Trending Now

ก่อนจะพาเพื่อนๆ มาชมกับนิทรรศการออกแบบแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณท่าเตียนของเหล่าเพื่อนๆ สถาปัตย์ เราอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ “ท่าเตียนซิงตัคลั๊ค” กันให้ลึกซึ้งซะหน่อย

ท่าเตียนซิงตัคลั๊ค คืออะไร?

ท่าเตียน = ตลาดที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นท่าเรือส่งของและค้าขายที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯซิงตัคลั๊ค = คือชื่อภาษาจีน ซิง = แปลว่า ใหม่ , ตัคลั๊ค = แปลว่าตลาด รวมกันเป็นตลาดใหม่นั่นเอง

เราได้มีโอกาสนั่งสนทนากับอาจารย์เตชิต จิโรภาสโกศล (อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ) ในช่วงเย็นถึงเรื่องคอนเซ็ปต์ของงานท่าเตียนซิงตัคลั๊คที่จัดขึ้น

อาจารย์เล่าว่า “แต่ก่อนท่าเตียนเคยเป็นตลาดค้าขายมาก่อน ท่าเตียนจะมีการส่งของทางเรือเยอะและใหญ่มาก เช่น พวกอุปกรณ์ ข้าวสาร น้ำตาล หรือแม้กระทั้งของที่รับมาจากต่างจังหวัดก็ตาม มันจะมาลงที่ท่าเตียน จะเห็นได้ว่ามีร้านยี่ปั๊ว (ร้านขายส่ง ร้านกระจายสินค้าในกับผู้ค้ารายย่อย) มันเลยมีความพลวัตรของพื้นที่นี้เป็นตลาดอยู่สูงมาก”

นอกจากนี้อาจารย์ยังได้เล่าให้ฟังต่ออีกว่า “ที่ชุมชนท่าเตียนแห่งนี้ ตอนหลังมีนักท่องเที่ยวมาเยอะ ทำให้แหล่งรายได้เปลี่ยนไป ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่มาจากนักท่องเที่ยว ดังนั้นชาวนาหรือคนในพื้นที่  มีความเป็นที่อยู่เปลี่ยนไปจากการค้าขายมาตลอด เค้ามีการปรับตัวไม่ทัน ที่นี้ก็จะมีกลุ่มคนชาวบ้านรุ่นใหม่ เค้าเห็น เค้าอยากจะให้ความเป็นท่าเตียนยังอยู่ แบบที่ยังมีจิตวิญญาณของความเป็น ท่าเตียนในรูปแบบใหม่ ดังนั้นเลยเป็นที่มาของการพัฒนาให้เกิดงานท่าเตียนซิงตัคลั๊ค ขึ้นมา”

แต่ส่วนสำคัญในงานนี้ที่ทำให้เราสะดุดตาเป็นอย่างมากคือโซนนิทรรศการออกแบบแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณท่าเตียนของเหล่าเพื่อนๆ สถาปัตยกรรม ที่ทุกอย่างมีความน่าสนใจชวนให้ค้นหาไปหมด จนทำให้เราอยากรู้ถึงเบื้องหลังไอเดียในการจัดนิทรรศการนี้ขึ้นมา ด้วยความที่เราได้พูดคุยกับอาจารย์เตชิต เสร็จแล้ว อาจารย์เลยแนะนำให้รู้จักกับพี่วิภาวี กิตติเธียร (สมาชิกกลุ่ม Xing Tuk Luk)

ดังนั้นบทนาการของเราจึงได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งที่สอง ด้วยความอยากรู้อยากเห็นของเรา เลยตัดสินใจเริ่มต้นถามพี่วิภาวีถึงไอเดียในการจัดนิทรรศการในครั้งนี้ พี่วิภาวี จึงเล่าให้ฟังว่า “โกดังการจัดงานนี้เป็นโกดังเก็บเรือเก่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่โครงสร้างคานยังเป็นไม้อยู่เลย แต่ว่าเมื่อก่อนเป็นโกดังเอาไว้เก็บเรือ เมื่อก่อนเรายังเดินทางทางน้ำ ยังมีการขนส่งทางน้ำ สมัยก่อนพื้นที่ตรงนี้เป็นท่าเรือ ร้านยี่ปั้ว ร้านขนส่ง จะมาส่งของบริเวณท่าเตียนซะส่วนใหญ่ แล้วพอบริบทเริ่มผ่านไป เรามีการเดินทางบนถนนมากขึ้น ตรงนี้ก็เลยเปลี่ยนไป” พี่วิภาวีกล่าวแบบนั้น

แต่ไฮไลท์ที่เราเชื่อว่าหลายๆ คน ต้องชอบเหมือนกันกับเรา คือเจ้าตัว lightning ไฟ LED สีน้ำเงิน ที่เป็นรูปวงกลมทับซ้อนกัน ด้วยความที่อยากรู้ว่ามันมีความหมายไหม อยากรู้อีกแหละ บวกกับพี่วิภาวีได้เล่าขึ้นมาพอดีว่า “เจ้าตัว Lightning หมายถึงการสะท้อนบริบทของสมัยก่อนที่เคยเป็นอยู่ วงกลมเปรียบเสมือนน้ำเวลาหยดลงมา จะมีคลื่น และจะมีเรือกระดาษ ซึ่งสะท้อนถึงภาพเก่าๆ ของโกดังนี้ที่เคยเกี่ยวข้องกับเรือ การขนส่งทางน้ำมาก่อน มันมีเรื่องราวของมันอยู่” นอกจากนี้ยังมีงานสถาปัตยกรรมของนักศึกษา ม.เกษตร ม.ศิลปกร และม.อัสสัมชัญ ที่ได้ออกแบบการพัฒนาพื้นที่ท่าเตียนให้เราได้ชมกันอีกด้วย เป็นไอเดียการออกแบบพื้นที่ชุมชนที่เจ๋งมากๆ จนต้องเอามาบอกต่อเลย

จากการที่เราได้ลองเข้าไปสัมผัสกับกลิ่นไอของชุมชนท่าเตียน พบว่าที่นี่ยังคงรักษาความดั้งเดิมเอาไว้เป็นอย่างดี ทั้งสภาพตึกและวิถีชีวิตของชาวบ้าน บวกกับการจัดกิจกรรมงานท่าเตียนซิงตัคลั๊ค ทำให้ชุมชนที่นี่ดูน่าค้นหาไปอีกเป็นทวีคูณ เราหวังว่าเพื่อนๆ ที่เข้ามาบทความนี้จะได้ความรู้เล็กๆ น้อยๆ กลับไปบ้างไม่มากก็น้อย

ขอขอบคุณ อาจารย์เตชิต จิโรภาสโกศล (อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ) และพี่วิภาวี กิตติเธียร (สมาชิกกลุ่ม Xing Tuk Luk) มานะที่นี้ด้วยค่ะ

สำหรับใครที่ยังไม่รู้จะหาอีเว้นท์ดีดีแบบนี้เพิ่งเติมได้ที่ไหน ลองเข้าไปดูที่ www.zipeventapp.com ได้เลย เรารวบรวมมาให้หมดทุกอีเว้นท์แล้ว

Comments

comments