ถ้ามีซิปก็ย่อมมีอีเว้นท์งานศิลปะอย่างแน่นอน กับครั้งนี้เราก็มีนิทรรศการงานศิลปะมาแนะนำอีกเช่นกัน กับนิทรรศการครั้งนี้ที่มีชื่อว่า A LIFE BEYOND BOUNDARIES นิทรรศการงานศิลปะที่รวบรวมศิลปินมากกว่า 10 ชีวิตมัดรวมกันมาสร้างสรรผลงานในนิทรรศครั้งนี้ ซึ่งนิทรรศการนี้ว่าด้วยเรื่องราวของเชื้อชาติ ประเทศ ที่ย่อมมีปัจจัยหลายๆ อย่างหลอมรวมมันขึ้นมา แต่สิ่งที่แตกต่างไปคือนิทรรศการครั้งนี้จะพาคุณไปก้าวผ่านขอบเขตเหล่านั้น ที่พร้อมจะตีแผ่ขอบเขตเรื่องชาติ และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้แตกต่างออกไป
ถ้าคำว่า เชื้อชาติ ถูกนิยามไว้ว่าเป็น “สิทธิของการเป็นพลเมืองของประเทศนั้น” แล้วเชื้อชาติประกอบขึ้นด้วยอะไรบ้าง? เชื้อชาติเป็นแนวคิดที่จับต้องได้หรือไม่? และหากเป็นเช่นนั้น มันจะถูกนำเสนออย่างไรได้บ้าง?
ธงชาติ แผนที่ หรือสัญลักษณ์ของอำนาจนำทางการเมืองอาจกลายเป็นสัญลักษณ์ของสัญชาติใดหนึ่งได้หรือไม่? หรือคือมรดกสืบทอด ธรรมเนียม อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมต่างหากที่เป็นตัวแทนการแสดงออกถึงความเป็นชาติ?
ผลงานศิลปะนี้มีคอนเซ็ปต์ที่ปรากฏขึ้นเนื่องจากการถกเถียงกันด้วยเรื่องการเป็นส่วนหนึ่งของชาติทางด้านงานศิลปะ ว่าด้วยการเปิดรับแนวทางเชิงเปรียบเทียบจากภูมิภาค นิทรรศการนี้จึงได้เชื้อเชิญศิลปินจากหลากหลายรุ่นเพื่อสำรวจถึงแนวคิดด้วยอัตลักษณ์และการเป็นส่วนหนึ่งของชาติ โดยที่ไม่ถูกผูกมัดด้วยมุมมองทางภูมิศาสตร์ ให้มาตีความบนความหมายของความเป็นชาติแบบไม่ผูกมัด
จุดเริ่มต้นของนิทรรศการ
โดยครั้งนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือ A Life Beyond Boundaries ที่เป็นชื่อเดียวกันกับนิทรรศการ ของเบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน นักเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาชื่อดัง ซึ่งหนังสือเล่มนี้ตีแผ่ลัทธิชาตินิยมผ่านมุมมองในฐานะ ‘พลเมืองโลก’ ผ่านชีวทัศน์ในเชิงเปรียบเทียบ
และยังได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้แอนเดอร์สันริเริ่มทฤษฏี “ชุมชนจินตกรรม” ด้วยการสังเกตสิ่งชีวิตรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ กรอบคิดทางวัฒนธรรม ภาษา ความทรงจำ และความเป็นอื่น ดังนั้นผลงานศิลปะในนิทรรศการนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นการตั้งคำถาม หรือ ต่อรองต่ออัตลักษณ์แห่งความเป็นชาติของตัวพวกเขาเองตามชื่อนิทรรศการที่เรียกว่า A Life Beyond Boundaries
จากบทสนทนากับศิลปินสู่นิทรรศการ
ผลงานครั้งได้รวบรวมทั้งผลงานเดิมและผลงานที่ผลิตขึ้นใหม่ให้กับนิทรรศการโดย ผลงานต่างๆ ได้ร่างภูมิเขตของตัวตนที่ก้าวพ้นเส้นแบ่งเขตแดนและนิยามของชนชาติแบบเดิมๆ ในขณะเดียวกันก็นำเสนอความเป็นภูมิภาค มิหนำซ้ำผลงานบางชิ้นอาจนำเสนอภาพที่คุ้นชิน ผ่านสิ่งเคารพบูชาที่เป็นที่นิยม หรือด้วยวัสดุ เช่น ผ้าพื้นถิ่น สัญลักษณ์ หรือเทคนิคสร้างสรรค์แบบดั้งเดิม
ในขณะที่ผลงานบางชิ้นอาจนำเสนอเรื่องราวของศิลปิน หรือข้อสงสัยต่อความเป็นส่วนหนึ่งของชาติซึ่งเป็นประเด็นที่หน้าจับตามองในขณะนี้ด้วย เช่น ภาวะโรคระบาด การปราบปรามของรัฐทหารในบางประเทศอันนำมาซึ่งการโหยหาประชาธิปไตยของประชาชน
ภาพจากนิทรรศการบางส่วน
นิทรรศการนี้จัดขึ้นที่ JWD Art Space โดยเชื้อเชิญให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นชาติที่ถูกนำเสนอผ่านกรอบต่างๆ โดยไม่อิงกับนัยที่ภูมิศาสตร์การเมืองสร้างเอาไว้ แต่มุ่งเน้นถามหาตำแหน่งแห่งที่ของตนเองในประวัติศาสตร์และสังคม ผ่านบริบทของภูมิภาคแทนความเป็นรัฐชาติ
จัดแสดงวันนี้ – 30 กันยายน 2564 ที่ JWD ART SPACE
ติดตามบทความอื่นๆ ของเราได้ที่ช่องทางเหล่านี้เลย
- Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
- Instagram: @Zipevent
- Website: www.zipeventapp.com
- Twitter: @Zipevent
- Facebook: @Zipevent
- LINE TODAY: Zipevent
- YouTube: Zipevent
- Blockdit: @Zipevent