ถอดรหัสรสชาติไท(ย): พลวัตอาหารไท(ย) “กิน อยู่ ใช้” อย่างไรในวันพรุ่งนี้  Zipevent

ถอดรหัสรสชาติไท(ย): พลวัตอาหารไท(ย) “กิน อยู่ ใช้” อย่างไรในวันพรุ่งนี้

11 Dec 2021
15:00 - 17:00 (UTC+7)
Online Event

Event Information


“ถอดรหัสรสชาติไท(ย): พลวัตอาหารไท(ย) “กิน อยู่ ใช้” อย่างไรในวันพรุ่งนี้”

เป้าหมายปลายทางของการอภิปรายภายใต้กิจกรรมดังกล่าวนี้ มุ่งมั่นตั้งใจขยายพรมแดนความรู้ใหม่เกี่ยวกับการศึกษาศิลปวิทยาการอาหาร (New Frontier in Gastronomy Education) ครอบคลุมประเด็นปัจจุบันสำคัญ และ ประเด็นร่วมสมัย ควบคู่กับ “การประมวลเนื้อหา” และ “การสรุปสังเคราะห์” กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนสังคมเพื่ออาหารและความยั่งยืน “อย่างเป็นองค์รวม” ร่วมกับภาคีขับเคลื่อนด้วยพลังนำร่วมโดยมีย่านสร้างสรรค์เป็นแกนกลางของการขับเคลื่อน

ปณิธานสูงสุด คือ การพัฒนาฟื้นฟูเศรษฐกิจภูมิภาคจากฐานทุนทางวัฒนธรรมของพื้นที่ โดยปรับประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านศิลปวิทยาการอาหารอย่างองค์รวม เป็นเครื่องมือในการสร้างการเข้าถึงทรัพยากรที่เป็นธรรม ปันประโยชน์อย่างเท่าเทียม มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ นำทางสู่หมุดหมายใหม่แห่งการขับเคลื่อนสังคมเพื่ออาหารและความยั่งยืน 

เวทีเสวนา เรื่องอาหารและการใช้ชีวิต หรือ “Food Forum” คือ การสนทนาเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาอาหาร (Food Studies)​ ด้วยความเข้าใจหยั่งลึกอย่างองค์รวม (Holistic Gastronomy)

เพราะ อาหาร คือ ศาสตร์ประสานศิลป์

“ถอดรหัสรสชาติไท(ย): พลวัตอาหารไท(ย) “กิน อยู่ ใช้” อย่างไรในวันพรุ่งนี้”

เสาร์ที่ 11 ธันวาคม 2564 | 15:00 - 17:00 น.

โดย

รศ.ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์
ผู้เชี่ยวชาญภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาควิชาภาษาศาสตร์ และหน่วยปฏิบัติการวิจัยภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รศ.ดร.ภาสุรี ลือสกุล
ศูนย์ลาตินอเมริกันศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์
ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์เชิงมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

รศ.ดร.จตุพล คำปวนสาย
ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ชาติพันธุ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดร.ประทีป ปัญญาดี
ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน องค์การสวนพฤกษศาสตร์

ผศ.ดร.เมธวี ศรีคำมูล
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

09:00 - 10:00 น. คนไท(ย) กินอะไรในอดีต: มุมมองภาษาศาสตร์เชิงประวัติ (Historical Linguistics) โดย รศ.ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาควิชาภาษาศาสตร์ และหน่วยปฏิบัติการวิจัยภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ รศ.ดร.ภาสุรี ลือสกุล ศูนย์ลาตินอเมริกันศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครอบคลุมเนื้อหาพอสังเขป ดังนี้

  • ร่องรอยและเรื่องราวของวิถีการกินในศัพท์อาหาร 
  • ที่มาของศัพท์อาหารในภาษาไทยกับความ(ไม่)เป็นไทยของอาหารไทย 
  • เรื่องราวของพืชโลกใหม่ในวิถีการกินของไทย

10.00 - 11.00 น. คนไท(ย) กินอะไรในอดีต: มุมมองพันธุศาสตร์เชิงมานุษยวิทยา โดย รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์เชิงมานุษยวิทยา (Genetic Anthropology) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้

  • คนไทยมาจากไหนในมุมมองพันธุศาสตร์ 
  • หลักฐานโบราณดคีจากการอพยพย้ายถิ่นที่
  • ร่องรอยของการใช้อาหารในแหล่งโบราณคดี (หลักฐานทาง DNA) และการสืบสอบข้อมูลร่วมศาสตร์ เช่น ทันตลักษณ์ศึกษา เป็นต้น

11.00 - 12.00 น. คนไท(ย) กินอะไรในอดีต: มุมมองพันธุศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethnogenetics) รศ.ดร.จตุพล คำปวนสาย ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ชาติพันธุ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • คนไท(ย) จะได้ประโยชน์อย่างไรกับความรู้ด้านพันธุศาสตร์ชาติพันธุ์
  • พลวัตทางสังคมที่มีผลต่อการประกอบสร้างอาหารพื้นถิ่นบนฐานของความหลากหลายทางชาติพันธุ์  สืบสร้างจากอาหาร โรคกับแรงขับทางวิวัฒนาการ และการคัดเลือกอาหารจากองค์ความรู้ทางชาติพันธุ์ 
  • ข้อเสนอที่มีต่อ “ภาพสันนิษฐาน” ของวิถีอาหารอัตลักษณ์ถิ่นภาคเหนือในอนาคต

12.00 - 13.00 น. คนไท(ย) กินอะไรดี: มุมมองพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน โดย ดร.ประทีป ปัญญาดี ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน องค์การสวนพฤกษศาสตร์

  • คนไท(ย) จะได้ประโยชน์อย่างไรกับความรู้ด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
  • คนไท(ย) “กิน อยู่” อย่างไรในยุคหลังโควิด
  • คนไท(ย) กับ “ภาพอนาคตอาหารไทย” จะเป็นอย่างไร? เมื่อ…ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน…กลายเป็นเรื่องปกติถัดไป (Next Normal) เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ, ความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

13.00 - 14.00 คนไท(ย) (ควร)กินอะไรดี: มุมมองโภชนพันธุศาสตร์ ผศ.ดร.เมธวี ศรีคำมูล คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

  • คนไท(ย) จะได้ประโยชน์อย่างไรกับความรู้ด้านโภชนพันธุศาสตร์
  • คนไท(ย) ควร “กิน อยู่” อย่างไรให้ห่างไกลโรค จากข้อมูลดีเอ็นเอ (DNA) สู่การเลือกสำรับหรือตำรับที่เหมาะสมสำหรับเรา พร้อมตัวอย่างกรณีการใช้งานในปัจจุบัน (Use Case / Showcase) เป็นต้น
  • คนไท(ย) กับ “ภาพอนาคตอาหารไทย” จะเป็นอย่างไร? เมื่อ ความรู้ด้านโภชนพันธุศาสตร์…เป็นความปกติใหม่เรื่องถัดไป (Next Normal)

[สามารถรับชมได้ทาง Facebook Live]

 


Register


Sales ended

Registration

FREE

Sales until: 11 Dec 2021 15:00



Want to know more about this event?
Please contact the organizer for more information.


สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) เชียงใหม่