ขอซาวน์เสียงคนรักงานศิลปะหน่อยยยยย!? … ขยับมาเอาใจสายศิลปะกันบ้างสำหรับอาทิตย์นี้ที่ใครกำลังมองหางานอาร์ตเพื่อไปเสพศิลป์กัน เราขอนำเสนอ VS Gallery ที่ได้ตั้งปณิธานเอาไว้ว่าจะเป็นแกลเลอรี่ทางเลือกที่ตั้งอยู่ในเวิ้งศิลปะ N22 ซอยนราธิวาส 22 โดยมีเป้าหมายเพื่อแสดงงานศิลปะของคนชายขอบและนักเขียนโดยเฉพาะเจาะจง

และขณะนี้แกลเลอรี่แห่งนี้กำลังมีนิทรรศการที่เกิดขึ้นอยู่ถึง 2 นิทรรศการที่เราอยากเชิญชวนให้ได้ไปเดินชมกัน!!


experienced โดย tua pen not

12 กันยายน – 29 พฤศจิกายน 2020

VS Gallery มีความภูมิใจขอนำเสนอ Experienced/ผ่านประสบการณ์ นิทรรศการศิลปะโดย tua pen not หรือ พิชากร ชูเขียว ศิลปินหนุ่มจากเชียงใหม่ที่สร้างผลงานศิลปะแนว Abstract มาโดยต่อเนื่อง

โดยคอลเลคชั่นใหม่ของ tua pen not ใช้ภาษาภาพนามธรรมบอกเล่าถึง การบันทึกบทเรียนที่ได้รับในชีวิตผ่านบาดแผลและการเยียวยา สะท้อนถึงช่วงเวลาเติบโตของปัจเจกบุคคลที่ต้องถูกโบยตีและปลอบประโลม ทิ้งริ้วรอยภายนอกให้ผู้อื่นได้พบเห็นร่องรอยสู่ความคิดอ่านภายใน

และด้วยพื้นฐานของนักซ่อมสร้างที่ tua pen not เป็นผู้สร้างเฟอร์นิเจอร์จากการคัดเลือกของเก่ามาดัดแปลง รวมไปถึงนำเสื้อผ้ามาเพ้นต์ทับเพื่อจำหน่ายแบบพาณิชย์ศิลป์ ส่งผลให้ศิลปินพัฒนาเทคนิคใหม่สำหรับภาพ Abstract Expressionism ซึ่งอาจไม่คุ้นตาสำหรับแวดวงศิลปะไทย

VS Gallery

โดย tua pen not นำวัสดุก่อสร้างสำหรับซ่อมแซมพื้นผิวและโครงสร้างอาคารอย่างสีโป๊ว (Putty) ยาวแนว (Grout) และ อีพ็อกซี (Epoxy) มาใช้เป็นเป็นวัสดุในการวาด เพื่อรับใช้แนวความคิดของคอลเลคชั่นนี้ด้วย

ในทางองค์ประกอบศิลป์ tua pen not ละทิ้งเส้นรูปฟอร์มที่ชัดเจนตามความเคยชินในคอลเลคชั่นที่ผ่านมาเกือบสิบปีของตน และหันมาอธิบายที่ความรู้สึกข้างในที่อธิบายที่ซับซ้อนขึ้น โดยใช้การขูดเซาะทำลายและซ่อมแซมใหม่หลายชั้นจนเป็นชิ้นงาน รวมถึงนำวัสดุแทนกระจกเงามาสื่อถึงการระลึกครุ่นคิดถึงความทรงจำที่ผ่านไป

Radical Faeries โดย ANMOM

12 กันยายน – 29 พฤศจิกายน 2020

VS Gallery

Radical Faeries ผลงานคอลเลคชั่นใหม่ของ ANMOM หรือสิทธิพันธ์ ต่ายทรัพย์ ศิลปิน LGBT ที่นำเสนอศิลปะ Portrait ในสไตล์ Queer gaze มากว่าทศวรรษ

โดย ANMOM ปฏิเสธขนบในการวาดภาพเหมือน Superheroes บุคคลในประวัติศาสตร์ หรือภาพวาดคลาสสิคตะวันตก ด้วยมุมมองและทิศทางกำกับศิลป์ซึ่งถูกครอบงำโดยสายตาศิลปินชาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดผ่านการศึกษาศิลปะแต่ดั้งเดิมเช่นเดียวกับศิลปะทุกแขนง

ภาพ Portrait นั้นถูกใช้เป็นเครื่องมือทางสังคม และการเมืองเพื่อเรียกร้อง ยื้อแย้ง และทวงถามสิทธิและอัตลักษณ์ของมนุษย์แต่ละกลุ่มเสมอ พระเยซูหรือบุคคลในตำนานอื่นๆ เคยถูกวาดเป็นคนผิวดำ เป็นคนละติน เป็นคนเอเชีย

VS Gallery

ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายในการเปลี่ยนมุมมองของผู้ชมให้เห็นความสำคัญของกลุ่มคนที่เคยถูกมองข้ามเป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm) ของผู้ชมมายืนอยู่จุดเดียวกับผู้สร้าง เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มต้นคิดและรู้สึกในทางเดียวกัน

มากไปกว่านั้นในนิทรรศการ Radical Faeries ศิลปิน ได้นำตัวละครในวรรณกรรมไทย และตะวันตกมาถ่ายทอดด้วยสายตา Queer gaze ด้วยความปรารถนาที่ศิลปินจะหาพื้นที่ทางอัตลักษณ์ให้ตัวเอง และเพื่อนพ้องได้ยืนหยัด โดยไม่ต้องประนีประณอมหรือลดทอนความเป็นตัวตนจากสายตาคนรอบข้าง

แค่ได้ยิน และอ่านเรื่องราวของคอนเซ็ปต์นิทรรศการทั้ง 2 แล้วยังรู้สึกว่าน่าไปขนาดนี้…เราบอกได้คำเดียวเลยว่าห้ามพลาดกันเลยทีเดียว! อย่างไรก็ตามชาวซิปอีเว้นท์ก็ลองหาวันและบุ๊กเวลาไปให้ได้เลยนะ เพราะนิทรรศการทั้งสองนั้นจัดยาวถึงเดือนพฤศจิกายนกันเลย ว่างๆ ก็ไปเดินชมกันนะทุกคน 🙂


ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย 

  • Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
  • Instagram: @Zipevent
  • Website: www.zipeventapp.com
  • Twitter: @Zipevent
  • Facebook: @Zipevent

Comments

comments

Author

Nothing really goes away