เชื่อว่าหลายๆ คนคงรู้จักและเคยเห็นผ่านตากันมาไม่มากก็น้อยกับ Burnout Syndrome หรือ ภาวะหมดไฟจากการทำงาน ที่อาจเคยได้ยินกันบ่อยๆ ในชีวิตการทำงาน อย่าง ‘ช่วงนี้รู้สึก burnout มาก เหนื่อยสุดๆ’ หรืออาจจะเป็น ‘รู้สึกหมดไฟจัง ไม่อยากทำอะไรเลย’
ภาวะหมดไฟนี้เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศทุกวัย และสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงวัยทำงานที่มักได้รับความเครียดและแรงกดดันสูง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วเจ้าภาวะนี้จะผลกระทบต่อเราอีกมากมาย ทั้งทางร่ายกายและจิตใจ วันนี้เลยอยากชวนทุกคนมารู้จักกับภาะวะหมดไฟให้มากขึ้นอีกนิด เพื่อที่เราจะได้รู้เท่าทันและสามารถรับมือและจัดการภาวะหมดไฟนี้ได้อยู่หมัด !
.・。.・゜✭・.・✫・゜・。.
#1 ชวนรู้จัก Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟจากการทำงาน
Burnout Syndrome หรือ ภาวะหมดไฟจากการทำงาน คือ ภาวะที่ร่างกายอ่อนล้าทางอารมณ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดและความกดดันที่สะสมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจากการทำงาน จนเกิดเป็นความเหนื่อยล้าที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ ทำให้รู้สึกอ่อนล้า หมดพลัง ท้อแท้ ไม่มีความสุขในการทำงาน มองความสัมพันธ์การทำงานในแง่ลบ จนท้ายที่สุดแล้วจึงทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างแย่ลง ตลอดจนส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจอีกด้วย

.・。.・゜✭・.・✫・゜・。.
#2 สาเหตุของภาวะหมดไฟ ภาวะนี้เกิดขึ้นได้ยังไงนะ ?
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดภาวะหมดไฟนั้น คือ ‘ความเครียดและแรงกดดันได้ที่รับจากการทำงาน’ ซึ่งอาจได้รับจากการทำงานโดยตรง อย่างการได้รับภาระงานที่หนักหรือได้รับในปริมาณที่มากจนเกินไป สภาพแวดล้อมการทำงานไม่ดี ไม่ได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผล ตลอดจนการที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน
อย่างไรก็ตาม ความเครียดและแรงกดดันในที่นี่อาจรวมถึงปัจจัยอื่นๆ ส่วนตัวด้วยเหมือนกัน อย่างเช่น การคาดหวังกับตัวเองมากจนเกินไป ทุกงานต้องออกมาสมบูรณ์แบบ ห้ามมีข้อผิดพลาด หรือการขาด Work-Life Balance ชอบให้ความสำคัญกับงานมากเกินไปจนไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง ตลอดจนความรู้สึกส่วนตัว อย่างการที่เรารู้สึกเหมือนไร้ตัวตน ไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม จนเกิดเป็นความเครียดและความกังวลนั่นเอง

.・。.・゜✭・.・✫・゜・。.
#3 อาการและผลกระทบ เมื่อเราตกอยู่ในภาวะหมดไฟ
ถ้าตกอยู่ในภาวะ burnout แต่ยังไม่ได้รับการรักษาหรือวิธีการจัดการที่ถูกต้องก็อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องทางสุขภาพร่างกายและจิตใจ ได้แก่ ร่างกายอ่อนเพลีย มีภาวะเครียดเรื้อรัง นอนไม่หลับ รู้สึกสิ้นหวัง หดหู่ ซึ่งอาจนำไปสู่การก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า รวมถึงอาจเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ความดันสูง และอาการเจ็บป่วยอื่นๆ อีกด้วย
✦ อาการและผลกระทบทางสุขภาพร่างกาย
- ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดหัว
- มีภาวะเครียดเรื้อรัง
- นอนไม่หลับ
- เสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วย โรคหัวใจ ความดันสูง
- ภูมิต้านทานโรคต่ำ
✦ อาการและผลกระทบทางจิตใจ
- รู้สึกสิ้นหวัง หดหู่ เบื่อ
- อาจนำไปสู่การก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า

.・。.・゜✭・.・✫・゜・。.
#4 12 สัญญาณเตือน ที่กำลังบอกว่าเรากำลังจะก้าวสู่ภาวะ burnout !
- ร่างกายอ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยล้า
- ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
- ไม่มีชีวิตชีวา เบื่อ หดหู่
- ไม่มีความสุขในการทำงาน
- ทำงานช้าลง ไม่ค่อยมีสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
- ไม่กระตือรือร้น เริ่มผัดวันประกันพรุ่ง
- มองโลกในแง่ลบ เริ่มปลีกตัวออกจากสังคม
- ไม่เชื่อในศักยภาพของตัวเอง
- โทษคนอื่นเสมอ ไม่แก้ไขปัญหา
- บริหารจัดการเวลาไม่ได้
- ใจร้อน ไม่พอใจในงานที่ทำ

.・。.・゜✭・.・✫・゜・。.
#5 วิธีรับมือกับภาวะหมดไฟ ทำยังไงไฟของเราถึงจะไม่ดับ ?
และถ้าตอนนี้ใครที่กำลังรู้สึกว่าเริ่มเหนื่อยล้าจากการทำงาน ความสุขในการทำงานที่เคยมีเริ่มหายไปทีละนิด ลองแวะมาอ่านวิธีการรับมือสักนิด บอกเลยว่าเป็นวิธีง่ายๆ แบบเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถทำได้ทันทีเลย เผื่อว่าวิธีเหล่านี้จะช่วยให้ทุกคนสามารถรับมือและแก้ไขเจ้าตัวปัญหาแสนวุ่นวายนี้ไปได้
- Work-Life Balance ปรับสมดุลให้ชีวิตและการทำงาน
บริหารจัดการเวลาอย่างมีคุณภาพ ให้เรามีทั้งเวลาพักผ่อน ออกไปเที่ยว ทำกิจกรรม พบปะครอบครัว เพื่อน หรือแฟน ในเวลาเดียวกันก็สามารถทำงานได้ตามเป้าหมายอย่างมีแระสิทธิภาพ - จัดลำดับความสำคัญของงานให้มีประสิทธิภาพ
จัดลำดับงานตามความสำคัญ อาจเขียน monthly planner เพื่อให้เห็นภาพรวมงานทั้งหมดของเดือนนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน และสามารถจัดการและทำงานได้อย่างมีคุณภาพ - เปิดใจ ยอมรับ และเรียนรู้
รับฟังความเห็นของคนอื่น เปิดใจแชร์ไอเดียให้คนอื่นฟังได้ฟัง ยอมรับในขีดจำกัดและไม่กดดันตัวเอง เอ่ยขอความช่วยเหลือเมื่อเจอปัญหา และปฏิเสธอย่างเหมาะสมเมื่อได้รับภาระงานที่มากเกินไป - พักผ่อนให้เพียงพอ มีเวลาให้ตัวเอง ลองทำกิจกรรมใหม่ๆ
☆ นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มอิ่มและมีคุณภาพ เพื่อให้ร่างกายของเราได้ฟื้นฟูและซ่อมแซมตัวเองจากความเหนื่อยล้าที่สะสม
☆ แบ่งเวลาให้ตัวเองได้ลองทำกิจกรรมใหม่ๆ มากขึ้น อย่างเช่น การออกกำลังกาย การทำเวิร์คช็อป โยคะ แช่ออนเซ็น หรือแม้กระทั่งการดูหนังฟังเพลง ให้ร่างกายได้รู้สึกถึงการพักผ่อนที่สามารถเติมพลังได้อย่างเต็มที่ - พูดคุยและปรึกษาคนที่ไว้ใจ/แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เปิดใจพูดคุยกับคนที่เราไว้ใจและใกล้ชิด อาจเป็นได้ทั้งพ่อแม่ เพื่อนสนิท แฟน เพื่อนร่วมทีม หัวหน้า ไปจนถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะบางทีการได้ระบายความรู้สึกที่หนักอึ้งภายในหัวใจก็สามารถช่วยลดความเครียดที่เราสะสมมาได้เหมือนกัน ทั้งยังอาจได้รับคำพูดและกำลังใจจากคนที่เรารักกลับมาอีกด้วย

จริงๆ แล้วก็อาจบอกได้เลยว่าในปัจจุบัน ‘Burnout Syndrome’ เป็นภัยที่ใกล้ตัวที่ไม่อยากให้ทุกคนมองข้าม
โดยเฉพาะกับวัยทำงานที่มักได้รับแรงกดดันอยู่บ่อยครั้ง เพราะภาวะหมดไฟนั้นเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป
เริ่มต้นอย่างช้าๆ แล้วคอยกัดกินหัวใจเราไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่รู้ตัว
เพราะงั้นทุกคนต้องให้ความสำคัญกับตัวเองเป็นลำดับแรก อย่าลืมหมั่นดูแลหัวใจของตัวเอง
และอย่าปล่อยความเครียดและแรงกดดันจากการทำงานเข้ามากัดกินจนทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้าจนเกินไปนะคะ ( ¨̮ )
อ้างอิงและเรียบเรียงข้อมูลจาก:
- https://mentalhealth-uk.org/burnout/
- https://phyathai3hospital.com/th/burnout-syndrome/
- https://www.medparkhospital.com/en-US/lifestyles/burnout-syndrome
รวม 6 Podcast ฮีลใจ
ช่วยเติมพลังในวันที่เศร้า เก็บไว้ฟังตอนก่อนนอน
อ่านต่อที่นี่! https://www.zipeventapp.com/blog/2024/07/23/healing-podcast/

│
✦ 6 บริการด้านอีเว้นท์ครบวงจร ตอบโจทย์ผู้จัดงาน ✦
เราเข้าใจทุกเรื่องของ อีเว้นท์ ให้เราช่วยคุณ !

สนใจบริการด้านอีเว้นท์ครบวงจร ติดต่อเรา!
E-mail: sales@zipeventapp.com / Call: 020385150 / Inbox FB: Zipevent
Website: https://www.zipeventapp.com/home/organizer
Follow us for more interesting content!
ฝากถึงพี่น้อง แฟนๆ ที่เคารพรักทุกท่าน ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย จิ้มๆ
- Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
- Website: www.zipeventapp.com
- Instagram: @Zipevent
- Facebook: @Zipevent
- Twitter: @Zipevent
- Tiktok: @Zipeventapp
- LINE TODAY: Zipevent
- YouTube: Zipevent
- Blockdit: @Zipevent