เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยรู้สึกเคว้งคว้างกับอะไรบางอย่าง ซึ่งความเคว้งคว้างเนี่ยก็เหมือนกับการที่เราเดินทางอยู่ในความว่างเปล่า ไร้แผนที่หรือเข็มทิศ มาพร้อมกับความรู้สึกที่ไม่แน่นอน ไม่ปลอดภัย และความหวาดกลัวที่เข้ามาครอบงำในช่วงต่างๆ ของชีวิต ซึ่งเหมือนกับนิทรรศการ The Dance in Between ที่หยิบยกสภาวะเคว้งคว้างที่มนุษย์ต้องพบเจอมาเป็นงานศิลปะให้พวกเราได้ชมกัน
“เคว้งคว้าง” คือสภาวะหรือสถานภาพระหว่างสองสิ่ง สภาวะเช่นนี้คล้ายกับการเดินไปสู่ทะเลทรายอย่างไร้เข็มทิศ ท่ามกลางความว่างเปล่า ไม่มีสิ่งใดนอกจากทราย เราจึงรู้สึกหลงทาง ไม่แน่นอน และไม่ปลอดภัย ความหวาดกลัวอันท่วมท้นเข้ามาครอบงำเมื่อสภาวะเช่นนี้เกี่ยวข้องกับความทะยานอยาก ความฝัน การงาน และความสัมพันธ์ การระบาดของโควิด-19 ทำให้เราเข้าสู่สภาวะเคว้งคว้างด้วยวิถีทางต่างๆ แทนที่จะกังวลในสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ ทำไมเราจึงไม่เรียนรู้ที่จะชื่นชอบในสิ่งที่เราไม่รู้?
นิทรรศการ The Dance in Between เป็นนิทรรศการที่ยกย่องสภาวะเคว้งคว้างซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้พบเจอ และบางครั้งก็มักจะถูกมองข้าม ในช่วงขณะที่ช่วงเวลาแห่ง “พื้นที่สีเทา” อาจจะทำให้หลายๆ คนอึดอัดใจ นิทรรศการนี้ศิลปินอยากจะเชิญชวนให้ผู้ชมได้มีปฏิสัมพันธ์กับความคลุมเครือของ “สิ่งที่ไม่ดำและไม่ขาว” ไว้อย่างสนุกสนานและแฝงข้อคิดไว้
ฮิโรโกะ หงษ์หยก (Hiroko Hongyok) ที่เป็นศิลปินเจ้าของผลงานในนิทรรศการนี้เติบโตมากับคำสอนของนิกายเซน วิธีการของเธอได้แรงบันดาลใจจากสุนทรียะในอุดมคติของญี่ปุ่นที่เรียกว่า “Ma” (間) หรือ “มะ” อันหมายถึง “ที่ว่างระหว่างสองสิ่ง ความเงียบที่อยู่ระหว่างเสียง ความนิ่งระหว่างการเคลื่อนไหว” เธอจึงนำเสนอคำว่า “มะ” (間) ผ่านรูปทรงนามธรรมที่เล่นกับขอบเขตแห่งการแบ่งขั้วอย่างตั้งใจ บินวนระหว่างการขยายและการหดตัว การเปิดเผยและการซ่อนเร้น ภายในและภายนอก การเคลื่อนไหวและความนิ่ง เฉกเช่นการเต้น ฮิโรโกะ เชิญให้ผู้ชมค้นพบกับสภาวะ “เคว้งคว้าง” และมีความสุขกับทุกชั่วขณะของชีวิต
ฮิโรโกะ หงษ์หยก เธอเป็นคนที่มักจะสงสัยและอยากรู้ในเรื่องการ ปะติดปะต่อของพื้นที่ที่ทำให้เธอได้เห็นถึงความตึงเครียดระหว่างการเปิดเผยและการปกปิด การขยายและการหดตัว เธอเลยพยายามสร้างพื้นที่แห่งนามธรรมขึ้นมาเพื่อสื่อถึงความเชื่อมโยงกันในของทุกสิ่ง เธอมักจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากปรัชญาแห่งสุนทรียะญี่ปุ่นในแง่ที่ว่าศิลปะเป็นพาหนะที่จะพาไปสู่ประสบการณ์ทางปรัชญาว่าด้วยความจริงในธรรมชาติ ฮิโรโกะแสวงหาวิถีทางอันเหมาะเจาะกับพื้นที่ที่ขยายออกไปเพื่อการไตร่ตรอง
หลังจากที่เธอได้จบการศึกษามาจากวิทยาลัยแห่งวิคตอเรียนของเมืองเมลเบิร์นทางด้านวิจิตรศิลป์ เธอก็ได้รับคัดเลือกในหมู่บัณฑิตที่จบจากสถาบันที่มีชื่อเสียงทั่วรัฐวิคตอเรีย ให้จัดแสดงนิทรรศการกลุ่มเพื่อแสดงความสามารถของศิลปินรุ่นใหม่ที่น่าจับตามองในปีนั้น ซึ่งแกลเลอรีท้องถิ่นแห่งหนึ่งชื่นชอบในการใช้รูปทรงที่ไม่เหมือนใครในงานจิตรกรรมของเธอเป็นอย่างมาก จึงเสนอให้เธอจัดนิทรรศการเดี่ยวเมื่อปีที่แล้ว แต่ด้วยสถานการณ์อันคาดไม่ถึงจากการระบาดของโควิด-19 อาจทำให้เธอเดินทางกลับไปออสเตรเลียไม่ได้ ในระหว่างนี้เธอมีสตูดิโอเล็กๆ อยู่ที่กรุงเทพฯ จึงสามารถสร้างงานจิตรกรรมขนาดใหญ่เพื่อให้เธอได้ทดลองและไตร่ตรองเมื่อได้สร้างงานที่เกี่ยวกับรูปทรงนามธรรม ถือเป็นความลงตัวที่ “The Dance in Between” นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของเธอที่ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก เป็นทั้งผลลัพธ์และบทกวีแด่ช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนนี้
- วันนี้ – 14 มีนาคม 2564
- River City Bangkok ห้อง 248 ชั้น 2
- เข้าชมฟรี
- วันจันทร์-วันศุกร์ 11.00 น.-20.00 น.
- วันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 10.00 น.-20.00 น.
ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ยังคงเปิดทำการตามปกติ พร้อมมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ โควิด-19 อย่างเคร่งครัด เพราะความปลอดภัยของท่านสำคัญยิ่งสำหรับเรา
ใครที่อยากรู้ว่าฮิโรโกะ หงษ์หยกต้องการจะสื่อถึงความเคว้งคว้างของมนุษย์ ผ่านผลงานศิลปะของเธอเองจะเป็นอย่างไร ก็ไปเจอกันได้ที่นิทรรศการ The Dance in Between เลย แต่ถ้าใครไม่อยากพลาดนิทรรศการศิลปะดีๆ แบบนี้ ก็อย่าลืมติดตามซิปอีเว้นท์ไว้ด้วย เรายังมีนิทรรศการงานศิลปะมาแบ่งให้เพื่อนๆ ชาวซิปอีกมากมายเลย
ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย
- Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
- Instagram: @Zipevent
- Website: www.zipeventapp.com
- Twitter: @Zipevent
- Facebook: @Zipevent