ช่วงนี้ข่าวออกกันทุกช่องทางว่า กทม. ตอนนี้ฝุ่น PM2.5 เยอะมากกก!!! รวมไปถึงการบอกหนทางการดูเเลตัวเองด้วยวิธีต่างๆ ทำเอาใครหลายคนเลือกที่จะนอนอยู่บ้านดีกว่า แต่คนที่รักการแฮงเอาท์อย่างเรา จะให้อยู่บ้านเฉยๆ ต้องชักดิ้นชักงอแน่ๆ ดังนั้น Zipevent ได้รวบรวมอีเว้นท์ INDOOR มาชวนให้คุณได้ออกนอกบ้านอย่างไม่เสียสุขภาพ ออกได้ต้องหนีฝุ่นได้! มาให้คุณแล้วววว
ปล. ไม่ว่าอย่างไรควรพกหน้ากากอนามัย 3M N95 ติดตัวไว้ด้วยน้าาา เพื่อรักษาสุขภาพให้ดี จะได้มีแรงออกไปเที่ยวอีกนานนนนานนน
Sacha – The World of Circulism
17 Jan – 3 Feb 2562 / Tue – Sat from 10.00 AM. – 06.00 PM. / ณ คาฬวิท สตูดิโอ แอนด์ แกลเลอรี่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชม
ศิลปะรูปลักษณ์ของซาช่าเป็นเหมือนบทกวีที่เต็มไปด้วยเรื่องราวเล็กๆ ที่ยังคงมีชีวิต งานเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการวาดเค้าโครงที่เป็นเอกลักษณ์พร้อมศิลปศาสตร์ที่โดดเด่นที่เกิดจากวิธีที่ละเอียดอ่อนของการใช้สีจาง และการไล่สีพร้อมกับฉาบหน้าด้วยการแกะสลักวงกลมมากมายด้วยไม้จิ้มฟันหรือตะปู (Circulism) การสะท้อนแบบวงโคจรสื่อให้เห็นถึงความวูบวาบทางศิลปะที่ล้ำลึกอย่างกลมเกลียวในสายตาของผู้ชม ภาพของเขาเป็นดั่งชิ้นงานทดลองที่น่าบูชาในพิพิธภัณฑ์ทางธรรมชาติ ภาพขนาดเล็กแห่งชีวิตที่ถูกแสดงบนผืนภาพที่สบายตา องค์ประกอบที่สมดุลอย่างลงตัวทำให้ดูได้แบบไม่มีวันจบ ภาพที่แสดงทั้งสัญลักษณ์และการแต่งประดิษฐ์เป็นการบอกเล่าเรื่องราวพร้อมกระบวนท่าที่รัดกุม การเล่นกับมุมมองของผู้ชมที่ตกเป็นสิ่งที่ถูกชมซะเอง ซาช่าในวันนี้มาพร้อมประสบการณ์ 38 ปี และการแสดงงานทั้งเดี่ยวและกลุ่มกว่า 55 ครั้ง ผลงานของเขาปรากฎอยู่ทั้งในอเมริกาตอนเหนือและใต้ ยุโรป ประเทศออสเตรเลียและทวีปเอเซีย
I, Claude Monet – Exhibition on screen
22 Jan 2019 / Tuesday from 6:30 PM. – 7:27 PM. / Alliance française de Bangkok
Public : 200 THBAF students and AF members : 100 THB
87 นาทีเสียงอังกฤษUK | 2017 | กำกับ โดย ฟิล แกรบสกี ภาคเสียง โดย เฮนรี กู๊ดแมน | Exhibition on Screenเชิญมาสัมผัสจิตใต้สำนึกของหนึ่งในศิลปินที่มีชื่อเสียงของโลกชีวิตของโมเนต์เต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าค้นหาและติดตามในแต่ละช่วงของชีวิต ภายใต้ภาพวาดที่เจิดจรัสนั้น ซ่อนคนที่ต้องทรมานจากโรคซึมเศร้า ความอ้างว้าง จนเกือบถึงขั้นฆ่าตัวตาย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป พัฒนาการของศิลปะของโมเนต์ รวมไปถึงความชอบในการทำสวนของเขา เป็นที่มาของสวน Givenchy อารมย์ขันที่มีเอกลักษณ์ และความรักในการใช้ชีวิตของโมเนต์ ถ่ายทอดเรื่องราวโดยคำพูดของโมเนต์เอง และผ่านบรรยากาศเหมือนจริง และน่าจดจำ สารคดีนี้ได้เก็บรายละเอียดสถานที่แต่ละจุดที่โมเนต์เคยได้วาดภาพ และรวบรวมผลงานชิ้นที่เขารักมากที่สุดเอาไว้
Subdued: A Design Exhibition Curated by Rush Pleansuk
SUBDUED Exhibition dates:26 January – 28 February 2019and as part of the following programs:Bangkok Design Week 26 January – 3 February 2019Galleries Night 1 February 2019
from 6:00-10:00 PM. / Serindia Gallery
นิทรรศการ SUBDUED เน้นที่จะสะท้อนและเล่าเรื่องรากฐานสภาพทางสังคมไทยผ่านงานออกแบบโดย 10 นักออกแบบไทยและสตูดิโอชั้นนำผสานแนวคิดทางศิลปะถ่ายทอด รูปแบบของสังคมที่ปฏิบัติตามคำสั่ง โดยสถานะและวุฒิอย่างไม่มีเงื่อนไขให้แปรสภาพออกมาเป็นข้าวของเครื่องใช้ภายในครัวเรือน เพื่อเปิดเผยให้เห็นถึงสถาวะอันปกติของการยอมรับซึ่งอำนาจที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน
Gift Tribute Taboo – What Are We Gifting?
January 22 – March 2, 2019 / from 6:30-9:00 PM. / ARDEL’s Third Place Gallery
“GIFT | TRIBUTE | TABOO – WHAT ARE WE GIFTING?”โดย นีโน่ สุวรรณี สาระบุตร และวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์
นิทรรศการ “GIFT | TRIBUTE | TABOO – WHAT ARE WE GIFTING?” นำเสนอผลงานเครื่องปั้นดินเผาของสองศิลปินหนุ่มสาวที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ด้วยแนวความคิดเกี่ยวกับ “การให้” ที่อาจเป็นไปด้วยความจริงใจหรือแฝงผลประโยชน์ต่างตอบแทน โดย นีโน่ สุวรรณี สาระบุตร นำเสนอผลงานแจกันลายครามที่มีลวดลายปรากฏอยู่ด้านหนึ่งและมีการตีความถึงเหตุผลของการให้อยู่อีกด้านหนึ่ง ด้วยแรงบันดาลใจจากเครื่องลายครามที่เธอได้พบเห็นมามากมายในชีวิต ขณะที่ วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ นำเสนอผลงานเซรามิครถถังลายคราม ด้วยแรงบันดาลใจจากเครื่องลายครามจีนสมัยราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง 151 ชิ้น ซึ่งเชื่อมร้อยเรื่องราวถึงการแลกเปลี่ยนระหว่างผลงานศิลปะกับกองทหารม้าในปี พ.ศ. 2260 อันเป็นการให้ ที่มีอำนาจถึงขั้นเปลี่ยนเกมสงครามได้
Beyond the Final Frontier | Exhibition curated by Lauren Reid
15 Jan – 20 Feb 2019 / from 6:30-9:00 PM. / S.A.C. Subhashok The Arts Centre
นิทรรศการ Beyond the Final Frontierโดย วิษณุ เอื้อชูเกียรติ ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์ ทาคุโระ โคทากะอานนท์ นงค์เยาว์ และจุฬญาณนนท์ ศิริผลคิวเรท โดย ลอเรน รีด
ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ ภูมิใจเสนอ นิทรรศการ Beyond the Final Frontier คิวเรทโดย ลอเรน รีด ภัณฑารักษ์ที่อาศัยและทำงานอยู่ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี อีกทั้งเป็นภัณฑารักษ์ในพำนักของโปรแกรมS.A.C. Residency Program ครั้งที่ 2 โดยนิทรรศการจัดแสดงผลงานของศิลปิน นักวิจัยชาวไทยและต่างประเทศ ได้แก่ วิษณุ เอื้อชูเกียรติ ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์ ทาคุโระ โคทากะ อานนท์ นงค์เยาว์ จุฬญาณนนท์ ศิริผล และลอเรน รีด นำเสนอทั้งในรูปแบบของเสียง กลิ่น และภาพ ซึ่งผู้ชมจะได้ดำดิ่งไปสู่ประสบการณ์การสัมผัสรับรู้ถึงอวกาศ ภายในพื้นที่จัดแสดงที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ขณะนี้เรากำลังอยู่ในห้วงเวลาที่สำคัญ ตามที่องค์การนาซ่าได้คาดการณ์ไว้ว่าในราวปีพ.ศ. 2573 มนุษยชาติจะได้ไปเหยียบดาวอังคาร อีกทั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมานี้ ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบสุริยะจักรวาลมากถึง 3,793 ดวง ซึ่งในจำนวนเหล่านั้น มีโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะมีสภาพซึ่งเอื้อต่อการการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตได้ ความฝันของมนุษยชาติที่จะท่องอวกาศและอาจจะไปไกลถึงการตั้งอาณานิคมนอกโลก อาจไม่ไกลเกินเอื้อม อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน หากเทียบกับประชากรโลกแล้ว มีคนเพียงหยิบมือเท่านั้น ที่มีโอกาสออกไปนอกชั้นบรรยากาศโลก ที่ผ่านมา อวกาศปรากฎอยู่เพียงในจินตนาการของเราหรือในข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ผู้คนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสที่จะสัมผัส ได้ยินเสียง หรือแม้กระทั่งออกไปผจญภัยในอวกาศ ถึงกระนั้น ถ้าเราสังเกตดูรอบตัวของเรา จะเห็นได้ว่า มีสัญญาณหรือสัญลักษณ์ต่างๆมากมายที่สื่อถึงอวกาศซึ่งพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันของเรา ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ดวงดาวที่ปรากฎอยู่ในวัดวาอารามต่างๆในท้องถิ่น และภาพประกอบรูปยานUFOยิงแสงเลเซอร์สลายคราบสกปรกบนเสื้อผ้าซึ่งปรากฎอยู่บนกล่องผงซักฟอก หรือแม้กระทั่ง วันต่างๆในสัปดาห์ที่ถูกตั้งชื่อตามดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล รวมถึงดวงจันทร์และพระอาทิตย์ นิทรรศการนี้ได้ตั้งคำถามถึงการพิจารณาคาดเดาเกี่ยวกับโลกอื่นนอกพิภพและเรียนรู้ถึงโลกของเรา ตัวเรา และบ้านของเราในจักรวาลนี้ได้อย่างไรบ้าง ในนิทรรศการ Beyond the Final Frontier ผู้ชมจะได้พบกับผลงานสุดพิเศษสองชิ้นที่รังสรรค์มาเพื่อนิทรรศการนี้โดยเฉพาะ คือ ภูมิโสต หรือ “เสียงของอวกาศ” ที่ได้มาจากการบันทึกเสียงในชีวิตประจำวันทั่วทั้งเมืองไทย โดย ศิลปิน อานนท์ นงค์เยาว์ และผลงานชุด “กลิ่นของอวกาศ” ที่สร้างสรรค์มาจากการร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ของเมืองไทยอย่าง คุณวิษณุ เอื้อชูเกียรติ นอกเหนือจากนั้น ยังได้ศิลปิน จุฬญาณนนท์ ศิริผล, ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์ และทาคุโระ โคทากะ นำเสนอผลงานสื่อผสมที่ไม่เพียงกล่าวถึงอนาคตของมนุษยชาติอันมีความเกี่ยวข้องกับอวกาศเท่านั้น หากแต่ยังสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยเองนั้น มองอนาตตของอวกาศอย่างไรอีกด้วย ผลงานดังที่กล่าวมานี้ จะถูกติดตั้งสลับกับการแสดงผลงานภาพถ่ายโดย ภัณฑารักษ์ ลอเรน รีด ซึ่งเป็นภาพบันทึกบรรยากาศและเหตุการณ์ซึ่งชีวิตประจำวันและอวกาศได้มาบรรจบกัน ไม่ว่าจะเป็น การแข่งขันยิงบั้งไฟ ในเทศกาลบุญบั้งไฟที่จ.ยโสธร และการออกค่ายพักแรมบนเขากะลา จ.นครสวรรค์ ของกลุ่มผู้เชื่อในสิ่งมีชีวิตนอกโลก เป็นต้น ด้วยผลงานที่จัดแสดงทั้งหมดนี้ จะพาเราท่องไปสุดเขตแดนอวกาศ จนกระทั่งได้พบว่าตัวเรานั้น ยังอยู่บนพื้นโลก
/// เกี่ยวกับศิลปิน ///
ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์ เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อปีพ.ศ. 2522 เป็นศิลปินทัศนศิลป์ชาวไทยที่มีพื้นฐานการทำงานด้านสหศาสตร์ศิลป์และการวิจัยเป็นอย่างดี ประพัทธ์สร้างสรรค์งานจากสื่อหลากชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานภาพถ่าย และวีดีโอ งานของเขามักเกี่ยวกับการสืบค้นและสื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่างประวัติศาสตร์, ความทรงจำ และการเมืองการปกครองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา ประพัทธ์ได้ทำการวิจัยและพัฒนาผลงานที่แสดงถึงประสบการณ์ของแรงงานต่างด้าวที่ออกมาทำงานนอกประเทศของตน ผลงานศิลปะจัดวางของเขาได้ถูกนำไปแสดงมาแล้วทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในกรุงเทพฯ ลอนดอน ฮ่องกง และกวางจู ในขณะที่ผลงานจากสื่อวีดีโอก็ได้ถูกนำไปฉายในงานแสดงระดับนานาชาติมากมาย อาทิเช่น Canada’s Image Festival, International Film Festival Rotterdam, Experimenta India, and Onion City Experimental Film and Video Festivalทาคุโระ โคทากะ เกิดที่จ.ไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปีพ.ศ. 2527 เป็นศิลปินและผู้สร้างสรรค์งานภาพยนตร์ที่ได้ไปอาศัยและทำงานในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งในแอฟริกา เอเชีย และตะวันออกกลาง ผลงานของทาคุโระมักเป็นเรื่องราวของข่าวลือและสัญลักษณ์ต่างๆที่ถูกลืมอันสะท้อนถึงประเด็นทางการเมืองการปกครอง ผลงานภาพยนตร์ชุดล่าสุดของเขาเป็นการผสมผสานทั้งนิยายวิทยาศาสตร์ เรื่องราวขบขัน รวมถึง สารคดี/นวนิยายเกี่ยวกับระบอบสังคมและประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนเข้าไว้ด้วยกัน ผลงานของทาคูโระได้ถูกนำไปแสดงในเทศกาลภาพยนตร์และนิทรรศการต่างๆมาแล้วทั่วโลก เช่น Painnale 2018 CMU Art Museum, Chiang Mai, Bangkok Biennial 2018 Whiteline, Bangkok, Oku-Noto Triennale: SUZU (2017) Ishikawa, Japan, Jakarta Biennale XIII ARENA Indonesian National Gallery, Jakarta (2009), KITA!!: Japanese Artists Meet Indonesia Selasar Sunaryo Art Space, Bandung, 56th International Short Film Festival Oberhausen Lichtburg Filmpalast, Oberhausen, (2009).อานนท์ นงค์เยาว์ เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อปีพ.ศ. 2522 เขาได้ทดลองกับแรงสั่นสะเทือนที่ทำให้เกิดคลื่นเสียงอันได้มาจากมนุษย์, สิ่งมีชีวิต, วัตถุสิ่งของ และรูปแบบทางสังคม ผลงานของเขามักออกมาในลักษณะกระบวนการทดลองทางเสียงและภาพเคลื่อนไหว ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ในพื้นที่เฉพาะหรือพื้นที่สาธารณะ อานนท์เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Chiang Mai Collective (CMC) ซึ่งเป็นเครือข่ายของศิลปินและผู้ที่สนใจด้านเสียงในจังหวัดเชียงใหม่ เขาได้แสดงผลงานในนิทรรศการมาแล้วมากมาย ทั้งในและต่างประเทศ อาทิเช่น หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, หอศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 16th Media Art Biennale WRO 2015 in Wroclaw, Poland, Sa Sa Art Projects in Phnom Penh and Manif d’art, Quebec.จุฬญาณนนท์ ศิริผล เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อปีพ.ศ. 2529 ทำงานในด้านภาพยนตร์สั้น ภาพยนตร์ทดลอง สารคดีและงานวีดีโอจัดวาง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความทรงจำส่วนตัวกับความทรงจำทางสังคม หรือ สารคดีกับนวนิยาย หรือ เรื่องจริงกับเรื่องเหนือธรรมชาติ เขามีประสบการณ์แสดงผลงานมาแล้วมากมายทั้งในเมืองไทยและในต่างประเทศ เช่น The 34th International Film Festival Rotterdam, Netherlands (2005), the 26th Hamburg International Short Film Festival, Germany (2010), Can You Hear Me?, Objectifs Centre for Photography and Film, Singapore (2012), Sharjah Biennial 11, United Arab Emirates (2013), the 4th Moscow International Biennale for Young Art, Moscow, Russia (2014), The 5th Fukuoka Asian Art Triennale, Fukuoka, Japan (2014), Cannes International Film Festival, France (2018), and Ghost:2561 (2018).วิษณุ เอื้อชูเกียรติ เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2505 เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์และเป็นนักประวัติศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งเป็นสมาชิกอาวุโสของสมาคมดาราศาสตร์ไทยและดำรงตำแหน่งเป็นกรรมบริหารสมาคมอีกด้วย รวมถึงยังเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการจัดทำและผลิตพจนานุกรมศัพท์ดาราศาสตร์ อังกฤษ-ไทย นอกเหนือจากนั้น วิษณุได้ทำงานเขียนและงานแปลบทความดาราศาสตร์ตีพิมพ์ในนิตยสาร รวมทั้งได้เขียนหนังสือที่ตีพิมพ์ในชื่อของตัวเขาเองเกี่ยวกับเกร็ดสาระน่ารู้ทางดาราศาสตร์ จากความสนใจและเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านดาราศาสตร์ของเขานั้น รวมไปถึงประวัติศาสตร์โบราณคดีทางดาราศาสตร์ นิทานปรัมปราเกี่ยวกับดวงดาว ทำให้เขาได้เป็นผู้ผลิตรายการวิทยุทางพ็อดคาสต์ ภายใต้ชื่อเว็บไซต์ว่า “ไขขานนิทานดาว” เป็นรายการที่เล่าเรื่องนิทานดาวจากอารยธรรมต่างๆทั่วโลกในเสียงภาษาไทย
/// เกี่ยวกับภัณฑารักษ์ ///
ลอเรน รีด เกิดที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ทำงานด้านการจัดการนิทรรศการ, ภาพยนตร์ และมานุษยวิทยา ผลงานวิจัยของเธอได้ถูกนำเสนอผ่านทางนิทรรศการ งานเขียน และภาพเคลื่อนไหว โดยได้รวมเอาโบราณวัตถุ สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม แหล่งต้นตอของสารคดีต่างๆ การบันทึกภาคสนาม ผลงานศิลปะ และการอ้างอิงทางศิลปะ เข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนั้น เธอยังเป็นหนึ่งในผู้อำนวยการของกลุ่ม Institu และเป็นอาจารย์สอนด้านภัณฑารักษ์ศึกษาที่ Node Centre รวมถึงเป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการSpace Festival Berlin ขณะนี้ ลอเรน กำลังศึกษาในระดับปริญญาเอกด้านมานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรมที่มหาวิทยาลัย Freie ณ กรุงเบอร์ลิน ด้วยหัวข้อโครงการวิจัย Thinking Beyond the Final Frontier: Perception and Representation of Outer Space in Thailand นับแต่ปีพ.ศ. 25553 จนถึงปัจจุบัน ลอเรนได้ทำงานจัดนิทรรศการมาแล้วมากกว่า 30 นิทรรศการ ในสถานที่ต่างๆหลายประเทศ อาทิเช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่กรุงมอสโคว์ ในงาน the IV Moscow International Biennale for Young Art; KW Institute for Contemporary Art, Berlin, Germany; Kunsthal Viborg, Denmark as part of the European Capital of Culture 2017; and Kunstverein Göttingen, Germany.
** กิจกรรมเวิร์คช็อป **
“Imagining Our Futures in Outer Space”วันเวลา: 19 มกราคม 2562 เวลา 14:00 – 17:00 น.สถานที่: ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ สุขุมวิท 39 กรุงเทพฯขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมเวิร์คช็อปเพื่อสำรวจจินตนาการอนาคตเกี่ยวกับการสำรวจอวกาศของมนุษย์ในวันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2562 ภายในพื้นที่ห้องแสดงนิทรรศการ Beyond the Final Frontier ชั้น 2 อาคารหอศิลป์ ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ กับกิจกรรมเวิร์คช็อปที่ผู้เข้าร่วมจะได้สนุกสนานไปกับการสำรวจคำถามเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับอวกาศ ได้แก่ ภาพ เสียง และความรู้สึกแบบใดที่เราอาจประสบเมื่อเดินทางออกไปนอกโลก? สร้างคำถามเชิงจริยธรรมและปรัชญาที่จำเป็นเมื่อมนุษย์เตรียมตัวสำหรับการสำรวจอวกาศ? จากนั้นเราจะผสานความเข้าใจร่วมกัน โดยผู้เข้าร่วมแต่จะท่านจะมีโอกาสได้สร้างองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งที่แสดงถึงความก้าวหน้าของการสำรวจอวกาศในอนาคตขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น ภูมิโสต ภูมิทัศน์ บรรยากาศนอกโลก และบทสนทนา ซึ่งในช่วงท้าย แต่ละองค์ประกอบจะถูกนำมารวมกันเพื่อสร้างเป็นภาพยนตร์สั้น 2 นาทีที่แสดงถึงสถานการณ์สมมติว่าด้วยความก้าวหน้าของการสำรวจในอนาคตกิจกรรมเวิร์คช็อปนี้ดำเนินเป็นภาษาอังกฤษและมีล่ามแปลเป็นภาษาไทย กิจกรรมไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม โดยให้อิสระและเปิดกว้างสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการสร้างสรรค์ อีกทั้งไม่มีข้อกัดด้านอายุหรือประสบการณ์ของผู้เข้าร่วม** ผู้สนใจกรุณาติดต่อเพื่อยืนยันการเข้าร่วมกิจกรรมผ่านทางอีเมล์ lauren@lauren-reid.com **_______________________ ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหอศิลป์: www.sac.galleryหรือติดต่อเราได้ที่ โทร. +662 662 0299 อีเมล์: manager@sac.gallery
สามารถค้นหางานอีเว้นท์ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่
Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/%40khj7199c
Instagram: www.instagram.com/zipevent
Website: www.zipeventapp.com
Twitter: www.twitter.com/zipeventapp
Facebook: www.facebook.com/zipevent