปรกนั้นๆ ค่อยๆ สลายไปได้เอง / โดยนัดดาวดี บุญญะเดโช- อาจารย์ประจำหลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องตกแต่ง อาจารย์บัณฑิตศึกษา สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความเชี่ยวชาญด้าน เครื่องตกแต่งแฟชั่น (Fashion accessories)ออกแบบอัตลักษณ์องค์กร และสื่อสิ่งพิมพ์ (Corporate Identity (CI) and Graphic design)การตลาดและการสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ (Marketing and Creative Branding)

5)"The Human Needs : An Affordable Architecture ”

โครงการ 'ความต้องการของมนุษย์: สถาปัตยกรรมที่เข้าถึงได้' เป็นการสำรวจสื่อกลางระหว่างสองสิ่งที่เข้ากันไม่ได้ของชาวออสเตรียและชาวไทย โดยมีคู่ความแตกต่าง ตั้งแต่คุณค่าทางกายภาพที่เป็นรูปธรรมแสดงถึงบรรทัดฐาน คุณค่าทางสังคมและคุณค่าทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นนามธรรมและไม่มีตัวตน ที่มีข้อจำกัดที่แตกต่างกันในระดับต่าง ๆ โดยได้ศึกษาสินทรัพย์และทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ เช่น ค่าครองชีพต้นทุนแรงงานและการก่อสร้าง วิธีและเทคนิคการก่อสร้าง การยอมรับจากมุมมองของผู้ใช้ ฯลฯ / โดยกิจโชติ นันทนสิริกรม - ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ปรัชญาและทฤษฎีสถาปัตยกรรม การวิเคราะห์ทางจิตและการออกแบบสถาปัตยกรรม การเขียนโปรแกรม, ออกแบบกระบวนการและกลยุทธ์ตามบริบทกระบวนการที่มุ่งเน้น

6)“Swing Notation: The Swing Dancical Notation”

สวิงโนเทชั่น คือระบบตัวโน้ตระบบแรกในประวัติศาสตร์ที่ทำการออกแบบมาเพื่อบันทึกการเต้นรำสวิงแดนซ์โดยเฉพาะโดยการนำศาสตร์ของกราฟิกดีไซน์เข้ามาใช้ ในการออกแบบสัญลักษณ์หรือตัวโน้ตให้จดจำได้ง่ายและใช้งานง่ายระบบตัวโน้ตนี้ เปรียบได้เหมือนภาษาใหม่ ที่เขียนบันทึกการขยับร่างกายแต่ละส่วน ตั้งแต่หัว ลำตัว แขนซ้าย แขนขวา เท้าซ้าย และเท้าขวาไปจนถึงชนิดของสัมผัสที่ผู้เต้นได้รับจากคู่เต้นของเราด้วย เช่นแรงดึง หรือแรงผลัก (สวิงแดนซ์สามารถเต้นเดี่ยว และเต้นคู่ได้)จุดประสงค์ของโปรเจกต์นี้คือการจดบันทึกการเต้นรำสวิงแดนซ์เอาไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อไม่ให้เกิดการสูญหายอย่างในปี 1940 ขึ้นอีกในอนาคต / โดยชิษณพงศ์ ธนาธีรสวัสดิ์ - Graphic Designer , Created Swing Notation

7)“CharoenKrung : Making of Creative Industry Hub ผังเมืองเจริญกรุง:ย่านสร้างสรรค์ฉบับคิด-ผลิต-ขาย

ความฝันที่ต้องการเห็นย่านเจริญกรุงเป็นศูนย์กลางคิด-ผลิต-ขาย สำหรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ในขณะที่ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ที่จะประกาศใช้กลางปี 2563 พบว่า มีการใช้ที่ดินเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นครั้งแรกเท่าที่การผังเมืองไทยเคยมีมา แต่ทว่า...เจริญกรุงกลับไม่ได้ถูกกำหนดใช้ประโยชน์ที่ดินเศรษฐกิจสร้างสรรค์นี้แต่อย่างใด คำถามคือ “ความย้อนแย้งของภาครัฐระหว่างความฝันย่านสร้างสรรค์เจริญกรุงกับการกำหนดที่ดินในผังเมืองรวมกรุงเทพฯ จะมีผลบังคับใช้ให้เจริญกรุงให้เป็นศูนย์กลางคิด-ผลิต-ขาย ได้อย่างไร” / โดยเบญจมินทร์ ปันสน-Benjamin Panson - Urban Planner & Researcher Thammasat Design School การศึกษาระดับปริญญาโท การผังเมืองมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , ผู้ช่วยที่ปรึกษาโครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เฉพาะบริเวณชุมชนโดยรอบท่าอากาศยานอู่ตะเภาตามนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง

8)“Love Without Boundary”

ความสัมพันธ์แบบหลายรัก (polyamory) เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมในหลายประเทศ เช่น สหรัสอเมริกา โดยเฉพาะเมืองพอร์ตแลนด์ ซึ่งเปรียบเสมือนเมืองหลวงของความสัมพันธ์รูปแบบนี้ ที่พัฒนาไปเกินกว่าเรื่องเพศ ความสัมพันธ์แบบหลายรักไม่เพียงแต่ส่งผลต่อรูปแบบโครงสร้างครอบครัวที่เปลี่ยนไป แต่ยังส่งผลต่อวิธีการอยู่อาศัยเช่นกัน โดยผลงานวิจัยและการออกแบบชิ้นนี้เป็นการนำเสนอรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและสังคม กับการจัดการที่ว่างทางสถาปัตยกรรม เพื่อก่อให้เกิดช่องว่าง และความยืดหยุ่นในอาคาร ที่เหมาะสมกับความหลากหลายของโครงสร้างครอบครัว และสามารถปรับเปลี่ยนการอยู่อาศัยได้ตามความสัมพันธ์ที่จะเปลี่ยนแปลงขี้นในอนาคต / โดยวิธินันท์ วัฒนศัพท์ - witi9.studio, architect ปริญญาโท MA Architecture ที่ Royal College of Art ประเทศอังกฤษ เป็นคนไทยคนแรกที่ได้ฝึกงานที่บริษัทสถาปนิก Atelier Bow-wow ประเทศญี่ปุ่น และทำงานที่บริษัทสถาปนิก Kanoon Studio 

9)“ The Future Trend of Aging Society 2020-21 : ข้อมูลวิจัยเทรนด์ โอกาสใหม่ทางธุรกิจและคุณภาพชีวิตที่จะงอกเงยและเติบโตไปพร้อมกัน

จากโจทย์ Mega Trend ใหญ่ของโลกได้แก่ "สังคมผู้สูงอายุ" ที่ประเทศไทยเองก็กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายนี้ ศูนย์วิจัย  เทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab เห็นโอกาสที่จะลุกขึ้นมาสร้างคลังความรู้ของ Aging Society สำหรับประเทศไทยให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ ชุดข้อมูลวิจัยเทรนด์ The Future Trend of Aging Society 2020-21 นี้ประกอบด้วยข้อมูลวิจัย Thailand Aging Segmentation ที่เป็นการแบ่งส่วนตลาดด้วยปัจจัยทางจิตวิทยาของกลุ่มวัยเก๋าที่จะทำให้คุณเข้าใจพวกเขาได้อย่างลึกซึ้งขึ้น และข้อมูล The Future Trend of Aging Society ข้อมูลแนวโน้มการสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ๆ โดยงานวิจัยนี้มุ่งเป้าที่จะจุดประกายให้ภาคธุรกิจเห็นโอกาสใหม่นำมาซึ่งการยกระดับความสุขของผู้สูงอายุไทยให้เติบโตงอกเงยไปพร้อมกัน  / โดยปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ - ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต (Trend and Future Concept Research Lab) BaramiziLab ของกลุ่มบริษัท บารามีซี่ ทำหน้าที่วิจัยเพื่อค้นหาโอกาสใหม่ให้ภาคธุรกิจและเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนากลยุทธ์ของแบรนด์ผ่านการมีข้อมูลเจาะลึกของกลุ่มเป้าหมาย

10“นวัตกรรมการใช้ดินเพื่อทดแทนวัสดุสิ่งทออันสะท้อนถึงการเห็นคุณค่าของตนเอง”

มนุษย์ในแต่ละชนชาติมีความแตกต่างกันในเรื่องของสีผิวพรรณอันมีเม็ดสีเมลานินเป็นเซลล์ประกอบสำคัญของร่างกาย   และเป็นตัวกำหนดระดับความเข้มของสีผิวพรรณ เมลานินสามารถสังเคราะห์ได้จากแบคทีเรียชั้นดีที่มีอยู่ในธรรมชาติ ผู้วิจัยจึงมีแนวความคิดในการสังเคราะห์เมลานินโดยการใช้ “ดิน” นำมาสร้างนวัตกรรมวัสดุทดแทนสิ่งทอเพื่อใช้ผลิตเครื่องนุ่งห่มแห่งอนาคต ผลลัพธ์ดังกล่าวสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ลึกซึ้งระหว่างผิวพรรณมนุษย์กับเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้ง ก่อเกิดความงามและความปลอดภัยต่อผู้สวมใส่ / โดยขจรศักต์ นาคปาน - อาจารย์พิเศษสาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย โรงเรียนบุนกะแฟชั่น และนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

การจอดรถ

-รถส่วนตัว จอดรถได้ที่อาคาร CAT ในอัตราค่าจอดรถชั่วโมงละ 20 บาท
-รถจักรยานยนต์ จอดได้ที่ด้านข้างอาคารไปรษณีย์กลาง


Location Details


TCDC Bangkok

LOCATION

The Grand Postal Building 1160 Charoenkrung Road, Bangrak Bangkok, 10500 Thailand

VIEW MAP

Want to know more about this event?
Please contact the organizer for more information.


Creative Economy Agency (CEA) | TCDC (Thailand Creative & Design Center)

Thailand Creative & Design Center (TCDC) was established in 2004 to connect and promote interaction among creativity, skill, cultural asset and business conducive to creating quality products and services that meet the global market demand.