กลับมาอีกครั้งกับนิทรรศการกลุ่มอย่าง THE MACRO MOVEMENTS OF MATERIAL II ที่เอส เอ ซี แกลเลอรี และ โรงแรม โรสวูด กรุงเทพฯ ที่ภูมิใจนำเสนอให้พวกเราได้ชม นิทรรศการที่ถูกสร้างสรรค์โดย ศิลปินไทยอย่าง ธนธร สรรพกิจจำนง อัฐพร นิมมาลัยแก้ว และวีระพงศ์ แสนสมพร พร้อมด้วยศิลปินจากญี่ปุ่น three ซึ่งก่อนหน้านี้พวกเขาได้จัด THE MACRO MOVEMENTS OF MATERIAL I ระบบเศรษฐกิจในช่วงนั้นกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว การอัดฉีดเงินตราและการค้าเสรีโลกได้โคจรพร้อมเพรียงกับการถดถอยของวัฒนธรรมประเพณีและสังคมหลากหลายแขนง
นิทรรศการในครั้งนี้ 4 ศิลปินได้ถูกเล่าถึงการเดินทางของวัตถุไปสู่วิถีชีวิตของผู้คน ผ่านการมองเห็นและรับรู้ถึงผลกระทบต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อมที่น้อยนิด หากแต่ตัวตนนั้นเองที่ซับซ้อนไม่ต่างจากสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นและถูกให้ค่า มนุษย์เองได้มีการเชื่อโยงอย่างลึกซึ้งกับธรรมชาติมาโดยตลอด ทำให้ผู้คนเริ่มที่จะทำการเชื่อมโยงกับวัตถุ รวมไปถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง ในขณะเดียวกันวัตถุอาจจะเป็นสิ่งที่ลวงหลอกไม่สามารถจับต้องได้ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ธนธร สรรพกิจจำนง ได้สร้างสรรค์ผลงานชุดใหม่โดยการใช้เทคนิคการพิมพ์ดีดอันซับซ้อนไปพร้อมกับการใช้วัสดุที่หลากหลาย ในครั้งนี้เขาได้เลือกใช้ลอตเตอรี่ที่ถูกรางวัลในการสร้างสรรค์ภาพของเหล่าเด็กกำพร้า พร้อมด้วยการสอดแทรกคำสอนและคติชีวิตเพื่อให้เป็นเครื่องเตือนใจและเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตต่อไป
งานศิลปะจากกลุ่มศิลปินจากญี่ปุ่นอย่าง Three เป็นการรวบรวมผลิตภัณฑ์สินค้าที่ดูเหมือนกับทำขึ้นสำหรับเด็ก แต่งานเหล่านั้นถูกสอดแทรกไปด้วยเนื้อหาที่ล่อแหลม ของเล่นนับหลายร้อยชิ้นถูกหลอมเชื่อมจนสนิทกันคือความโกลาหล และการผ่ากลางทำให้เห็นถึงการอัดแน่นไปด้วยลักษณะนิสัยหลากหลายรูปแบบที่ถูกบรรจุใส่ห่อพร้อมจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
ซึ่งการบริโภคที่ว่าจะเป็นตัวที่หล่อหลอมอนาคตของผู้ใหญ่ในอนาคต ในบางครั้งวัตถุได้ถูกใช้ในเชิงสัญลักษณ์ และถูกทิ้งเมื่อคุณค่าได้เลือนหายไป ผู้คนต้องการวัตถุเพราะว่าพวกมันได้มาช่วยเติมเต็มความช่างสงสัยของมนุษย์ ซึ่งความสงสัยเพียงอย่างเดียวอาจจะเป็นเพียงแค่การแสดงออกของอิสรภาพที่ดูไม่ค่อยมีความหวัง
ผลงานผ้าที่ถูกเล่าผ่านการทับซ้อนกันจนสร้างมุมมองที่คล้ายกับภาพสามมิติที่ อัฐพร นิมมาลัยแก้ว ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาจากการปราณีตลงสี จัดวางและซ้อนทับผ้าแต่ละผืนจนเกิดภาพลวงตา ตัวงานที่แผ่วเบาได้สร้างพื้นที่ว่างไว้เพียงพอสำหรับการหาจุดในการเชื่อมโยงระหว่างผู้พบเห็นและตัวศิลปิน หากได้ทำการคิดและไตร่ตรอง วัตถุยังช่วยสร้างโอกาสในการปรับสมดุลยภาพทางสติปัญญา กายภาพ และจิตใจได้อีกด้วย หากเรียนรู้ที่จะพึ่งพาซึ่งกันและกัน
วีระพงศ์ได้สร้างผลงานศิลปะจากไม้ ที่ได้ขีดเส้นเชื่อมโยงมนุษย์และธรรมชาติผ่านสายน้ำที่เกิดจากร่องไม้ การดิ้นรนที่จะมีชีวิตรอดของมนุษย์มีให้เห็นทั่วไปในสังคม แต่ความเชื่อมโยงระดับชีวภาพกับแหล่งน้ำยังคงไม่มีความเปลี่ยนแปลง ความมั่นคงของไม้สอดประสานกับสีที่เป็นประกาย ทำให้เห็นถึงความเป็นจริงดังกล่าวในขณะที่ใช้วัสดุอื่นทำหน้าที่เชื้อเชิญให้สำรวจแนวคิดที่สำคัญต่อโลก
แม้ว่าชีวิตประจำวันยังคงยึดติดอยู่กับกิจวัตรในรูปแบบเดิมๆ องค์ประกอบพวกนั้นอาจจะเอื้อให้เกิดการวิเคราะห์ปัญหาที่ทับซ้อนกันอยู่ พร้อมกับการหาเหตุผลในศีลธรรม วัตถุเหล่านั้นอาจจะทำให้คนเราพร่ามัวและยากต่อการรับรู้ความรู้สึกของคนรอบข้าง โดยในความเป็นจริงแล้วหลายๆ คนใช้ชีวิตหลีกหลีผลกระทบจากการกระทำของตัวเอง ดยงานโลหะของวีระพงศ์แสดงให้เห็นถึงจุดดังกล่าวผ่านการบันทึกความทรงจำ ประสบการณ์ ความรู้สึก และความชำนาญลงไป
- 2 ธันวาคม 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564
- ชั้น 3 โรงแรม โรสวูด กรุงเทพฯ
- บริเวณ Art Connection (พื้นที่ทางเชื่อมระหว่าง BTS เพลินจิต ทางออก 1)
ถ้าอยากรู้ว่าการเดินทางของวัตถุไปสู่วิถีชีวิตของผู้คนที่ศิลปินได้ถ่ายทอดออกมาให้พวกเราได้ชมกันจะเป็นอย่างไร ก็ไปพบกันได้ที่นิทรรศการนี้ได้เลย และรอติดตามพวกเราชาวซิปอีเว้นท์ได้เลยว่ารอบหน้าจะนิทรรศการอะไรดีๆ มาแบ่งปันกันอีกก 🙂
ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย
- Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
- Instagram: @Zipevent
- Website: www.zipeventapp.com
- Twitter: @Zipevent
- Facebook: @Zipevent