ใกล้จะถึงปีใหม่แล้ว หลายๆ คนคงมีสิ่งที่อยากทำหลายอย่าง วันนี้ซิปของชวนมาทำอะไรที่อาจจะเรียกได้ว่า แปลกใหม่สำหรับใครหลายๆ คน นั้นคือการ ปั้นพระ แต่ก่อนจะไปดูรายละเอียดของกิจกรรมนี้ หรืออีเว้นท์นี้ ซิปอยากจะชวนมาอ่านประวัติของการกำเนิดเกิดขึ้นมาของพระพุทธรูปสักหน่อย และรู้หรือไม่ว่า นอกจากจะมีพระประจำวันเกิดแล้ว ยังมีพระประจำเดือนเกิดอีกด้วย ลองมาดูกันว่าพระประจำเดือนเกิดของคุณนั้นคือ พระพุทธรูปปางอะไรกันบ้าง
ที่มาของพระพุทธรูป
พระพุทธรูป หรือพระพุทธปฏิมาตามศัพท์ คือ รูปเปรียบหรือรูปสัญลักษณ์แทนองค์ พระพุทธเจ้าพระศาสดาแห่งศาสนาพุทธ ซึ่งไม่ใช่รูปเหมือนของพระองค์ท่าน ครั้งพระพุทธองค์ยัง ดํารงพระชนม์ชีพอยู่ยังไม่มีการสร้างถาวรวัตถุเพื่อสักการะบูชาในพระศาสนา
การสร้างพระพุทธรูป หรือรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์เริ่มขึ้นภายหลังพุทธศตวรรษที่ 6 เล็กน้อย ในแคว้นคันธาระ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในเขตของปากีสถาน และอัฟกานิสถาน
ประติมากรรมดังกล่าว ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะกรีกมีลักษณะสมจริงในลักษณะของใบหน้าตลอดเรือนร่างของ มนุษย์ ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของรูปเคารพในส่วนประกอบอื่นๆ ก็ไม่ได้ทิ้งประเพณี หรือคติความเชื่อทาง พุทธศาสนา
การสร้างพระพุทธรูปให้มีลักษณะพิเศษนั้นเกิดจากความต้องการให้มีความแตกต่างจาก พระสาวก คือ มีมวย หรือมุ่นพระเกศาอยู่กลางพระเศียร ต่อมาลักษณะนี้ได้กลายเป็นพระเกตุมาลา กล่าวกันว่าพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์ (Menander) หรือ มิลินทร์ แห่งราชวงศ์ศุงคะ
ขอขอบคุณที่มาของเนื้อหา สงบ สติ โรคยา โดย นายชูศักดิ์ แก้วประพล
ก่อนจะไปดูพระพุทธรูปประจำเดือนนั้น สำหรับใครที่งงว่า แล้ววันที่เราเกิด อยู่ในเดือนอะไร เดือนไทย สามารถไปตรวจสอบได้ที่ เว็บนี้เลย ปฏิทินร้อยปี จะได้เอาให้ชัวร์ว่า เราเกิดเดือนอะไร ตามปฏิทินไทยแท้ เลือกปีที่ตัวเองเกิด แล้วเอาเมาส์ไปชี้ไว้เฉยๆ ก็จะบอกวัน เดือน ปี ตามบัตรประชาชนเรา อย่างผู้เขียนเกิดเดือนสิงหาคมปี 2536 พอไปดูตามเว็บนั้น เดือนไทยที่เกิดคือ เดือนเก้า เป็นต้น
พระพุทธรูปประจำเดือนอ้าย
ปางปลงกัมมัฏฐาน หรือปางชักผ้าบังสุกุล
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทยืน พระหัตถ์ซ้ายทรงธารมะกร (ไม้เท้า) ยื่นพระหัตถ์ขวาออกไปข้างหน้า ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำ เป็นกิริยาชักผ้าบังสุกุล บางแบบพระหัตถ์ซ้ายห้อยลงทาบที่พระเพลา (ตัก)
พระพุทธรูปประจำเดือนยี่
ปางชี้มาร
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระพักตร์ ชี้นิ้วพระหัตถ์ไปข้างหน้า
พระพุทธรูปประจำเดือนสาม
ปางประทานโอวาท หรือปางแสดงโอวาทปาติโมกข์
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทพระทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้น จีบนิ้วพระหัตถ์ไว้เสมอพระอุระ (อก)
พระพุทธรูปประจำเดือนสี่
ปางนาคาวโลก
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทยืน พระหัตถ์ขวาห้อยเยื้องมาข้างหน้า พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงตามปกติ บางแบบพระหัตถ์ซ้ายห้อยลงมาข้างหน้า พระหัตถ์ขวาห้อยลง เอี้ยวพระวรกายผินพระพักตร์ เหลียวไปข้างหลัง บางแบบยกพระหัตถ์ขวาขึ้นเสมอพระอุระ
พระพุทธรูปประจำเดือนห้า
ปางคันธารราฏ หรือ ปางขอฝน (นั่ง)
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทพระทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ ทรงผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเป็นกิริยาขอฝน พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระเพลา (ตัก) บางแบบหงายพระหัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระชานุ (เข่า)
พระพุทธรูปประจำเดือนหก
ปางมารวิชัย
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ (เข่า) นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี พระปางนี้นิยมสร้างเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
พระพุทธรูปประจำเดือนเจ็ด
ปางเรือนแก้ว
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทพระทับ (นั่ง) ขัดสมาธิในเรือนแก้ว พระหัตถ์ซ้ายวางหงานบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) บางแบบพระหัตถ์วางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) บางแบบอยู่ในอิริยาบถขัดสมาธิเพชรในเรือนแก้ว
พระพุทธรูปประจำเดือนแปด
ปางปฐมเทศนา หรือ ปางแสดงธรรมจักร
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ บางแบบประทับ (นั่ง) ห้อยพระบาท พระหัตถ์ขวาจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นวงกลม พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา (ตัก) บางแบบพระหัตถ์ซ้ายประคองพระหัตถ์ขวา หรือพระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นถือชายจีวร
พระพุทธรูปประจำเดือนเก้า
ปางภัตกิจ
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตรซึ่งวางอยู่บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาหย่อนลงในบาตร เป็นกิริยาเสวย
พระพุทธรูปประจำเดือนสิบ
ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยายืน พระหัตถ์ทั้งสองวางบนพระเพลา (ตัก) บางแบบประสานพระหัตถ์ด้วย พระบาทซ้ายทรงเหยียบหลังพระบาทขวา เป็นกิริยากดพระบาท
พระพุทธรูปประจำเดือนสิบเอ็ด
ปางลีลา
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทยืนยกส้นพระบาทขวา พระหัตถ์ขวาห้อยในท่าไกว พระหัตถ์ซ้าย (บางตำนานว่าพระหัตถ์ขวา) ยกเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้า บางแบบจีบนิ้วพระหัตถ์ บางตำราใช้ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์เป็นพระประจำเดือนนี้
พระพุทธรูปประจำเดือนสิบสอง
ปางประทานอภัย (นั่ง)
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ ยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองเบน ไปข้างหน้าเล็กน้อย บางแบบเป็นพระอิริยาบถยืน
กิจกรรม ปั้นพระ ในแบบคุณ ครั้งที่ 32
คลาส ปั้นพระ กลับมาอีกครั้ง (ครั้งที่32) เดือนพฤศจิกายนนี้ สำหรับผู้ไม่มีทักษะการปั้นใดๆแต่อยากปั้นพระของตนเองสักครั้ง กับกิจกรรมปั้นพระในแบบของคุณ โดย อ.อุ่น อัตนโถ ที่ อริยาศรมวิลล่า สุขุมวิท 1 กิจกรรมที่สอนปั้นให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถปั้นพระเพื่อสะท้อน ความงาม ที่แตกต่างกับเฉพาะตน เป็นโอกาสที่ครั้งหนึ่งในชีวิต เราจะได้ปั้นพระด้วยศรัทธา และมือของเราเอง วันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2564 นี้ รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับคนที่สนใจ คลิก
ใครที่อยากติดตามบล็อกของเราเพิ่มเติมล่ะก็ แวะมาจอยที่ https://www.zipeventapp.com/blog/
Follow us for more interesting content!
ฝากถึงพี่น้อง แฟนๆ ที่เคารพรักทุกท่าน ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย จิ้มๆ
- Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
- Instagram: @Zipevent
- Website: www.zipeventapp.com
- Twitter: @Zipevent
- Facebook: @Zipevent
- LINE TODAY: Zipevent
- YouTube: Zipevent
- Blockdit: @Zipevent