อาจจะเป็นวงเพื่อน หรือหลายๆ ปัจจัยที่ผู้เขียนรู้สึกว่าช่วงนี้ เพื่อนของผู้เขียนไปออสเตรเลียเยอะมาก ไม่ได้ไปเที่ยวแบบไปแล้วกลับนะ แต่ไปใช้ชีวิต ทำงานอยู่ที่นู้นเลย ตั้งแต่วันที่สงสัยจนถึงวันที่เขียนบทความนี้ ผู้เขียนก็ได้สอบถามหลายๆ คนที่เป็นเพื่อนที่ต่างพากันไปออสเตรเลีย ชนิดที่ไปเช่าบ้านทำงาน อยู่ที่นู้นเลย และเพื่อนของผู้เขียนที่ไป ก็หลากหลายสายอาชีพ วันนี้จะชวนมาดูเหตุผลกันว่าทำไม คนชอบไปออส ทำไมไม่ไปแคนาดา หรือประเทศอื่นๆ หมายเหตุ นี่เป็นความเห็นของเพื่อนๆ เท่านั้น อาจคลาดเคลื่อนกับความจริง
การขนส่งสาธารณะที่ครบราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ
เพื่อนที่ไปอยู่ที่นู่น เล่าว่า จะขึ้นรถบัส รถไฟฟ้า ราคามันไม่แพงนะ เมื่อเทียบกับค่าแรงที่ได้ต่อชั่วโมง และด้วยความที่อากาศไม่ได้ร้อน และทางเท้าที่เรียบร้อย เหมาะแก่การเดิน ก็ยิ่งทำให้ ไม่ต้องเสียค่าเดินทางเลยก็ได้ ถึงเสียก็จัดว่าสะดวกสบาย การวางผังเมือง แบบทำให้อยากให้การขนส่งสาธารณะ แบบทุกอย่างเหมือนถูกคิด ถูกวางแผนมาหมดแล้ว ทำให้คนที่ได้ประโยชน์ก็ประชาชนนั้นแหละ
เพื่อนคนไทยที่นั้นเยอะไม่เหงาทำให้ คนชอบไปออส
ที่ออสฯ คือคนอื่นอาจจะคิดว่า ไปนู่นเจอแต่กับคนไทย ไม่ได้ฝึกภาษากันพอดี แต่คนไทยด้วยกัน ยังไงก็มีอะไรก็ช่วยเหลือกัน และยังชวนกันไปกินอาหาร หรือทำอาหาร หรือกิจกรรมอื่นๆ ยังไงคนไทย ไลฟ์สไตล์ก็คล้ายๆ กัน ชอบกินอะไรเหมือนกัน เรียกได้ว่า ไม่เหงาแน่นอน หรือถ้าคุณเป็นคนที่เฟรนลี่มากๆ ก็อาจจะได้เพื่อนต่างชาติเพิ่มเข้ามา แนะนำบอกต่อกัน คนนี้เพื่อนคนนั้น ก็ช่วยให้รู้จักคนได้กว้างขวางขึ้นไปอีก
สภาพอากาศไม่ได้สุดขั้วคือคล้ายๆ ไทยแต่มีความหนาวแบบที่ไทยไม่มี
ด้วยความคนไทย อยู่ง่าย ชินกับอากาศที่ร้อนของเมืองไทยไปแล้ว เสมือนมีเกราะคุ้มกัน อากาศหนาวๆ นี่ชอบเลย สบาย ทำกิจกรรม เดินไปไหนก็สบาย เอาเป็นว่าอากาศคล้ายๆ ไทย เพิ่มเติมใส่ไข่คืออากาศหนาวเพิ่มเข้ามา แต่เพื่อนที่ไปอยู่เล่าว่า ช่วงอากาศหนาว และแบบมันตุ่นๆ มูดมันชวนเศร้า ยิ่งถ้าเหงาไม่ได้เจอเพื่อน ต่างคนต่างทำงาน ก็ยิ่งเศร้า ไม่มีแฟนอีก ยิ่งเศร้าเบอร์ร้อย เพื่อนกล่าว
รายได้ที่ได้ต่อชั่วโมงเพียงพอใช้ได้อยู่
แน่นอนว่า ถ้าไม่ได้ใช้ฟุ่มเฟือยนี่ จะอยู่ไทย หรืออยู่ที่ไหนก็ไม่พอ แต่ที่นู้นเพื่อนเล่าว่า ความปังคือ แค่ทดลองงานก็ได้เงินเช่นกัน เรียกได้ว่า ถ้าประหยัดๆ น่าจะเก็บเงินได้เยอะเลย แบบใช้จ่ายค่าบ้าน ค่าเดินทาง ค่ากิน น่าจะเหลือเก็บ หรือจะเอาไปช้อปปิ้งก็ได้ เอาที่เรามีความสุข และเพื่อนแชร์ให้ฟังว่า ค่ากินไม่ค่อยซื้อกิน เพราะอยากกินอาหาร street food ซื้อมาทำกินเองที่ห้อง แต่ก็ด้วยความที่ไม่ใช่ Master Chef ที่จะสามารถรังสรรค์อาหารให้อร่อยมากขนาดนั้นได้ ผู้เขียนมักจะเห็นใน IG story ของเพื่อนบ่นว่า ทำเองไม่เหมือนที่ซื้อกินที่ไทยเลย แต่รวมๆ ก็มีเงินได้อยู่ ค่าครองชีพไม่ได้รุนแรง เอื้อต่อการอยู่อาศัย
เปลี่ยนสัญชาติ หรือทำวีซ่าไม่ยาก
เพื่อนจ้อให้ฟังว่า ประเทศไหนที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คือประเทศนั่นต้องการแรงงานเข้าไปทำงานบริการจำนวนมาก โอกาสที่จะทำให้คนที่เข้าไปอยู่อาศัยได้สิ่งที่คล้ายๆ green card หรือแบบเราเหมือนเป็นพลเมืองของประเทศนั่นๆ ได้ถูกต้องตามกฏหมายแล้ว ยิ่งทำให้ชีวิตปังเข้าไปใหญ่ คือเราก็จะได้รับสวัสดิการจากประเทศนั่นๆ ด้วย
อยู่ไทยไม่ไหวแล้วมันเกินไปหน่อย หลายๆ อย่าง
ก็ข้อนี้ไม่ต้องอธิบายอะไร ทุกคนน่าจะเข้าใจยกเว้นคนบางกลุ่ม แต่ก็นะ หลายคนหลายความคิด เพื่อนของผู้เขียน ต่างไม่ไหวแล้ว อนาคตที่ประเทศไทยมันมองไม่เห็นเลย จะทำงานเก็บเงินได้ยังไง ค่าครองชีพ ข้างของอะไรก็แพงขึ้น ในขณะที่เงินเดือนเพิ่มขึ้นนิดหน่อย อีกทั้งสวัสดิการต่างๆ ก็ยังไม่ค่อยเอื้ออำนวย ลองเปรียบเทียบง่ายๆ ระหว่างคนที่ไปรพ. ด้วยประกันสังคม กับไปรพ.เอกชนด้วยประกันของเอกชน มันต่างกันเลย จริงอยู่ที่เมืองไทยมีอะไรดีหลายๆ อย่าง แต่มันก็นานมาแล้ว เช่น อาหารอร่อย ทะเลสวย อะไรประมาณนี้ แต่เมื่อก่อน เมื่อสิบปีก่อนก็คำพูดนี้ วันนี้ก็ยังคงมีดีเท่าเดิม ไม่ได้มีดีขึ้นเลย ก็ความเห็นของผู้อ่าน พิมพ์คอมเมนต์เข้ามาได้ พารากราฟนี้เกิดจากการ facetime เม้าท์จ้อของเพื่อนๆ กับผู้เขียนเท่านั้น
6 ข้อนี้ที่ได้มาจากเพื่อนแต่ละคน ก็ต้องมานั่งสรุปเอาเองอีกนะ เพื่อนผู้อ่านของใครที่ไปออสเตรเลีย แบบไปทำงาน ไปอยู่ที่นู่นเลย ผู้เขียนก็เชื่อว่า ต้องมีการพูดคุยเม้ามอยแน่นอน และเพื่อนของผู้อ่านให้เหตุผลกับการไปครั้งนี้ว่าอย่างไรบ้าง หรือส่วนตัวผู้อ่านเองคิดว่า ถ้าผู้อ่านเองไปจะไปทำงานที่ออสเตรเลีย จะไปด้วยเพราะเหตุผลอะไรกันบ้าง คอมเมนต์มาบอกกันด้วยน้า สำหรับบทความหน้าจะเป็นอะไร ติดตามกันไว้ได้เลย
Follow us for more interesting content!
ฝากถึงพี่น้อง แฟนๆ ที่เคารพรักทุกท่าน ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย จิ้มๆ
- Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
- Instagram: @Zipevent
- Website: www.zipeventapp.com
- Twitter: @Zipevent
- Facebook: @Zipevent
- LINE TODAY: Zipevent
- YouTube: Zipevent
- Blockdit: @Zipevent