เมื่อบ้าน คือ ศูนย์กลางของทุกสิ่ง จะพักพิงและพึ่งพาหลังโควิดอย่างไร ให้สุขกาย สบายใจ Zipevent

เมื่อบ้าน คือ ศูนย์กลางของทุกสิ่ง จะพักพิงและพึ่งพาหลังโควิดอย่างไร ให้สุขกาย สบายใจ

7 Dec 2021
15:00 - 17:00 (UTC+7)
Online Event

Event Information


ครัว “ร่วมรังสรรค์” หรือ “Co-Kichen”
เป็นพื้นที่ร่วมแห่งการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Learning Space) เปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้แลกเปลี่ยนบทสนทนากับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนง ส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารและการใช้ชีวิต พัฒนาทักษะการปรุงประกอบอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพและระบบนิเวศ
ภายใต้แนวคิด “A Bite for a Better Life” สุข ทุก คำ “เรา” อยากให้ ทุกคำ เป็นความสุขของทุกคน 
Designing the Healthier Peoples’ Palate for Post Pandemic Living
เพราะอาหาร คือ ศาสตร์ประสานศิลป์

“Boosting Back-to-Basics Home Wellness
เมื่อบ้าน คือ ศูนย์กลางของทุกสิ่ง จะพักพิงและพึ่งพาหลังโควิดอย่างไร ให้สุขกาย สบายใจ”

อังคารที่ 7 ธันวาคม 2564 | เวลา 15:00 - 17:00 น.

โดย 

อ.ดร.นพ.ภาวิต หน่อไชย
อาจารย์ประจำหลักสูตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผศ.ดร.อุศมา สุนทรนฤรังษี
ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทสัมผัสและการออกแบบสภาวะเร่งเร้า คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดร.รัชชุพร สุขสถาน
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและพฤกษศาสตร์ กลุ่มงานวิจัยเพื่อการพัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์
องค์การสวนพฤกษศาสตร์

ผศ.ฉันทนา วิชรัตน์
นักวิชาการด้านเมล็ดพันธุ์ สาขาวิชาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

อ.ดร.กีรติ ตระการศิริวานิช
คณบดีคณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้

อ.อนุวัต เชื้อเย็น
ผู้อำนวยการ iGTC คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

อังคาร 07.12.2564 | 09:00-10:00 น. สุขภาพสมบูรณ์สูงสุด: พลังจากปัจเจก สู่จักรวาลในจานข้าว (Wellness Living Design) โดย อ.ดร.นพ.ภาวิต หน่อไชย อาจารย์ประจำหลักสูตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

  • กิน ยกกำลัง 3 ได้แก่ 1) กิน อยู่ ใช้ อย่างไรให้รอบรู้ 2) กิน อยู่ ได้ ในตลาดสด และ 3) กิน เกินขนาด เปิดผ้าคลุมหน้าภาพลวงตาปริมาณการบริโภค (Portion Distortion)
  • 4 ป. เพื่อสร้างระบบอาหารที่ยืดหยุ่น (Food System Resilience) ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) ปลูก (เกษตรกร) 2) ปรุง (เชฟ / ร้านอาหาร) 3) ปรับ (นักวิชาการ / ผู้เชี่ยวชาญ)​ และ 4) เปลี่ยน (ผู้บริโภค / สื่อ)

อังคาร 07.12.2564 | 10:00-11:00 น. สร้าง ผัสสะ สิ่งเร้า: เติมความรู้สึก “ใหม่” ให้อาหารจานเดิม (Wellness Dining Design) โดย ผศ.ดร.อุศมา สุนทรนฤรังษี ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทสัมผัสและการออกแบบสภาวะเร่งเร้า คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

  • ผัสสะสังสรรค์ คือ ฐานรากสำคัญของการอยู่อาศัย (The Sense of Seeking is The Sense of Living)
  • สร้างความรื่นเริง จากสิ่งเร้าที่รื่นรมย์ (Sense Hacking is a New Way of Wellbeing)
  • แม้นจะสัมผัสกันน้อย แต่ต้องเชื่อมร้อยความรู้สึก (Contactless Living with Connected Feeling)

อังคาร 07.12.2564 | 11:00-12:00 น. ดอก-ไม้-หอม: ปลูกดี กินได้ ช่วยคลายเครียด (Wellness Pantry Design) โดย ดร.รัชชุพร สุขสถาน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและพฤกษศาสตร์ กลุ่มงานวิจัยเพื่อการพัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์

  • กลุ่มพืชอาหาร พืชสมุนไพร ดอกไม้กินได้ ที่มีสารสำคัญในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Immune Boosting Foods) นำเสนอรายการวัตถุดิบพร้อมใช้งาน (Shoppinglist) สำหรับ คนเมือง (Urbanist), คนท้องถิ่น (Localist) นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmentalists) และผู้สนใจด้านวัตถุดิบพื้นถิ่น (Gastronomist) เป็นต้น
  • กลุ่มพรรณไม้ให้กลิ่นหอม ป้องกันซึมเศร้า บรรเทาความเครียด กระตุ้นพลังสร้างสรรค์ “เมื่อ…เราต้องทำงานที่บ้านเป็นการถาวร” (Home Wellness Space)
  • กลุ่มพืชพรรณช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับกลิ่น “เมื่อ…ชีวิตต้องติดโควิดสักครั้ง” // “เมื่อ…จมูกไม่ได้กลิ่น พืชพรรณพื้นถิ่น ดู ดม ดื่ม กิน อย่างไรถึงจะดี” // ในวันที่ร่างกายเกิดพยาธิสภาพหลังจากการได้รับเชื้อโควิด อาทิ จมูกไม่ได้กลิ่น (Anosmia) จมูกได้กลิ่นน้อยลง (Hyposmia) เป็นต้น

อังคาร 07.12.2564 | 12:00-13:00 น. เกษตรบำบัด: สวนผักสร้างสุข ปรับใช้ “พื้นที่ว่าง” ให้เป็น “พื้นที่ปลูก” (Wellness Farm Design) โดย ผศ.ฉันทนา วิชรัตน์ นักวิชาการด้านเมล็ดพันธุ์ สาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • สื่อสารต้นเรื่องแห่งแรงบันดาลใจเพื่อการปรับใช้ “พื้นที่ว่าง” ให้เป็น “พื้นที่ปลูก” เน้น “กินก็ได้ ขายก็ดี” ทำให้พื้นที่บ้านเกิดประโยชน์การใช้สอยสูงสุดสำหรับครัวเรือน
  • มุ่งขยายความรู้ คลายข้อข้องใจเกี่ยว “ข้อจำกัด” และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ “ปริศนาบังตา (Farming Connundrum)” ในการทำเกษตรพึ่งตนเองสำหรับคนเมือง หรือ “สวนผักคนเมือง (Urban Farming)” อาทิ
    • เพิ่มความมั่นคงทางอาหาร ทำเกษตรเพิ่มความ “ยุ่งยากให้กับชีวิต” จริงหรือไม่? // อยากทราบความ ปัญหา หรือ สิ่งท้าทาย ที่คนคิดจะทำการเกษตรต้องรู้ก่อน จะเริ่มทำ
    • “ปลูกผัก 1 แปลง แข็งแรง 1 ปี หากจะเริ่มต้นได้ดี ต้องมีทั้งความรัก และ ความรู้” // คำถามที่ปรากฏ คือ ต้องรักมากแค่ไหน และ ต้องรู้เรื่องอะไร ถึงจะทำได้สำเร็จ “ไม่ท้อแท้และสิ้นหวัง”?
  • “เกษตรไทย” เอาไงดี? ถ้าคิดจะมีสวนผักเป็นของตัวเอง เริ่มอย่างไรให้รุ่ง ทำอย่างไรให้รวย ข้อเสนอที่มีต่อรูปแบบของการผลิตผัก หรือการทำการเกษตร ที่ต้องปรับตัว กับโลกที่เปลี่ยนไป (หลังวิกฤตโควิด)

อังคาร 07.12.2564 | 13:00-14:00 น. ชุมชนเปี่ยมสุข: สร้าง “ชุมชน” เพื่อสังคม กินดี อยู่ดี มีสุข (Wellness Community) “สู่สังคม กินดี อยู่ดี มีสุข” นำเสนอผลที่เกิดขึ้นจากขบวนการขับเคลื่อนสังคมเพื่ออาหารและความยั่งยืน ผ่านมุมมองการพัฒนาจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือบนฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน เตรียมความพร้อมส่งเสริมสนับสนุนกลไกการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวผ่านบริษัทที่ดำเนินจัดการเรื่องการขนส่งภาคพื้นดิน (Destination Management Company: DMC) การจัดงานเลี้ยง โรงแรมและนำเที่ยวให้แก่กลุ่มท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัลอย่างเป็นระบบและแบ่งปันประโยชน์อย่างเป็นธรรม โดย อ.ดร.กีรติ ตระการศิริวานิช คณบดีคณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถประมวลเนื้อหาได้พอสังเขป ดังนี้

  • เรื่องกิน เรื่องเที่ยว เรื่องเดียวกัน บอกเล่าเรื่องราวการพัฒนาการท่องเที่ยวผ่านมุมมองด้านอาหารชุมชน 
  • ความภาคภูมิใจ(อาหารชุมชน) กลไกการสำคัญเพื่อผลักดันชุมชนสู่การท่องเที่ยว
  • การพัฒนาการท่องเที่ยวผ่านแนวคิด A.G.E. ประสบการณ์ส่งต่อการพัฒนาจากรุ่นสู่รุ่น

อังคาร 07.12.2564 | 14:00-15:00 น. อาหารและการกินอยู่: เส้นทาง “กินดี” และ วิธีการปรุง โดย อ.อนุวัต เชื้อเย็น ผู้อำนวยการ iGTC คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถประมวลเนื้อหาได้พอสังเขป ดังนี้

  • ความเข้าใจใน “วิถีอาหาร (Foodways)” 
  • ความรอบรู้ด้านการปรุงประกอบอาหาร (Culinary Literacy)
  • แนวคิดการพัฒนาห่วงโซ่อาหารคุณภาพ (Quality Food Chain) ตัวแบบที่ดีและกรณีศึกษา “กิน ยกกำลัง 3” และ “4 ป.” 4 องค์ประกอบสำคัญเพื่อการสร้างระบบอาหารที่ยืดหยุ่น (Food System Resilience) 

[สามารถรับชมได้ทาง Facebook Live]


Register


Sales ended

Registration

FREE

Sales until: 07 Dec 2021 15:00



Want to know more about this event?
Please contact the organizer for more information.


สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) เชียงใหม่