Trending Now

วิธีเอาตัวรอดจากเหตุกราดยิง รับมืออย่างไรให้มีสติและรอด!

หากนึกถึงเหตุการณ์กราดยิง ไม่ว่าจะเป็นในต่างประเทศหรือประเทศไทยเองนั้น ปัจจุบันจะพบเห็นและเกิดบ่อยมากขึ้น และนี่คงไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป หากพูดง่ายๆ แค่เราเดินทางบนรถสาธารณะหรือเดินอยู่บนถนน ก็มีสิทธิ์เจอเหตุร้ายได้แล้ว เช่น ‘เหตุจี้บนรถโดยสาร’ หรือหนักไปกว่านั้นคือ เหตุสะเทือนขวัญครั้งใหญ่อย่าง ‘เหตุกราดยิงโคราช’ เมื่อปี 2563 จะเห็นว่าเหตุการณ์เหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยที่เราไม่ได้ทันตั้งตัว

How to วิธีเอาตัวรอด เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน! อ่านที่นี่

ส่วนในช่วงเดือนตุลาคม ปี 2566 นี้ เมื่อต้นเดือนได้เกิดเหตุการณ์กราดยิง ที่นับว่าเป็นครั้งที่สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้คนเป็นอย่างมากนั่นก็คือ ‘เหตุกราดยิง ณ สยามพารากอน’

ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เกิดเหตุกราดยิงที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยผู้ก่อเหตุเป็นเด็กชายอายุ 14 ปี ใช้ปืนแบลงก์กันดัดแปลง กราดยิงภายในศูนย์การค้าสยามพารากอน เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย โดยเสียชีวิตทันที 1 ราย และเสียชีวิตที่โรงพยาบาล 1 ราย และได้รับบาดเจ็บอีก 5 ราย


แล้วเราควรเอาตัวรอดอย่างไร?
หากตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว ซิปอีเว้นท์มีวิธีมาแนะนำและบอกต่อเพื่อนๆ

1. มีสติ พยายามสังเกตคนร้าย

วิธีเอาตัวรอดจากเหตุกราดยิง

วิธีเอาตัวรอดจากเหตุกราดยิง ในขั้นแรกนั้น คือ เราต้องพยายามประเมินสถานการณ์อย่างรวดเร็ว ต้องมีสติเป็นอย่างมาก! ทำใจให้สงบ เพื่อรับมือกับสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่ให้ได้

สิ่งที่ต้องสังเกตการณ์ มีดังนี้

  • พยายามดูว่ามีจำนวนผู้ยิงกี่คน
  • กระสุนมาจากทางใด
  • เสียงที่เกิดขึ้นอยู่บริเวณไหน
  • มีพื้นที่ตรงไหนที่สามารถหลบหนีได้บ้าง
  • ทิ้งของที่ไม่จำเป็นเพื่อให้ง่ายต่อการหลบหนี

ลักษณะและท่าทางเบื้องต้นของผู้ยิง ที่ควรสังเกต!

  • การแต่งกาย ส่วนใหญ่จะสะพายกระเป๋า ใส่เสื้อคลุมมิดชิด เพื่อซ่อนอาวุธ
  • ท่าทางการเดิน เดินก้าวสั้นๆ ด้วยท่าทางมองซ้ายมองขวา เนื่องจากต้องประคองปืนและมองลาดเลา
  • ท่าทางของคนรอบข้าง หากดูแล้วไม่น่าไว้ใจควรอยู่ห่าง และเลี่ยงไปทางอื่น

2. หนี – ซ่อน – สู้ (Run – Hide – Fight)

วิธีเอาตัวรอดจากเหตุกราดยิง

Step 1 : วิ่งหนี

  • หนีจากผู้ยิงให้ไวที่สุด > ทิ้งสัมภาระที่ไม่จำเป็น > ช่วยผู้อื่นถ้าเป็นไปได้ > ป้องกันไม่ให้ใครเข้าไปในพื้นที่กราดยิง > โทรแจ้งเหตุเมื่อปลอดภัย

Step 2 : ซ่อน

  • หลบสายตา อยู่ให้เงียบ ปิดเสียงเครื่องมือสื่อสาร
  • อย่าซ่อนเป็นกลุ่ม ให้กระจายไปตามกำแพง หรือซ่อนเดี่ยวๆ
  • พยายามสื่อสารกับตำรวจอย่างเงียบๆ

Step 3 : สู้! หากนี่คือทางเลือกสุดท้าย

  • พยายามสู้ให้จริงจังและเต็มที่ที่สุด
  • ชวนคนอื่นให้มาช่วยกันซุ่มโจมตีด้วยอาวุธ เช่น เก้าอี้ ถังดับเพลิง กรรไกร หนังสือ อื่นๆ
  • ทำอะไรก็ได้ให้ผู้กราดยิงบาดเจ็บมากที่สุด
  • ขว้างสิ่งของและอาวุธให้ผู้กราดยิงสับสน และแย่งอาวุธ

ขอบคุณข้อมูลจาก: ข้อมูลจากภาควิชาศัลยแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย: สิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างเร่งด่วนที่สุด 3 ขั้นตอน เมื่อตกอยู่ในเหตุการณ์กราดยิง คือ การหลบหนี การหลบซ่อน และการต่อสู้ (Run, Hide, Fight)


3. โทรแจ้งเหตุ 191

วิธีเอาตัวรอดจากเหตุกราดยิง

วิธีต่อมาเป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญมาก หากคุณตั้งสติได้และอยู่ในที่ที่ปลอดภัยแล้ว ให้คุณรีบโทรขอความช่วยเหลือ โดยโทรหาเบอร์ฉุกเฉิน 191 และให้ขอมูลแก่เจ้าหน้าที่ให้ได้มากที่สุด โดยเบื้องต้นควรให้ข้อมูล ดังนี้

  • ตำแหน่งที่อยู่ / พิกัด
  • เกิดอะไรขึ้น / จำนวนมือปืนที่พบเห็น
  • เผชิญกับอะไรอยู่
  • บอกความช่วยเหลือที่ต้องการ

4. การรับมือหลังเหตุการณ์

  • important! ชูมือเปล่าให้ตำรวจเห็นชัดๆ
  • หน้าที่แรกของตำรวจคือ การระงับเหตุ ตำรวจอาจเดินผ่านผู้บาดเจ็บไปโดยไม่ได้ช่วยเหลือ
  • ตำรวจอาจตะโกนสั่งและอาจผลักคนที่ยืนอยู่ให้นอนลงกับพื้น เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
  • ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของตำรวจอย่างเคร่งครัด
  • ให้ใส่ใจตัวเองก่อน และค่อยช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ

อ้างอิงข้อมูลและเรียบเรียงจาก

  • ข้อมูลจากภาควิชาศัลยแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย: สิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างเร่งด่วนที่สุด 3 ขั้นตอน เมื่อตกอยู่ในเหตุการณ์กราดยิง คือ การหลบหนี การหลบซ่อน และการต่อสู้ (Run, Hide, Fight)
  • https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2464164 อ่านเพิ่มเติม!
  • https://thethaiger.com/th/news/797540/ อ่านเพิ่มเติม!

Follow us for more interesting content!

ฝากถึงพี่น้อง แฟนๆ ที่เคารพรักทุกท่าน ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย จิ้มๆ

Comments

comments

Author

Content Creator at Zipevent จบมนุษย์แต่ใจอยากเรียนนิเทศน์ เริ่มต้นสู่การเป็น Multi-task สายคอนเทนต์ ชื่นชอบแฟชั่น รักการแต่งตัว มีความสุขเวลาได้สร้างงานไลฟ์สไตล์ งานรีวิว งานพากย์เสียง พร้อมครีเอทเรื่องราวสนุกๆ ให้ติดหูคนอ่าน