พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นราชประเพณีคู่สังคมไทยมายาวนานโดยได้รับอิทธิพลจากคติอินเดีย แต่ลักษณะการพระราชพิธีแต่เดิมมีแบบแผนรายละเอียดเป็นอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แม้แต่การเรียกชื่อพิธีก็แตกต่างกันออกไปในแต่ละสมัย เช่น สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเรียกว่า

 “พระราชพิธีราชาภิเษก” หรือ “พิธีราชาภิเษก” ส่วนในปัจจุบันเรียกว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก”

สมัยสุโขทัย ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ ๒ หรือจารึกวัดศรีชุม ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ กล่าวถึงการขึ้นเป็นผู้นำของพ่อขุนบางกลางหาว ไว้ว่า
“…พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวให้เมืองสุโขทัย ให้ทั้งชื่อตนแก่พระสหายเรียกชื่อศรีอินทรบดินทราทิตย์…” ส่วนในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงภาษาไทย และภาษาเขมรกล่าวถึงเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพิธีบรมราชาภิเษกพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) ว่ามี มกุฎ พระขรรค์ชัยศรี และเศวตฉัตร

สมัยอยุธยาปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในคำให้การของชาวกรุงเก่า ข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงขั้นตอนของพระราชพิธีนี้ว่า
“…พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจึงโปรดให้เอาไม้มะเดื่อนั้น มาทำตั่งสำหรับประทับสรงพระกระยาสนานในการมงคล เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น
พระองค์ย่อมประทับเหนือพระที่นั่งตั่งไม้มะเดื่อ สรงพระกระยาสนานก่อนแล้ว (จึงเด็จไปประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ)
มุขอำมาตย์ถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ คือ มหามงกุฎ ๑ พระแสงขรรค์ ๑ พัดวาลวิชนี ๑ ธารพระกร ๑ ฉลองพระบาทคู่ ๑…”

ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี ไม่ปรากฏหลักฐานการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สันนิฐานว่าทำตามแบบอย่างเมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา
แต่ทำอย่างสังเขป เพราะบ้านเมืองไม่สงบเรียบร้อย ยังอยู่ในภาวะสงคราม

ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ประดิษฐานพระบรมราชจักรีวงศ์
และทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกแต่โดยสังเขป ยังไม่พร้อมมูล เต็มตำรา ครั้น พ.ศ. ๒๓๒๖ โปรดให้ข้าราชการผู้รู้ครั้งกรุงเก่า มีเจ้าพระยาเพชรพิชัยเป็นประธาน ประชุมปรึกษาหารือกับสมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะผู้ใหญ่
ทำการสอบสวนร่วมกันตรวจสอบตำราว่าด้วยการราชาภิเษกในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร หรือขุนหลวงวัดประดู่

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒

ราชาภิเษก มาจากคำว่า ราช [รา-ชะ] กับ อภิเษก หมายถึงพระราชพิธีในการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
ตำราราชาภิเษกที่มีมาแต่โบราณกล่าวไว้ว่า ราชาภิเษกมีลักษณะ ๕ ประการ คือ
๑. มงคลอินทราภิเษก [มง-คน-อิน-ทฺรา-พิ-เสก]
๒. มงคลโภคาภิเษก [มง-คน-โพ-คา-พิ-เสก]
๓. มงคลปราบดาภิเษก
๔. มงคลราชาภิเษก
๕. มงคลอุภิเษก [มง-คน-อุ-พิ-เสก]  เรียกว่า ปัญจราชาภิเษก [ปัน-จะ-รา-ชา-พิ-เสก]

ในประเทศไทยเรา คำที่ได้ยินเสมอ ๆ คือ ราชาภิเษกและปราบดาภิเษก เช่น ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา มีข้อความเล่าถึงแผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ ตอนหนึ่งว่า
“มีพระราชโองการตรัสสั่งพระมหาราชครูพระครูบุริโสดมพรหมพฤฒาจารย์ [บุ-ริ-โส-ดม-พฺรม-พฺรึด-ทา-จาน] ให้จัดแจงการพระราชพิธีราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร”
และเล่าถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ตอนหนึ่งว่า “ถึงวันศุภวารดิถีพิชัยมงคลมหามหุติฤกษ์ [สุบ-พะ-วา-ระ-ดิ-ถี-พิ-ไช-มะ-หา-มะ-หุ-ติ-เริก] จึงกระทำการพิธีปราบดาภิเษก”
“มีพระราชโองการตรัสสั่งพระมหาราชครูพระครูบุริโสดมพรหมพฤฒาจารย์ [บุ-ริ-โส-ดม-พฺรม-พฺรึด-ทา-จาน] ให้จัดแจงการพระราชพิธีราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร”
และเล่าถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ตอนหนึ่งว่า “ถึงวันศุภวารดิถีพิชัยมงคลมหามหุติฤกษ์ [สุบ-พะ-วา-ระ-ดิ-ถี-พิ-ไช-มะ-หา-มะ-หุ-ติ-เริก] จึงกระทำการพิธีปราบดาภิเษก”

การจัดขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารค สมัยรัชกาลที่ ๔

การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในรัชกาลที่ ๔ แบ่งขบวนออกเป็น ๖ ตอน คือ 
​ตอนที่ ๑ ประกอบด้วยเรือแง่ทราย เรือประตูหน้า เรือแซ 
​ตอนที่ ๒ ประกอบด้วยเรือศีรษะสัตว์ เรือเอกไชยอัญเชิญพระชัย เรือกลอง และเรือพระที่นั่งกิ่ง 
​ตอนที่ ๓ ประกอบด้วยเรือศีรษะสัตว์ จากนั้นตามด้วยเรือพิฆาตเป็นคู่ซ้าย-ขวา 
​ตอนที่ ๔ ประกอบด้วยเรือศีรษะสัตว์ เรือกลอง จากนั้นเป็นเรือพระที่นั่งต่าง ๆ 
​ตอนที่ ๕ เป็นเรือดั้ง เรือกันของพระตำรวจ 
​ตอนที่ ๖ ประกอบด้วย เรือเอกไชย เรือกลอง เรือพระที่นั่งกิ่ง เรือกราบ เรือพระที่นั่งศรีเป็นเรือพระประเทียบ เรือแซ ฯลฯ ตามลำดับ

ขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น มีจำนวนเรือในขบวนถึง ๒๖๙ ลำ มีเรือนอกขบวนที่เข้าร่วมด้วยประมาณ ๕๐ ลำเศษ ใช้ฝีพายทั้งหมดประมาณ ๑๐,๐๐๐ คนเศษ

ขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารค สมัยรัชกาลที่ ๕

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารคเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๖ ดังปรากฏหลักฐานใน “จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๕ ครั้งหลังพุทธศักราช ๒๔๑๖” แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดขบวนเรือมากนัก ทราบแต่เส้นทางในการเสด็จพระราชดำเนิน ดังนี้

​“…ครั้น ณ วันอาทิตย์ เดือนอ้าย ขึ้น ๔ ค่ำ เวลาเช้า ๓ โมง ๕๔ นาที เสด็จพยุหยาตราทางชลมารค ทหารปืนใหญ่ยิงสลุต ๒๑ นัด ประทักษิณรอบพระนคร เข้าคลองบางลำภู ประทับ ณ วัดบวรนิเวศน แล้วออกจากวัดบวรนิเวศนไปตามคลองคูรอบพระนคร ประทับ ณ วัดอรุณราชวราราม ออกจากวัดอรุณราชวรารามมาประทับท่าราชวรดิฐฯ…”

เส้นทางที่ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางชลมารคในครั้งนั้นคล้ายกับเส้นทางในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครในสมัยรัชกาลที่ ๔

ขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารค สมัยรัชกาลที่ ๖

การจัดขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารคในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏหลักฐานว่าในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช พุทธศักราช ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้จัดขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารคด้วย โดยเสด็จพระราชดำเนินจากท่าราชวรดิฐไปยังวัดอรุณราชวราราม ดังปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารคใน “จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” [สม-เด็ด-พฺระ-รา-มา-ทิบ-บอ-ดี-สี-สิน-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-วุด พฺระ-มง-กุด-เกฺล้า-เจ้า-หฺยู่-หัว] ดังนี้

​“…วันที่ ๔ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๓๐ [ร้อย-สาม-สิบ] เปนวันกำหนดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิรด้วยขบวรพยุหยาตราเลียบพระนครโดยชลมารคตามราชประเพณี…”

การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค และขบวนราบ

รัฐบาลขอเชิญชวนประชาชนแต่งกายด้วยเสื้อสีเหลืองเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค และขบวนราบเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๕.๓๐ น. เป็นต้นไป

Posted by พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช๒๕๖๒ on Sunday, 8 December 2019

รวมจุดคัดกรอง ๖ โซน ๑๙ จุด

การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร
โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ 
วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๒

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒

ขสมก. จัดรถบริการประชาชนแทนเรือข้ามฟากจากฝั่งธนบุรีมาฝั่งพระนครตั้งแต่เวลา ๑๐.๓๐ น ถึง เวลา ๑๙.๓๐ น. ดังนี้ 
เส้นทางที่ ๑. ท่าเรือสมเด็จพระปิ่นเกล้าฝั่งธนบุรี (จอดหน้าศูนย์กายภาพบำบัด ม.มหิดล) ไป ท่าเรือสมเด็จพระปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร (ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า) 
เส้นทางที่ ๒. ท่าเรือรถไฟ,ท่าพรานนก,ท่าวังหลัง (จอดรถประตู ๘ โรงพยาบาลศิริราช) ส่งปลายทางที่ ท่าพระจันทร์ ท่ามหาราช และท่าช้าง

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒

จุดจอดรถ ๒๗ แห่ง

การอำนวยความสะดวกจุดจอดรถ ๒๗ แห่ง เพื่อเชื่อมโยงรถ Shuttle Bus ๑๑ เส้นทาง เข้าสู่บริเวณ การเสด็จเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒

โซน ทิศเหนือ ของกรุงเทพมหานคร

๑ เมืองทองธานี
๒ ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต
๓ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ
๔ ม.เกษตรศาสตร์
๕ สโมสรตำรวจ

โซน ทิศใต้ ของกรุงเทพมหานคร

๖ ลานพุทธมณฑลสาย ๔
๗ เซ็นทรัล ศาลายา
๘ เซ็นทรัลปาร์ค พระราม ๒
๙ วิทยาลัยทองสุข
๑๐ อู่จอดรถ บรมราชชนนี
๑๑ โรงเรียนบางมดวิทยา

โซน ทิศตะวันตก ของกรุงเทพมหานคร

๑๒ เซ็นทรัล เวสท์เกต
๑๓ สถานีท่าอิฐบางรักน้อย

โซน ทิศตะวันออก ของกรุงเทพมหานคร

๑๔ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
๑๕ เมกะ บางนา
๑๖ อีเกีย บางนา
๑๗ ไบเทค บางนา

โซน กรุงเทพมหานคร ชั้นกลาง

๑๘ สำนักงานอัยการสูงสุด
๑๙ ศาลอาญารัชดา
๒๐ อาคารจอดรถ MRT ลาดพร้าว
๒๑ อาคารจอดรถ MRT รัชดา
๒๒ แอร์พอร์ตลิ้งค์ สถานีมักกะสัน
๒๓ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ๒
๒๔ คลังสินค้าท่าเรือคลองเตย (โกดังสเตเดี้ยม)
๒๕ โรงงานยาสูบ
๒๖ ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่
๒๗ สโมสรกองทัพบก

รวมทั้งสิ้น ๒๗ จุด จอดได้ ๒๖,๐๐๐ คันทุกจุดจอดรถ มีบริการรถ Shuttle Bus อำนวยความสะดวกนำท่านเข้าสู่บริเวณงานในจุดที่ใกล้ที่สุด

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒

การปิดการจราจรทางบก

กองบังคับการตำรวจจราจร ปิดการจราจรทางบก ๒ สะพาน ได้แก่ สะพานพระราม ๘ และสะพานพระปิ่นเกล้า ตั้งแต่เวลา ๑๕.๓๐ – ๑๗.๐๐ น. เมื่อขบวนเรือพระราชพิธี ถึงท่าราชวรดิฐ จะเปิดเส้นทางให้ประชาชนใช้ตามปกติ และมีการปิดการจราจรในถนนที่ขบวนราบผ่าน ดังนี้

๑. ถนนราชินี ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถึง แยกผ่านพิภพ
๒. ถนนหน้าพระธาตุตลอดสาย
๓. ถนนจันทร์ตลอดสาย
๔. ถนนหน้าพระลานตลอดสาย
๕. ถนนมหาราชตลอดสาย (ท่าพระจันทร์ ถึง สน. พระราชวัง)
๖. ถนนท้ายวังตลอดสาย
๗. ถนนราชดำเนินในตลอดสาย (แยกผ่านพิภพ – แยกป้อมเผด็จ)
๘. ถนนสนามไชย (แยกป้อมเผด็จ – วงเวียน รด.)

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒

การจัดการเดินรถทางเดียว
๑. ถนนสวรรคโลก (ตั้งแต่แยกยมราช – แยกสาวนีย์)
๒. ถนนจักรพงษ์ – ขวา ถนนเจ้าฟ้า – ขวาถนนพระอาทิตย์ – ถนนพระสุเมรุ)

สอบถามเพิ่มเติมที่หมายเลขโทรศัพท์ ๑๑๙๗ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒

ขอบคุณข้อมูลจาก คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก


ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
Instagram: @Zipevent
Website: www.zipeventapp.com 
Twitter: @Zipevent 
Facebook: @Zipevent

Comments

comments