จากบทความสุดฮอตอย่าง 5 ร้านขนมไทย ที่อร่อยที่สุด! ย่านกรุงเทพฯ ชาตินี้ต้องได้กิน Thailand Only (คลิกอ่านได้ที่นี่) แฟนเพจก็อยากให้ทางทีมเล่าเรื่องราวของขนมไทยให้ฟังหน่อย เพราะไปค้นหาดู ไม่เจอประวัติขนมไทยเท่าไหร่ เจอแต่รวม ขนมไทย โบราณหาทานยาก พร้อมแจกสูตรมากมาย และยังมีลูกเพจก็ตามไปยังร้านที่ทางทีมซิปเปิดวาร์ปไปด้วย แต่วันนี้ยามว่างๆ มาอ่านอะไรเพลินๆ กันเกี่ยวกับประวัติขนมไทย ที่ย้อนไปยั้นสมัยสุโขทัยเลย ไม่รอช้า รีบไปดูกัน
จุดเริ่มต้นของ ขนมไทย ที่ค้นพบ
คือถ้าไปเสิร์จนานกว่าร่วมชั่วโมง เจอว่าจุดเริ่มต้น คือถือกำเนิดจากสมัยยุคอยุธยาทั้งนั้น แต่ทางทีมดันไปเจอข้อมูลจากบทความของคุณฮอลล์ เกษา และองค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร เจอเรื่องราวของขนม 4 ถ้วย ในเรื่อง กินสี่ถ้วย : ประเพณีแต่งงานแบบโบราณของชาวสุโขทัย นั่นแสดงให้เห็นว่า ขนม จริงๆ ก็มีมานานมากๆ แล้ว แต่ยังหาจุดเริ่มต้นแบบสุดๆ ไม่ได้
กินสี่ถ้วย : ประเพณีแต่งงานแบบโบราณของชาวสุโขทัย
ก่อนที่ผู้คนจะเริ่ม นับถือพระพุทธศาสนา ในความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีแต่งงาน คือ การเลี้ยงผีบรรพบุรุษของทั้ง 2 ฝ่าย ด้วยการเส้นไหว้ของ 4 เตียบ (เตียบ คือภาชนะคล้ายพานแต่ก้นลึกกว่า และมีฝาครอบที่มีลักษณะคล้ายกรวย ใช้สำหรับใส่อาหาร) เพื่อให้แบบเป็นทองแผ่นเดียวกันจริงๆ แบบสมบูรณ์ เราเรียกประเพณีนี้ว่า “กินสี่ถ้วย” หรือจะให้เข้าใจง่ายๆ คือ การกินสี่ถ้วยก็คือ “พิธีไหว้บรรพบุรุษ” ที่นี่กินสี่ถ้วย เกี่ยวอะไรกับขนมไทย
ก่อนจะเข้าเรื่องอีกที การไหว้ผี ก็เหมือนกับ การกินสี่ถ้วยไหม การไหว้ผี ประกอบไปด้วยของเหล่านี้คือ เหล้า บุหรี่ หมากพลู ไก่ต้ม แต่การกินสี่ถ้วย คือการเลี้ยงขนมมงคล 4 อย่างประกอบไปด้วย 1. ไข่กบ (เมล็ดแมงลักน้ำกะทิ) 2. นกปล่อย (ลอดช่องน้ำกะทิ) 3. มะลิลอย (ข้าวตอกน้ำกะทิ) หรือ นางลอย และ 4. อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียวดำน้ำกะทิ)
ในศิลาจารึกสุโขทัยเมื่อศึกษาดูแล้วยังไม่พบคำว่า “กินสี่ถ้วย” ด้วยไม่มีการบันทึก หรือยังค้นไม่พบศิลาจารึกที่เขียนอธิบายถึงพิธีแต่งงานแบบกินสี่ถ้วย แต่การกินสี่ถ้วยยังเป็นพิธีกรรมแต่งงานที่มีอยู่ในแผ่นดินพระร่วงอันเป็นการแสดงให้เห็นว่ามีการสืบทอดการกินสี่ถ้วยมาอย่างยาวนานในแผ่นดินนี้ โดยในชุมชนที่พูดไทยสยามสำเนียงสุโขทัยที่อยู่ในแผ่นดินพระร่วงที่นอกจากสุโขทัยแล้วยังมีปรากฏที่ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ชุมชนรอบๆ วัดพระมหาธาตุเมืองฝาง–สวางคบุรี ตำบลผาจุก อำเภอเมือง ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ยังมีพิธีกรรมมงคลสมรสที่เรียกว่า กินสี่ถ้วยปรากฏให้เห็นเช่นกัน ยกมาจากบทความของคุณฮอลล์ เกษา และองค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร (อ่านต่อได้ที่นี่)
ในสมัยอยุธยา กับ ขนมไทย จนถึงปัจจุบัน
ถ้าเราเคยดูการะเกดจะเห็นว่า อยุธยามีตลาดบก ตลาดน้ำเยอะมาก แต่ละตลาดก็มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนต่างกันเลย โดย ย่านตลาดบกที่สำคัญในสมัยอยุธยา เช่น ย่านป่าขนมเป็นแหล่งทำขนมขาย มีขนมกรุบ ขนมพิมพ์ถั่ว ขนมสำปันนี ซึ่งก็ทำให้เห็นว่า ขนมในสมัยอยุธยาก็นับว่าเป็นหนึ่งในตลาดใหญ่ๆ ในสมัยนั้นเลย รวมถึงถ้าใครจำแม่ทองกีมาได้ ผู้ผลิต สร้างสรรค์ขนมไทยใหม่ๆ ที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันนี้อย่าง ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ก็เป็นเรื่องราวที่สืบทอด และมีบันทึกมาถึงปัจจุบัน (ซึ่งนับว่าเป็นยุคทองของขนมไทย)
อีกหนึ่งหลักฐานที่ตอกย้ำว่า ขนมไทยมีแน่ๆ ค้นพบได้จาก บ้านหม้อ หนึ่งในหลายๆ ตลาดในอยุธยา ที่มีการปั้นหม้อ และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตา และกระทะขาย
ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่ต้องสงสัยอะไร เพราะหลายๆ อย่างก็จำแลงมาจากสมัยอยุธยาทั้งนั้น และลืมเล่าที่มาในเวอร์ชั่นภาษาไทยของคำว่า “ขนม” อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า “หนม” ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้ง เมื่อเราลองดูๆ ขนมหลายๆ อย่างก็มีส่วนประกอบจากแป้งทั้งนั้น โดยมีส่วยผสมหลักๆ คือ น้ำตาล และกะทิ
จะเห็นว่า ขนมไทย มีประวัติมายาวนาน นานจนหาบันทึกต้นตำรับเจอได้เลย แต่ยังไงใครที่อ่านบทความนี้แล้ว หิวขนมไทยขึ้นมา ทางทีมก็ได้เปิดวาร์ปรวมร้านขนมไทย อย่าลืมไปคลิกอ่านที่นี่ ได้เลยนะ แล้วส่งรูปภาพ แท็กซิปอีเว้นท์มากันด้วย
ติดตามพวกเราได้ที่ Zipevent Blog
Follow us for more interesting content!
ฝากถึงพี่น้อง แฟนๆ ที่เคารพรักทุกท่าน ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย จิ้มๆ
- Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
- Instagram: @Zipevent
- Website: www.zipeventapp.com
- Twitter: @Zipevent
- Facebook: @Zipevent
- LINE TODAY: Zipevent
- YouTube: Zipevent
- Blockdit: @Zipevent