SAC Gallery หรือ ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์ หอศิลป์เอกชน ที่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2555 ตั้งอยู่ในซอยสุขุมวิท 39 ซึ่งแกเลอรี่นี้มักจะแสดงนิทรรศการศิลปะทั้งไทยและต่างประเทศ แถมยังมีการจัดกิจกรรมอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็น เวิร์กชอป หรืองานเสวนาเกี่ยวกับศิลปะต่างๆ

ตลอดต้นปีนี้ทางแกเลอรี่ก็ได้มีการจัดนิทรรศการศิลปะยาวๆ รัวๆ ให้เราได้เข้าไปเยี่ยมชม วันนี้เราจะมารวบรวม 4 งานศิลปะที่เพื่อนๆ สามารถเข้าไปชื่นชมความสวยงามเพื่อเก็บภาพสวยๆ มาฝาก

4 งานศิลปะห้ามพลาดที่ SAC Gallery

พินิจ “PINIJ: Mindfulness Quarantine”

6 มีนาคม – 30 เมษายน 2564

SAC Gallery

สถานการณ์ของโลกในปัจจุบันส่งผลกดดันกับวิถีชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก ทำให้มนุษย์ต้องเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต ปรากฎการณ์นี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงพื้นที่กักกันตนแต่ยังครอบคลุมกว้างไกลไปถึงระบบเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม สังคม อย่างไรก็ตามเหตุการณ์นี้ก็ยังเปิดโอกาสแก่เราให้ได้อภิรมย์ไปกับเวลาและสภาพแวดล้อมรอบตัว ประชากรทั่วโลกเลือกที่จะใช้เวลาทำกิจกรรมภายในที่พักเพิ่มขึ้นกว่า 35% การใช้เวลาจับจ่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้าลดลงกว่า 90% เวลาในการทำงานทั่วโลกลดลงกว่า 50% ส่งผลความตึงเครียดในสการดำรงชีวิต ประจวบกับประชากรทั่วโลกล้วนมีประสบการณ์ร่วมในการถูกกักบริเวณซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งทางร่างกายและจิตใจ

“Collectible Design Thailand, CDT” เป็นนิทรรศการที่จัดขึ้นในทุกๆ 2 ปี โดยนิทรรศการ PINIJ เป็นการจัดแสดงครั้งที่ 2 จากความร่วมมือระหว่างแกลเลอรีศิลปะและนักออกแบบที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมแสดงผลงานเพื่อนำเสนอแนวความคิดในหัวข้อที่หลากหลายและแปรความคิดเชิงนามธรรมมาสู่ผลงานศิลปะการออกแบบ โครงการ CDT ก่อตั้งขึ้นโดย suMphat gallery โดยมุ่งหวังที่จะยกระดับคุณภาพของงานออกแบบในไทยไปสู่ผลงานที่สะท้อนมุมมองด้านความรู้สึกและปรัชญา รวมทั้งส่งเสริมผลงานผลิตทั้งงานอุตสาหกรรมและหัตถกรรมที่ต้องใช้ความละเอียดและวิธีการที่ละเอียดซับซ้อนอย่างสูงเพื่อให้เป็นผลงานที่มีคุณค่าเทียบเท่าผลงานศิลปะในแขนงต่างๆ


HERSPECTIVE

1 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2564

**ณ ห้องแสดงนิทรรศการชั้น 3 โรงแรม โรสวูด กรุงเทพฯ (พื้นที่ทางเชื่อมระหว่าง BTS เพลินจิต ทางออก 1)

นิทรรศการกลุ่ม โดย

ธนธร สรรพกิจจำนง
ธิดารัตน์ จันทเชื้อ
ไปรยา เกตุกูล
อ้อ สุทธิประภา

วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับวันสตรีสากลแห่งชาติ เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) ขอร่วมผลักดันศิลปินหญิงมากความสามารถสู่สายตาของผู้ชม ในโลกแห่งวงการศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย มีศิลปินมากความสามารถและมากประสบการณ์ สำหรับ ธนธร สรรพกิจจำนง, ธิดารัตน์ จันทเชื้อ, ไปรยา เกตุกูล และอ้อ สุทธิประภา คือตัวแทนของ 4 ศิลปินหญิงที่แตกต่างในกลวิธีการสร้างสรรค์ แต่เชื่อมโยงกันด้วยเส้นสายและการร้อยเรียง

หาก ‘perspective’ หมายถึง ‘มุมมอง’ ต่อสิ่งต่างๆ ที่เป็นจริง หรือการทำให้ทัศนะเหล่านั้นดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด นิทรรศการ “Herspective” ก็คงบอกเล่าเรื่องราวทาง ‘spective’ ของพวก ‘เธอ’ 4 คน ผ่านมุมมองของ ‘ธรรมชาติ’ ในฝีมือที่แตกต่างแต่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง


INTENATIONAL CHANCE

3 เมษายน – 22 พฤษภาคม 2564

Sac gallery

เทคนิคพื้นฐานของการสร้างผลงานจิตรกรรมคือการวาดภาพด้วยพู่กัน ศิลปินจำนวนไม่น้อยใช้อุปกรณ์นี้เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร และเมื่องานศิลปะมีพู่กันเป็นผู้ดำเนินเรื่อง ยิ่งทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจว่า รอยทีแปรง (Brushstroke)  มีบทบาทอย่างไรในงานจิตรกรรม จิตรกรในประวัติศาสตร์สำรวจศักยภาพการแสดงออกของพู่กันด้วยความพยายามค้นคว้าหาแก่นแท้ของเครื่องมือพื้นฐานนี้ผ่านการสำรวจสภาวะภายใน ที่ระดับอารมณ์และความรู้สึก ทำให้ทีพู่กัน หรือทีแปรง มีความหมายเป็นอุปลักษณ์ของพลังงานที่สื่อ สะท้อนสภาวะ มุมมอง ท่าทาง หรือกระทั่งห้วงเวลาขณะที่ศิลปินผลิตผลงาน

นิทรรศการ Intentional Chance โดย กิติก้อง ติลกวัฒโนทัย นำเสนอจิตรกรรมนามธรรมที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของสี ทีแปรง และพื้นผิว ผลงานหลายๆ ชิ้นขับเน้นภาพที่ดำเนินเรื่องราวด้วยรอยพู่กันอย่างโดดเด่น ด้วยท่าที (gesture) ที่แตกต่างและหลากหลาย ดูราวกับเป็นภาพสัญลักษณ์ที่อยู่ตรงกลางระหว่างอักขระและความหมาย แม้ทีแปรงหรือพู่กันจะเคยถูกสำรวจมาก่อนในประวัติศาสตร์ของศิลปะ จิตรกรมากมายล้วนต้องการที่จะตั้งคำถามเกี่ยวกับรอยพู่กันเมื่อมันได้กวัดแกว่งไปบนผิวผ้าใบ กิติก้องก็ยังเป็นอีกศิลปินที่ใช้ร่องรอยเหล่านี้เพื่อค้นคว้าไปถึงโครงสร้างทางความคิด สภาวะรอบตัว ความรู้สึก เช่นเดียวกับพลังงานที่เราเคยรับรู้ได้จากภาพวาดของเด็กๆ จากการเคลื่อนไหวพู่กันของสัตว์ หรือจะทั่งของนักกวีผู้ใช้พู่กันในการเขียนอักขระ


HOLD ON TO THAT PAPER AGAIN

6 เมษายน – 23 พฤษภาคม 2564

Sac gallery

SAC Gallery และ Ronewa Art Projects ภูมิใจเสนอ Hold on to That Paper Again นิทรรศการผลงานล่าสุดของ ทาชิ บราวน์เอน (Tashi Brauen) ศิลปินชาวสวิส-ทิเบตกับนิทรรศการเดี่ยวที่รวบรวมผลงานสองชุดเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยการสอดแทรกเทคนิคของทาชิที่สร้างสมดุลระหว่างการกระทำโดยเจตนาและรูปแบบที่เกิดขึ้นเอง

ผลงานของทาชิคือบทสนทนาระหว่างวัตถุและเรื่องราวในชีวิตประจำวันที่ตอบโต้กันไปมา ผ่านการแต่งแต้มอันละเอียดละออ ทาชิมองผลงานของเขามากกว่าแค่ศิลปะ แต่กลับมองลึกลงไปถึงผิวสภาพและโครงสร้าง สำหรับผลงานชุด Crack เลือกใช้สีสันสดใสเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้แก่ร่องรอยแตกหักที่เขาสร้างขึ้นลงบนพื้นผิวของกระดาษ บางส่วนได้ลวงตาให้คล้ายกับสายฟ้าที่พาดผ่านพื้นผิวของกระดาษ ในขณะที่บริเวณอื่นกลับดูคล้ายรอยพับธรรมดาๆ

Duเป็นชุดที่เกิดขึ้นมาจากข้อจำกัดของสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Coronavirus ในช่วงต้นปี 2564 ที่ทาชิได้ทดลองใช้วัสดุที่เขาพบภายในสตูดิโอในเมืองซูริค โดย Du เป็นนิตยสารที่เผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมของสวิสเซอร์แลนด์ในช่วงปี 1940 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทาชิเติบโตและสะสมนิตยสารเหล่านั้นด้วยตัวเอง ในการเคลื่อนไหวนี้ หน้านิตยสารคือวัตถุทางวัฒนรรมและผิวกระดาษเรียบๆ ธรรมดาในคราวเดียวกัน เทคนิคการพิมพ์แบบพื้นฐานของทาชิ เรียกร้องให้เกิดการควบคุมสมดุลและโอกาสจากความบังเอิญที่เห็นได้จากการฝึกฝนของศิลปิน ซึ่งเขาได้จัดวางสมการของกระบวนการนี้และชี้นำวัสดุด้วยความเคยชิน ผ่านเส้นสายหรือรูปร่างที่มีเอกลักษณ์และไม่สามารถคาดเดาได้

ใครที่มีโอกาสแวะเวียนไปแถวพร้อมพงษ์ก็ลองไป SAC Gallery กันดูได้ ที่นี่เค้ามีงานอยู่เรื่อยๆ ติดตามเพจเราไว้ได้เลย : )

การเดินทางสามารถมาได้หลายเส้นทาง โดย:

  • รถยนต์ส่วนตัว เข้าซอยสุขุมวิท 31 หรือ 39
  • รถไฟฟ้ามหานคร (BTS) ลงสถานีพร้อมพงษ์ ลงทางออกที่ 5
  • เรือด่วนคลองแสนแสบ ลงที่ท่าอิตันไทย ต่อมอเตอร์ไซค์

ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย 

  • Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
  • Instagram: @Zipevent
  • Website: www.zipeventapp.com
  • Twitter: @Zipevent
  • Facebook: @Zipevent

Comments

comments

Author

You only live once