การที่จังหวัดกระบี่ถูกเลือกเป็นสถานที่หลัก สำหรับจัดงาน Thailand Biennale ครั้งนี้ ทำให้ศิลปินมีโอกาสที่จะสร้างผลงานที่สอดคล้องกับ สถานที่ธรรมชาติ เช่น ชายหาด (เกาะปอดะ เกาะไก่ หาดนพรัตนธารา อ่าวนาง) ลำธาร (ท่าปอมคลองสองน้ำ) ถ้ำ (เขาขนาบน้ำ) ผา (อ่าวไร่เล) น้ำตก และป่าฝน (อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี) ตลอดจน หมู่บ้านชุมชนต่างๆ (เกาะกลาง) และพื้นที่สาธารณะ ในตัวเมืองจังหวัดกระบี่ ไม่ว่าจะเป็นที่ที่ยังเปิดให้ บริการหรือที่ร้าง การที่กระบี่กำลังจะกลายเป็น ศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรม เกษตรกรรม และการท่องเที่ยวของทะเลอันดามัน และนำเสนอประสบการณ์ ธรรมชาติที่แปลกใหม่ให้แก่ผู้มาเยือนจากทั่วโลก วันนี้จะพาไปแนะนำให้รู้จักกับ 10 ศิลปินที่จะมาจัดแสดงผลงานชิ้นเอกใน เขาขนาบน้ำ และเทศบาลส่วนใต้กัน

ศิลปินในงาน Thailand Biennale ที่จัดแสดงที่เขาขนาบน้ำ

Donna ONG

แนวทางของ Donna Ong นั้นไม่เพียงได้รับอิทธิพลมาจากดอกไม้และสัตว์เขตร้อนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงมุมมองแบบอาณานิคมที่ส่งผล ต่อทรรศนะที่เรามีต่อสิ่งเหล่านี้ ผลงานของเธอ มักย้อนรอยไปยังภาพประวัติศาสตร์ของภูมิทัศน์เขตร้อน หนึ่งในแรงบันดาลใจหลักของเธอคือ ภาพพิมพ์หิน ที่ผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 18 ที่นักสำรวจชาวตะวันตกทำเพื่อผู้ชมในเขตอบอุ่น Four Colours Make a Forest มุ่งเน้นไปยังความสัมพันธ์ระหว่างภาพแทนของประวัติศาสตร์ที่ได้รับ การแต่งแต้มให้เย้ายวนใจ และให้เป็นสิ่งในอุดมคติ ผ่านการสร้างภาพของเขตร้อน และแรงปรารถนาของเราที่จะหลบหนีไปยังสวรรค์ในจินตนาการเหล่านี้ เธอจะสร้างรั้วลวดหนามที่ดูเหมือนป้ายโฆษณาทั่วไป แต่บนนั้นด้านหนึ่งจะมีภาพปะติดที่ประกอบไปด้วย ภูมิทัศน์เขตร้อนจากคอลเล็คชั่นของเธอ และในอีกด้านหนึ่งของชิ้นงาน เธอจะแสดงภาพดิจิทัลลาย พรางแบบที่ใช้ในกองทัพ ซึ่งเป็นการสร้างภาพแทนของเขตร้อนที่เรียบง่ายที่สุด ถึงแม้จะมีนัยของความหมายที่ต่างกัน

Chulayarnnon SIRIPHOL

กําเนิดหอยทากทอง เป็นภาพยนตร์สั้นที่สร้าง จากประวัตของเขาขนาบน้ำในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ และสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งภาพยนตร์จะนำเรา ไปที่พรมแดนของข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ และเรื่องที่ชิ้นงานแต่งขึ้นเป็นตำนานท้องถิ่นที่เต็มไป ด้วยจินตนาการ (ชิ้นงานจะเล่นกับพื้นที่ทางกายภาพ สถานที่ที่ภาพยนตร์จะถูกฉาย และพื้นที่ภายในภาพยนตร์ด้วย) ด้วยการใช้ฟิล์มขาวดา 16 มม. พร้อมเครื่องฉายแบบยุคแรกของภาพยนตร์เป็น การสื่ออุปมาถึงจุดกำเนิดของภาพยนตร์และมนุษย์ ที่เริ่มจากถ้ำอันดำมืดของความเป็นแม่สีแสงสว่างของโลกภายนอก พื้นที่จะดำรงอยู่ในฐานะธรรมชาติ เมื่อถ้ำถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นโรงภาพยนตร์

TU Wei-cheng

ในวัฒนธรรมไทย ตำนานทั้งแบบท้องถิ่นและสมัยใหม่ ได้รับการสอดแทรกเข้าไปในประวัติศาสตร์ Tu Wei-cheng ได้สำรวจพรมแดนระหว่างเรื่องจริง และเรื่องแต่งเพื่อทำการคิดทบทวนถึงเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์ ผลงานการจัดวางของเขา ประกอบไปด้วยกระดานข้อมูลความรู้สำหรับนักท่องเที่ยว เกี่ยวกับความเชื่อเก่าๆ และความเชื่อที่แพร่หลาย ในพื้นที่โดยรอบของจังหวัดกระบี่ ซึ่งจะแทนที่ ซากทางโบราณคดีที่เคยแสดงอยู่หน้าถ้ำ สวน ภายในถ้ำ ศิลปินจะท้าทายความคาดหวังของเรา เกี่ยวกับพื้นที่จดแสดงงานมากขึ้น ผ่านชิ้นงาน ที่เลยนี้แบบหลักฐานทางโบราณคดี เขาสร้างหลุม ขุดคนและแผ่นป้ายที่มีการจารึกประวัติศาสตร์ไทย เอาไว้ขึ้นมาใหม่ วัตถุที่เป็นของปลอมอีกจำนวนมาก ตั้งแต่เครื่องสำริด ประติมากรรมดินเผา และเครื่องมือ อื่นๆ ที่มาจากวัฒนธรรมและตำนานของไทยจะถูกทำให้สมจริงขึ้น โดยการนำไปใส่ในตู้โชว์กระจกทั้งหมด ทำให้เรายากที่จะแยกของจริงกับสิ่งที่สร้างขึ้นมาออกจากกันได้ ในผลงานชุดนี้ โบราณคดีวิทยา ได้เล่าเรื่องอดีตที่ตั้งอยู่บนเขตแดนระหว่างความเป็นจริงกับตำนานผ่านการทำของเลียนแบบที่เหมือนจริง และนำมาเก็บรักษาไว้ในตู้กระจกแบบในพิพิธภัณฑ์

ZHANG Peili

ถ้ำเขาขนาบน้ำ คือเกาะขนาดเล็ก ที่มีพืชและสัตว์ อุดมสมบูรณ์ อยู่ห่างจากตัวเมืองกระบี่เพียงไม่กี่นาที ผลงานของ Zhang Peili ท้าทายความคาดหวังของเรา ที่ต้องการพบเจอสวรรค์ของธรรมชาติที่ยังไม่ถูกรบกวน ชิ้นงานด่านนอกจะมีสภาพเหมือนบ้านที่ถูกทิ้งร้าง แต่ภายในจะถูกตกแต่งให้ดูหรูหราแบบสมัยใหม่ และมีกระดาษเงินติดฝาผนังบ้านทั้ง 4 ด้านในห้องอย่างหรูหรา ส่วนบนเพดานจะมีโคมไฟสวยหรู ให้แสงสว่างเรืองรองภายใน นี่ไม่ใช่ความขัดแย้งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น สภาพภายนอกของบ้านยัง ทำให้เรารู้สึกถึงบ้านเก่าๆ สถานที่ที่เราเข้าไปแล้วจะ เจอของในท้องถิ่นทั่วไป อย่างไรก็ดี เฟอร์นิเจอร์ ในบ้านทั้งหมดผลิตในจนและถูกนำเขามาเพื่อ เปลี่ยนสภาพภายในบ้านให้เป็นโรงแรมแบบบูติก ความจริงที่ขัดแย้งกันในสองมิติ (ภายนอก / ภายใน) ได้เชื่อเชิญให้เราเข้าไปสัมผัสประสบการณ์ ความขัดแย้งในชีวิตประจำวันและตั้งคำถามกับการรับรู้ของตัวเราเอง

ศิลปินในงาน Thailand Biennale ที่จัดแสดงที่เทศบาลส่วนใต้

Dusadee HUNTRAKUL

การปรากฏตัวขึ้นอย่างแปลกประหลาดของ กระดานกระโดดน้ำบนโครงสร้างเก่าๆ ที่ถูกทิ้งร้างใจ กลางสวนสาธารณะธารา เป็นผลงานประติมากรรม เฉพาะพื้นที่โดย ดุษฎี ฮันตระกูล สารที่ซ่อนตัวอยู่ เบื้องหลังการดำรงอยู่อย่างไม่สมเหตุสมผลของ ผลงาน I’m waiting on for the future of more water to come คือการบอกใบ้ถึงการพยากรณ์ ระดับน้ำทะเลที่จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะ โลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มนุษย์ ไม่อาจป้องกันไดั

LUXURYLOGICO

ประเทศไทยมีชื่อเสียงจากชายหาดเขตร้อน และวัดวาอาราม ซึ่งภาพของเมืองไทยที่ชาวต่างชาติ เห็นก็คือดินแดนที่มีสันติสุขและงดงาม ศิลปินกลุ่ม LuxuryLogico ทำการสำรวจพื้นที่ของจินตนาการ ผ่านผลงานจัดวางที่สวนสาธารณะธารา ผลงานจะอยู่ บริเวณริมทะเล เป็นเรือไม้ท้องถิ่นความยาวประมาณ 20 เมตร ที่ได้รับการตกแต่งด้วยสิ่งของสารพัด ด้วยรูปแบบและลักษณะการตกแต่งที่คาดไม่ถึง จะท้าทายความคาดหวังของเราและกระตุ้นจินตนาการของเรา ผลงานยังได้ทดสอบความเป็นไปได้ ในการผสมงานฝีมือท้องถิ่นให้เข้ากับเทคโนโลยี โดยมีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยี การพิมพ์ 3 มิติ ในการสร้างโมเดล 3 มิติ ทำให้ เป็นจริงด้วยการรวมมือกับช่างต่อเรือในท้องถิ่น เรือลำนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงการมีส่วนร่วมกันระหว่าง ชุมชนกับงานฝีมือตามขนบ ซึ่งว่าด้วยประเด็นการ รับมือกับการมาบรรจบกันของสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กัน อันเป็นความจริงที่เกิดขึ่นในชีวิตของเราทุกวัน นอกจากนี้ การออกแบบที่ทั้งสุดขั้วและมีความเป็น ลูกผสม ยิ่งนำเสนอสิ่งที่เมื่อมองที่แรกอาจดูเหมือน ภาพลวงตา และทำให้เราตั้งคำถามกับการเข้าใจ ของเราว่าจะเชื่อหรือไม่

MAYRHOFER-OHATA

งานใหม่ของ Mayrhofer-Ohata ที่จะแสดง ในงาน Thailand Biennale นี้ชื่อ Nobody Nose: Based on a Fake Story มันคือเรื่องแต่งที่ขยายตัว ไปสู่ความจริง ศิลปินคู่นี้ได้สร้างลักษณะจมูกปลอมขึ้นมา เพื่อทำให้ทะเลสาบเล็กๆ และภูมิทัศน์ของทะเลสาบปลอม ปนไปด้วยสัญลักษณ์และความหมายแบบจินตภาพ ประติมากรรมรูปจมูกขนาดใหญ่ ลอยได้ ล้อเล่นกับการค้นหาความรู้และหลักจริยธรรม ที่เกี่ยวข้อง วัตถุที่ดูไม่มีความเป็นจริงนี้ได้ใส่ ประเด็นทางสิ่งแวดล้อมเขาไปเป็นหลัก โดยเชิญ ผู้ชมเข้าไปสำรวจงานศิลปะในฐานะของความเป็นจริง ประติมากรรมรูปจมูกนี้จะลอยอยู่เหนือน้ำไปเรื่อยๆ มันดูธรรมดามาก แต่เมื่อเพ่งพินิจก็จะเห็นถึง ความบริสุทธิ์ เมื่อลมจากสวรรค์ร่ายรำอยู่ระหว่าง สมองและหัวใจของเรา โครงการนี้จะนำเสนอจมูก ที่เป็นดั่งสะพานระหว่างภายนอกกับภายใน ซึ่งเป็น ชายขอบที่เกิดการแลกเปลี่ยนขึ้น และเป็นที่ที่บางสิ่งกำลังสูดลมหายใจแห่งชีวิต ไม่ว่าคุณจะหลับอย่างลึก หรือทำสมาธิระดับสูงสุดของจิต คุณก็ยังต้องหายใจเสมอ คนที่ยังมีชีวิตจำเป็นต้องหายใจอย่างมีสติ มีจิตวิญญาณดวงหนึ่งที่อาศัยอยู่ในตัวคุณจึงปล่อยให้เขานำคุณไปในที่ใดก็ตามที่เขาจะพาไป

Vichoke MUKDAMANEE

ศิลปินแห่งชาติ วิโชค มุกดามณี ได้รับแรงบันดาลใจ จากเรื่องราวความรักระหว่างพญานาคกับคนพื้นเมือง เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของตำนานอันโด่งดัง เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องลี้ลับที่ว้าด้วยต้นกำเนิด ของสถานที่สำคัญหลายแห่งและเกาะในกระบี่ รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง วิโชคได้สร้างโครงสร้างฉลุทำด้วย โลหะในรูปแบบกึ่งนามธรรมและนำเอาสิ่งของต่างๆ ที่ใช้ในพิธีฉลองงานแต่งงานตามวัฒนธรรมไทย มาใช้ในการทำรูปทรงต่างๆ ขึ้นมา โครงสร้างทางประติมากรรมมากมายจะถูกจัดวางเรียงรายกัน เพื่อที่จะเลียนแบบงานฉลองและพิธีกรรมต่างๆ ริมฝั่งแม่น้ำกระบี่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ตัวศิลปินมองวา เป็นรอยต่อระหว่างผืนน้ำกับแผ่นดิน ระหว่างโลกจินตนาการกับโลกความเป็นจริง ระหว่างธรรมชาติ กับมนุษย์ Story of Love จะนำผู้ชมกลับไปสู่ เรื่องเล่าท้องถิ่นและรำลึกถึงความกลมเกลียวกัน ในหมู่ผู้คนไม่ว่าพวกเขาจะแตกต่างกันมากเพียงใด

Chong Boon POK

ผลงาน Wandering at the Edge of the Wonderland ได้รับอิทธิพลจากสะพานปลาของ หมู่บ้านชาวประมงที่พบได้ทั่วไปในหลายประเทศ ในแถบอุษาคเนย์ แนวคิดเรื่องสะพานปลาคือ แนวคิดเรื่องความเชื่อมโยงทั้งภายนอกและภายใน ของครอบครัวที่อยู่ในหมู่บ้านชาวประมง สะพานปลา เป็นที่ที่ชาวประมงสามารถจอดเรือและเดินเข้าบ้าน ได้เลยและยังทำหน้าที่เป็นสะพานในการเชื่อมพวกเขา กับทะเลซึ่งเป็นที่ทำกินของพวกเขาเข้าด้วยกัน การใช้ไม้รีไซเคิลที่หาได้จากในจังหวัดกระบี่เป็น การทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ ภูมิทัศนชานเมือง วัฒนธรรม ไปจนถึงชีวิตประจำวัน มันเป็นการสำรวจการเปลี่ยนแปลงด้านความทรงจำ สังคม และด้านเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้เห็นประสบการณ์ อันขัดแย้งที่เกิดจากความก้าวหน้าสภาวะสมัยใหม่ ผู้ชมจะได้รับเชิญให้เข้าไปเดินในสะพานปลาที่ คดเคี้ยวเหมือนเขาวงกตเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง ประเพณีไปพร้อมๆ กับการยืนอยู่ที่ชายขอบของ แดนมหัศจรรย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้การเดินในเขาวงกตนั้นจะทำให้คนได้เขาไปพิจารณา สำรวจตัวเองอีกด้วย

Chemi ROSADO-SEIJO

ในการเชื่อมโยงศิลปะร่วมสมัยเข้ากับการเล่น สเก็ตบอร์ด (หรือกลับกัน) และตั้งเป้าที่จะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผู้คนที่หลากหลายภายในชุมชน Chemi Rosado-Seijo ไปเยือนกระบี่โดยมีเป้าหมาย ในการพบปะกับคนเล่นสเก็ตในพื้นที่ หลังจาก ทำความคุ้นเคยกับคนกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มคน ชายขอบกลุ่มเล็กที่ยังคงอยู่ได้แม้จะขาดพื้นที่และ ทรัพยากรที่เหมาะสม ศิลปินตัดสินใจที่จะร่วมงาน กับพวกเขาและสร้างงานเพื่อพวกเขา โดยออกแบบ ลานสเก็ตในสวนสาธารณะธารา ฝั่งน้ำพุที่ยังสร้างไม่เสร็จและถูกปล่อยทิ้งร้าง ศิลปินอาศัยการจัดสรร โครงสร้างเดิมที่มีอยู่แล้วเสียใหม่ และเปลี่ยนพื้นที่ “สำเร็จรูป” ที่ล้ำสมัยให้กลายเป็นงานจัดวางศิลปะ ที่ใช้งานได้จริงสำหรับชุมชนนักสเก็ตบอร์ดในพื้นที่ในอนาคต

งาน THAILAND BIENNALE, KRABI 2018 ณ จังหวัดกระบี่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 – 28 กุมภาพันธ์ 2562 มีผลงานกว่า 70 ชิ้น โดยศิลปินช้ันนําจากทั่วโลก ถูกจัดวางอยู่กลางแจ้งในพื้นที่ทาง ธรรมชาติ ในรูปแบบของศิลปะเฉพาะพื้นที่ (SITE-SPECIFIC INSTALLATION) ในบทความถัดไป Zipevent จะพาไปพบกับ ศิลปินดั่งกล่าวกัน ดูรายละเอียดได้ที่นี่

สามารถค้นหางานอีเว้นท์ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่

Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/%40khj7199c

Instagram: www.instagram.com/zipevent

Website: www.zipeventapp.com

Twitter: www.twitter.com/zipeventapp

Facebook: www.facebook.com/zipevent

Comments

comments