หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพานผ่านไป 200 ปี ศาสนาพุทธก็รุ่งเรืองเป็นอย่างมากที่อินเดีย และคุณรู้หรือไม่ว่า กี่ร้อยปี หรือกี่พันปี เส้นทางของ พระพุทธศาสนา ที่จะเข้ามายังดินแดนสุววรรณภูมิ ศิลปะในเชิง พุทธศิลป์แบบใดบ้าง เชื่อว่าถ้าเล่าไปแล้ว คุณอาจจะร้องอ๋อ เพราะฉะนั้น มาดูกันเลย

พระพุทธศาสนา

มหาสถูปสาญจี ก่อนปี พ.ศ. 300 จุดเริ่มต้นการเดินทางของ พระพุทธศาสนา

มหาสถูปสาญจี คือ โครงสร้างหินเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งสร้างโดยคำสั่งของพระเจ้าอโศกมหาราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 แกนกลางของสถูป คือ โครงสร้างอิฐรูปครึ่งวงกลมที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ด้านบนของสถูปปัก ฉัตรวลี (ร่มหลายชั้นที่ปักอยู่บนยอดสถูป) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกความสำคัญของสถูปนี้ สถูปแห่งนี้จึงสร้างขึ้นเพื่อเป็นการให้เกียรติและที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ ซุ้มประตูโตรณะทั้ง 4 ด้านแกะสลักและตกแต่งอย่างหรูหรา และมีราวระเบียงล้อมรอบทั้งสถูป

เสาพระเจ้าอโศก

เสาอโศก หรือ อโศกสตมภ์ เป็นหมู่เสามอนอลิธิกที่พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วอนุทวีปอินเดีย ปรากฏจารึกพระบรมราชโองการของจักรพรรดิอโศกแห่งเมารยะ จักรพรรดิอโศกทรงใช้คำเรียกเสาเหล่านี้ว่า ธมฺมถมฺภา มาจาก ธรรมสตมภ์ อันแปลว่า “เสาแห่งธรรม” และเสาเหล่านี้เป็นอนุสรณ์อันสำคัญของสถาปัตยกรรมอินเดีย และเสาส่วนใหญ่เป็นหลักฐานแสดงถึงเทคโนโลยีการขัดเงาแบบเมารยะ

พระพุทธรูปแบบทวารวดี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 234

พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระธรรมทูตมาเผยแผ่พุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิ โดยมีพระโสณเถระ และพระอุตตรเถระเป็นประธาน เมื่อท่านมาถึง ได้ปราบผีเสื้อสมุทรที่ชอบเบียดเบียนชาวสุวรรณภูมิ ทำให้ชาวสุวรรณภูมิเลื่อมใส จากนั้นท่านได้แสดงพรหมชาลสูตร  ในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งทำให้เกิดพุทธศิลป์แบบทวารวดี

พระปฐมเจดีย์ ระหว่าง พ.ศ. 300 – พ.ศ. 1000

พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์ มีฐานะเป็นมหาธาตุหลวง ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราชเดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิก็เป็นได้ เพราะพระเจดีย์เดิมมีลักษณะทรงโอคว่ำหรือทรงมะนาวผ่าซีกแบบเดียวกับพระสถูปสาญจี แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ฯ มีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของพระมหาเถรศรีศรัทธา อันได้กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับ เมืองราด เมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานนามใหม่ว่าพระปฐมเจดีย์

นอกจากองค์พระปฐมเจดีย์แล้ว ในลานชั้นลดด้านทิศใต้องค์พระปฐมเจดีย์และพระอุโบสถมีพระประธาน พระพุทธรูปศิลาขาว ซึ่งเป็นสองในสี่พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท ปางแสดงธรรม ที่สร้างขึ้นในยุคทวารวดี นับเป็นการที่ศาสนาพุทธเข้ามายังภาคกลางเป็นครั้งแรก

บุโรพุทโธ ประมาณ พ.ศ. 1393

พุทธมหายานรุ่งเรืองมากในอาณาจักรทะเลใต้ สร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก สร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 123 เมตร เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม สามวงกลมยอดโดมกลาง และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันไป มหาสถูปมีการตกแต่งด้วยภาพสลัก 2,672 ชิ้น และ รูปปั้นพระพุทธรูป 504 องค์ โดมกลางล้อมรอบด้วย 72 รูปปั้นพระพุทธรูปแต่ละนั่งองค์อยู่ภายในสถูปเจาะรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ที่รอบล้อมสถูปเจดีย์ประธานด้านบนสุด มีภาพสลักหินเล่าถึง 1,460 เรื่องที่แสดงถึงชีวิตของพระพุทธเจ้า และข้อความทางพุทธศาสนาที่จารึกไว้ตามแกลเลอรี 1, 2, 3 และ 4 ของวัด

ในชั้นบนสุดของบุโรพุทโธ ที่ถือว่าเป็นส่วนยอดสุดของวิหาร มีลักษณะเป็นฐานวงกลมใหญ่ของเจดีย์องค์ประธาน เวลาที่มองมาจากที่ไกล จะเห็นเป็นเหมือนดอกบัวขนาดใหญ่ ตั้งตระหง่านอยู่กลางหุบเขา ไม่พบภาพสลักใดๆ ปรากฏอยู่เหมือนพ้นจากความต้องการทุกสิ่งทุกอย่าง มีผู้อุปมาภาพที่ปรากฏนี้ว่า แสดงถึงการหลุดพ้นจากทุกสรรพสิ่งในโลกหรือที่เรียกว่านิพพาน อันเป็นจุดหมายสูงสุดของศาสนาพุทธ

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ประมาณ พ.ศ. 1400

รูปเคารพนี้อาจเป็นองค์เดียวกับพระโพธิ์สัตว์ปัทมปาณิ ที่กล่าวถึงในจารึกจาก วัดเวียง เรื่อง พระเจ้าธรรมเสตะสร้างปราสาทอิฐ 3 หลัง เพื่ออุทิศถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ 2 พระองค์ คือ พระโพธิสัตว์ปัทมาปาณิ และพระโพธิสัตว์ผู้ถือดอกบัวนี้ ทรงเป็นบุคลาฐิษฐานของอุบาย ที่นำไปสู่ปัญญาเพื่อบรรลุพุทธภาวะ มีสองกร พระหัตถ์ขวาประทานพร พระหัตถ์ซ้ายทรงถือดอกบัว เป็นรูปแบบหนึ่งของ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่มีผู้นับถืออย่างมาก ทั้งในศาสนาพุทธแบบมหายาน และวัชรยาน ซึ่งเคารพนับถืออยู่ในชวาภาคกลางในราวพุทธศตวรรษที่ 13 -14 เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงความเกี่ยวข้องระหว่างอาณาจักรศรีวิชัยในคาบสมุทรภาคใต้ กับราชวงศ์ไศเลนทร์ในชวาภาคกลาง

พระบรมธาตุไชยา ประมาณ พ.ศ. 1400

ปูชนียสถานที่มีความเก่าแก่และมีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งสะท้อนถึงความเฟื่องฟูแห่งพุทธศาสนาที่เข้ามาหยั่งรากในภาคใต้ของไทย โดยองค์พระเจดีย์นั้นสร้างขึ้นตามแบบลัทธิมหายาน ในสมัยที่อาณาจักรศรีวิชัยยังครองความรุ่งเรืองเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็ก ๆ 4 ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่าง ๆ โดยรอบทั้ง 4 ด้าน ถือเป็นรอยธรรมประทับแห่งภาดใต้ของดินแดนสุวรรณภูมิ

เจดีย์สัพพัญญู ราวๆ พ.ศ. 1687

เจดีย์องค์นี้ถือเป็นเจตีวิหารสองชั้นแห่งแรกในศิลปะพุกาม โดยปรากฏกการซ้อนกันของเรือนธาตุชั้นล่างกับชั้นบน ชั้นล่างเป็นแกนกลางขนาดใหญ่รับน้ำหนักเจตียวิหารในผังแบบครรถคฤหะ-มณฑปด้านบน เจตียวิหารสองชั้นนี้จะได้รับความนิยมต่อมาในศิลปะพุกามตอนปลาย โดยเจดีย์สำคัญที่ใช้เจดีย์สัพพัญญูเป็นต้นแบบ ได้แก่เจดีย์สูลามณีและเจดีย์ติโลมินโล

ปราสาทนครธนม (ปราสาทบายน) ราวๆ พ.ศ. 1701 – พ.ศ. 1800

นครธมมีความหมายว่าเมืองใหญ่ (ธม แปลว่า ใหญ่) เมืองพระนครหลวงมีพระราชวังและปราสาทต่างๆ มากมาย และเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรขอมมั่งคั่ง และรุ่งโรจน์เป็นที่สุด ปราสาทบายนสร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18 รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะแบบบายน ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ปราสาทบายนเป็นปราสาทหลวงประจำรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และเป็นการปฏิวัติรูปแบบของการสร้างปราสาทที่มีภาพลักษณ์ต่างจากการสร้างรูปแบบเดิมๆ โดยสิ้นเชิง เป็นเพราะพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งต่างจากกษัตริย์หลายพระองค์ที่ล้วนแล้วแต่นับถือศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ที่สืบทอดมากกว่า 415 ปี

พระพุทธรูปศิลปะลพบุรี ราวๆ พ.ศ. 1701 – พ.ศ. 1900

พุทธศิลป์อาณาจักรลพบุรี ลักษณะพระพุทธรูปแบบลพบุรีบางแบบ มีลักษณะเป็นของตนเอง เช่น พระพุทธรูปรุ่นพระพักตร์แบบรูปไข่ และทรวดทรงอันงาม รวมทั้งความอ่อนหวานของเส้นที่ส่งผลให้แก่ศิลปะสุโขทัย และอยุธยาต่อมาด้วย พระพุทธรูปสมัยลพบุรีมีพื้นฐานสืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมเขมร ทั้งเทคนิคการสร้างที่ใช้วัสดุหินทรายและรูปแบบศิลปกรรม สามารถแบ่งกลุ่มรูปแบบไว้ 3 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 1 มีการผสมระหว่างทวารวดีกับศิลปะเขมร (ราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 18)
กลุ่มที่ 2 รูปแบบที่สืบทอดมาจากศิลปะเขมร (ราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 19)
กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่พัฒนามาเป็นลักษณะท้องถิ่นอย่างแท้จริง (ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 19)

พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ พ.ศ. 1719

เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้ว และสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 ( พ.ศ. 1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น พร้อมก่อสร้างเจดีย์องค์ใหม่ เป็นเจดีย์ทรงลงกา สูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด สูง 6.80 ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายหลังประดิษฐานอยู่

พระปรางค์สามยอด ราวๆ พ.ศ. 1724 – พ.ศ. 1757

พระปรางค์สามยอด เป็นลักษณะเป็นปราสาทขอมในศิลปะบายน โครงสร้างเป็นศิลาแลงประดับปูนปั้น สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 – ประมาณ 1757) เพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยานประจำเมืองละโว้หรือลพบุรี ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรขอม แต่เดิมภายในปราสาทประธานประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปพระโลเกศวรสี่กร และปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปพระนางปรัชญาปารมิตาสองกร นับว่าพระพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่ภาคกลางตอนบน และภาคอีสานแล้ว

พระพุทธสิหิงค์ ตั้งแต่ พ.ศ. 1792

เดิมพระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีปทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 700 ต่อมาพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งราชอาณาจักรตามพรลิงก์ได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย นับเป็นการสืบเนื่องจากอดีตของอารยธรรมพุทธในดินแดนสยาม จากอดีตถึงตอนนี้ และตามตำนานเล่าสืบต่อกันถึงความศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์พระพุทธสิหิงค์ว่า

“การสร้างได้ประกอบขึ้นด้วยแรงอธิษฐาน 3 ประการคือ 1) คำอธิษฐานของพระอรหันต์ผู้ร่วมพิธี 2) แรงอธิษฐานของพระเจ้ากรุงลังกาผู้สร้าง 3) อานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การที่พระพุทธสิหิงค์เสด็จประทับอยู่ที่ใด พระพุทธศาสนาย่อมรุ่งเรืองดังดวงประทีปเสมือนหนึ่งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่”

ส่วนพระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานที่จังหวัดเชียงใหม่ และนครศรีธรรมราชนั้น จะเป็นพุทธลักษณะปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสนสิงค์ 1 คือจะเป็นพุทธลักษณะนั่งขัดสมาธิเพชร ส่วนองค์ที่กรุงเทพจะเป็นแบบขัดสมาธิราบ

ในฐานะบุลคนในปีพ.ศ. 2564 ที่อยากช่วยเผยแพร่ พระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนา

ทางทีมซิปอีเว้นท์ก็มีอีเว้นท์ดีๆ มานำเสนออย่าง งานเผยแพร่พระไตรปิฎกสู่สากล เนื่องจากจำนวนพระไตรปิฎก 45 เล่ม มีความหนาถึง 22,379 หน้า ขนาด A4 หรือเป็นตัวอักษร ประมาณ 24,300,000 ตัว (พระไตรปิฎก : สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้ พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต หน้า 6) ทำให้คณะผู้แปลต้องใช้เวลาในการแปลเพิ่มมากขึ้นจากที่กำหนด เนื่องจากต้องใช้ความพิถีพิถันในการเลือกคำแปล ให้เหมาะสมกับความหมายที่ควรจะเป็น และเป็นจริงตามในพระไตรปิฎก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จึงได้อนุมัติโครงการ “การจัดการความรู้พระไตรปิฎก ในพระพุทธศาสนา เพื่อการเผยแพร่สู่ระดับสากล” ให้ดำเนินการเป็นปีที่ 2 ภายใต้ชื่อเรื่อง “โครงการเผยแพร่พระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนาสู่สากล ระยะที่ 2” ด้วยเล็งเห็นว่า เป็นโครงการที่จะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ที่จะได้ทำความเข้าใจภาษาบาลีให้ถ่องแท้ และจะได้ช่วยกันสืบสานและสืบทอด พระพุทธศาสนาให้มั่นคงและยั่งยืนต่อไป ติดตามได้ที่นี่เลย คลิก


ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย 

  • Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
  • Instagram: @Zipevent
  • Website: www.zipeventapp.com
  • Twitter: @Zipevent
  • Facebook: @Zipevent

Comments

comments