#ArtandEntertainment สำหรับเดือนแห่ง Pride Month นี้ เราจะเห็นความเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBTQ+ กันอย่างต่อเนื่อง วันนี้ซิปอยากเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงให้พวกเขาด้วยการพาทุกคนไปสำรวจเรื่องราวความหลากหลายทางเพศในมุมต่างๆ ผ่าน 7 หนังสือ LGBTQ+ ที่ควรได้อ่านสักครั้ง ! ซึ่งรวมหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นนวนิยาย สารคดี และอื่นๆ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความหลากหลายทางเพศให้เราได้เข้าใจความรู้สึก และเข้าถึงพวกเขาได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น
Zipevent สนับสนุนและเป็นกระบอกเสียงให้กับกลุ่ม LGBTQIA+
/ 12 หนัง LGBTQ+ ต้อนรับ Pride Month คลิก! /
✱✱✱
1. They Both Die at the End
โอกาสสุดท้าย, ในวันตายของเรา (ฉบับแปลไทย)
เขียนโดย Adam Silvera
แปลโดย TULIP
ประเภท LGBT literature/Boy Love (นวนิยายวาย), นวนิยายแปลตะวันตก
เริ่มกันที่เรื่องแรก เราอยากแนะนำนวนิยายแปลตะวันตก ที่ตั้งคำถามให้คุณว่า “ถ้ามีชีวิตเหลืออยู่อีก 24 ชั่วโมง คุณจะใช้ยังไงให้คุ้มค่า” อีกหนึ่งหนังสือที่พูดถึงเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครที่เป็น LGBTQ+ และอีกคนที่เป็นชายแท้ ความน่าสนใจไม่ใช่เพียงแค่พาเราไปสำรวจหลายแง่มุมของความสัมพันธ์เท่านั้น แต่ยังพูดถึงเรื่องราวชีวิตและความตายอีกด้วย
✱✱✱
2. Less เลส (ฉบับแปลไทย)
เขียนโดย Andrew Sean Greer
แปลโดย ศรรวริศา
ประเภท วรรณกรรม, เรื่องสั้น
ตามมาด้วยอีกหนึ่งนิยายแนวตลกเสียดสีอย่าง Less ที่เล่าเรื่องราวของ อาเธอร์ เลส นักเขียนเกย์อเมริกันผิวขาววัย 50 ที่นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จในสายอาชีพแล้วนั้น แฟนปัจจุบันของเขายังประกาศแต่งงานกับชายหนุ่มคนอื่น จึงทำให้เขาช้ำใจมาก จนต้องหนีชีวิตด้วยการหาเรื่องเดินทางไปเรื่อยๆ และสำหรับหนังสือเรื่องนี้ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ประเภทบันเทิงคดี ปี 2018 อีกด้วย
✱✱✱
3. เมษาลาตะวัน
เขียนโดย September’s Blue
ประเภท Fiction (นวนิยาย), จิตวิทยา
สำหรับเรื่องนี้ เป็นนวนิยายไทยแนว Coming of Age อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ ด้วยคำโปรยที่ดึงดูดผู้อ่าน “มันคงจะง่ายกว่านี้หากผมอายุสักห้าขวบ ในวัยที่ยังไม่เข้าใจโลกและไม่มีความทรงจำมากพอให้หวงแหน” ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเด็กชายสามคน ที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนนอก พวกเขามีเรื่องราวและปัญหาครอบครัวที่คล้ายๆ กัน จนทำให้พวกเขากลายมาเป็นเพื่อนกันในที่สุด ซึ่งยังมีอีกหลายแง่มุมที่สอดแทรก ทั้งมิตรภาพ ความรักระหว่างเพื่อน และเรื่องครอบครัว ที่อาจพาไปสู่การจบลงที่การได้พบอ้อมกอดให้รัก แต่สุดท้ายทำมันหลุดมือนั่นเอง
✱✱✱
4. Call Me by Your Name
เอ่ยชื่อคือคำรัก (ฉบับแปลไทย)
เขียนโดย André Aciman (อันเดร อะซีแมน)
แปลโดย อารีรัตน์ ขีโรท
ประเภท LGBT literature/Boy Love (นวนิยายวาย), นวนิยายแปลตะวันตก
หากพลาดเรื่องนี้ไป หลายๆ คนคงเสียดายไม่น้อย นี่คือหนังสือเรื่องอันโด่งดังที่ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ที่ได้กระแสตอบรับดีเป็นอย่างมากในปี 2017 หากใครที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วลองมาอ่านในเวอร์ชันหนังสือคงถูกใจและเก็บรายละเอียดได้มากขึ้น
‘เอ่ยชื่อคือคำรัก’ เป็นชื่อไทยของนิยายเรื่อง Call Me by Your Name เล่าเรื่องรักต่างวัยในสังคมที่คอยบีบคั้นของเด็กหนุ่มวัย 17 กับอาจารย์หนุ่มวัย 24 ในดินแดนที่อุดมด้วยความโรแมนติกของงานศิลป์อย่างอิตาลี ในช่วงปี 1980 ซึ่งความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศยังยากที่จะได้รับการยอมรับนั่นเอง
✱✱✱
5. Carol The Price of Salt (ฉบับแปลไทย)
เขียนโดย Patricia Highsmith
แปลโดย วิลาส วศินสังวร
ประเภท Fiction (นวนิยาย)
นับว่าเป็นนิยายเลสเบี้ยนที่โด่งดังและมีอิทธิพลที่สุดเล่มหนึ่ง เล่าเรื่องราวของความสัมพันธ์อันลึกซึ้งของผู้หญิงสองคนอย่าง เทรีส ซึ่งเป็นพนักงานขายในห้างสรรพสินค้า และแครอล ผู้เป็นแม่บ้านที่กำลังจะหย่ากับสามี พวกเธอเพียงแค่สบตาทั้งสองก็พบแรงดึงดูดบางอย่างที่ไม่อาจอธิบายได้ เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นด้วยความเปลี่ยวเหงา อีกทั้งเรื่องนี้ถูกนำมาสร้างในฉบับภาพยนตร์ และทำให้นิยายต้นฉบับนี้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นด้วย
✱✱✱
6. Beyond the Gender Binary
แด่การผลัดทิ้งซึ่งหญิงชาย แด่ความลื่นไหลที่ผลิบาน (ฉบับแปลไทย)
เขียนโดย Alok Vaid-Menon (อลก เวด-เมนอน)
แปลโดย มุกดาภา ยั่งยืนภราดร
ประเภท Social and Culture (สังคมและวัฒนธรรม)
เปลี่ยนมาแนวสังคมและวัฒนธรรมกันบ้าง ด้วยคำโปรย “เราไม่อาจเรียนรู้ที่จะยอมรับและกลายเป็นตัวของตัวเองได้ด้วยตัวคนเดียวบนโลกใบนี้” เล่าถึงประสบการณ์ ความคิด ความรู้สึก ของการเป็นเพศหลากหลายเมื่อเราไม่ได้เป็นชายหรือหญิง ในสังคมที่บอกว่าเปิดกว้างเรื่องนี้แล้ว แต่เด็กคนหนึ่ง วัยรุ่นคนหนึ่ง ผู้ใหญ่คนหนึ่ง ต้องเผชิญกับอะไร พร้อมตั้งคำถามและโยนคำตอบที่น่าสนใจชวนคิดว่า อะไรบ้างที่ทำให้เรายังส่งต่อความทุกข์เศร้าเหล่านี้โดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว มายาคติ อำนาจ ค่านิยม หรือความเชื่ออะไร ที่ทำให้มนุษย์เชื่อแบบนั้น
✱✱✱
7. Gli occhiali d’oro แว่นตากรอบทอง (ฉบับแปลไทย)
เขียนโดย Giorgio Bassani
แปลโดย นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ
ประเภท Fiction (นวนิยาย)
ปิดท้ายด้วยหนังสือที่ว่าด้วยชายสองคนที่ต่างวัย ต่างที่มา ต่างความคิด คนหนึ่งเป็นยิว และอีกคนเป็น Homosexual ทั้งคู่อยู่ในอิตาลี ในสังคมผู้ดีท่ามกลางกระแสการต่อต้านยิวในอิตาลี ในยุคสมัยที่มุสโสลินี ต่อต้านยิวอย่างรุนแรง และการรักร่วมเพศยังเป็นเรื่องต้องห้าม ทั้งคู่ต้องเผชิญกับความโดดเดี่ยวอันเป็นบทลงโทษของความแตกต่าง นวนิยายเล่มนี้ทำให้เราได้สัมผัสความรู้สึกของการถูกเหยียด ทั้งเรื่องเชื้อชาติ เพศสภาพ ทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของการเป็นคนชายขอบในสังคม
✱✱✱
หนังสือ LGBTQ+ ที่ควรได้อ่านสักครั้ง ที่เราได้รวบรวมและคัดสรรมาให้ จริงๆ มีหลาากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นนวนิยายแปล นวนิยายวาย หนังสือเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งแต่ละเรื่องจะกล่าวถึงเรื่องราวความหลากหลายทางเพศในแง่มุมต่างๆ ยังไงทีมซิปก็อยากให้เพื่อนๆ ได้ลองเปิดใจอ่านดูสักครั้ง และเชื่อว่าเราจะเข้าใจพวกเขามากขึ้น ในช่วงเวลาที่สังคมเราเปิดกว้างแล้วนั่นเอง
อ้างอิงและเรียบเรียงข้อมูลจาก
- https://www.tkpark.or.th/ : 10 หนังสือน่าอ่านว่าด้วยความหลากหลายทางเพศ
- https://www.tkpark.or.th/tha/blog_detail/ หนังสือน่าอ่าน LGBTQ เมื่อสังคมเปิดรับความหลากหลายทางเพศ
- https://thematter.co/entertainment/9-books-to-understand-lgbtq/145819 : เพราะความหลากหลายเป็นเรื่องสวยงาม ชวนอ่าน 9 หนังสือที่เล่าเรื่องความหลากหลายทางเพศ
- Thammasat University Library : หนังสือ LGBTQ 6 เล่ม มีเรื่องไหนน่าสนใจบ้าง
- https://www.aitim.co/2020/04/they-both-die-at-end-book-review.html : They Both Die at the End
แวะอ่านบทความอื่นๆ กันต่อได้ที่นี่เลย ✿
- มัดรวม 15 เพลงเกาหลี ดนตรีน่ารัก ฟังสบาย เก็บไว้ฟังเพลินๆ ช่วงซัมเมอร์นี้
- 14 เพลง Soundtrack ประกอบภาพยนตร์ดัง ชวนย้อนอดีต จะฟังกี่ทีก็เพราะไม่มีเปลี่ยน
- รวมประโยคซึ้งกินใจ Disney & Pixar 9 คำพูด ความหมายดี อ่านแล้วใจฟู
- 7 หนัง Coming of Age ที่ดีที่สุด ควรดูสักครั้งในชีวิต! ทุกการเติบโตคือสิ่งสวยงาม
Follow us for more interesting content!
ฝากถึงพี่น้อง แฟนๆ ที่เคารพรักทุกท่าน ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย จิ้มๆ
- Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
- Website: www.zipeventapp.com
- Instagram: @Zipevent
- Facebook: @Zipevent
- Twitter: @Zipevent
- Tiktok: @Zipeventapp
- LINE TODAY: Zipevent
- YouTube: Zipevent
- Blockdit: @Zipevent