Trending Now

PLAY FROM HOME โครงการที่สนับสนุนการ “เล่น” อย่างสร้างสรรค์ โดย เทศกาลละครนานาชาติสำหรับเด็กและเยาวชนกรุงเทพฯ (BICT Fest) เริ่มเฟส 2 เดือนสิงหาคมนี้


ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ ความไม่มั่นคงทางการเมือง และความไม่แน่นอนของโลกหลังการเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ ทุกบ้านโดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กๆ ต่างก็มีความกังวลในการออกจากบ้าน โรงละครและหอศิลป์หลายแห่งก็จำเป็นต้องปิดอย่างไม่มีกำหนด โดยสถานการณ์เช่นนี้ทำให้ศิลปินหลายคนได้พยายามหาวิธีการใหม่เพื่อสร้างสรรค์และนำเสนองานให้แก่ผู้ชมเด็กและเยาวชนผ่านช่องทางออนไลน์ ในขณะที่ศิลปินบางคนก็ได้คิดค้นงานใหม่ ที่พยายามนำเสนอโดยให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์เหมือนเป็นการชมการแสดงสดผ่านหน้าจอ

หากจะว่าไปผลกระทบจากโรคโควิด-19 ได้ทำให้บรรดาผู้ที่ทำงานละครสำหรับเด็กและเยาวชนเห็นโลกของการทำงานที่ไม่ถูกจำกัดด้วยระยะทางหรือพรมแดน และพัฒนาทักษะในการประดิษฐ์ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมถึงรับมือกับสถานการณ์เฉพาะหน้าให้ได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่ายังมีข้อถกเถียงมากมายเกี่ยวกับวิธีการในการหาทรัพยากรให้เพียงพอและพัฒนางานศิลปะการละครสำหรับเด็กและเยาวชนร่วมกันระหว่างพื้นที่ต่างๆ ที่มีบริบทและวัฒนธรรมต่างกัน และเรื่องนี้ก็ยังส่งผลไปถึงแนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่ อายุผู้ชม และการเข้าร่วมชมที่เปลี่ยนไปอย่างกว้างขวางตั้งแต่ในสถาบันต่างๆ อย่างโรงเรียน โรงละคร หรือสถานที่จัดงานชุมนุมเป็นสถานที่ชุมชน

ซึ่งในเทศกาลละครนานาชาติสำหรับเด็กและเยาวชนกรุงเทพฯ BICT Fest (บิ๊กท์เฟสท์) จึงได้มีการจัดเสวนานานาชาติออนไลน์ PFH International Webinar ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ PLAY FROM HOME ขึ้นมา เพื่อเปิดเป็นพื้นที่ในการสนทนาเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสของการละครให้สำหรับเด็กและเยาวชนมากขึ้น

ทั้งช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม หลังวิกฤตการณ์โรคระบาดนี้ ยังเปิดโอกาสให้โปรดิวเซอร์ ศิลปิน นักจัดการศิลปะ นักการละคร นักการศึกษา และผู้ออกแบบนโยบายที่เกี่ยวข้องจากแต่ละประเทศได้ร่วมพูดคุยและหาทางออกว่าเราจะปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ยังไง โดยที่ยังคงความสนุกสนานและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นหัวใจของการทำละครสำหรับเด็กและเยาวชนเอาไว้

ซึ่งจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการเสวนานาชาติในครั้งนี้ มุ่งหวังให้การสนทนาได้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ชม ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ผู้ที่ต้องทำงานกับเด็กและเยาวชน รวมไปถึงศิลปินและผู้เกี่ยวข้อง ได้มีพลังที่จะเปลี่ยนวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ให้เป็นโอกาส ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในโลกยุคหลังโควิด-19 นี้ได้

หัวข้อที่ 1 ความสำคัญของ “การเล่น” ในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญวิกฤต

The Importance of Play for Children in the time of Crisis

การเล่นเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้และการเติบโตของเด็ก มีความจำเป็นในทุก ๆ จังหวะชีวิตของเด็กทุกคน และมีผลอย่างมากต่อการพัฒนาทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา รวมไปถึงความสุขในชีวิตของเด็ก ในการเสวนาหัวข้อนี้ จะเป็นการพูดคุยถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเล่น, ความเป็นเด็ก และ บ้าน ว่าเราจะยังเล่นอย่างสร้างสรรค์ในช่วงเวลาเช่นนี้ได้อย่างไร การเล่นที่บ้านควรเป็นอย่างไร และผลที่เกิดจากเปลี่ยนพื้นที่สำหรับการเล่นจากพื้นที่จริงเป็นพื้นที่ออนไลน์

หัวข้อที่ 2: เทศกาลละครสำหรับเด็กและเยาวชนควรมีบทบาทอย่างไรในช่วงล็อคดาวน์

The Role of Festivals During Lockdown

Play From Home

การล็อคดาวน์ทำให้รวมตัวกันและทำกิจกรรมทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมไม่ได้จริงหรือ ในช่วงเวลาแบบนี้ ก็ยังมีผู้อำนวยการเทศกาลและผู้จัดงานละครสำหรับเด็กและเยาวชนหลายคนที่ได้มองหาและสร้างสรรค์แพลตฟอร์มโดยใช้นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้ศิลปินได้พบเจอและนำเสนองานศิลปะต่อผู้ชม และผลที่ได้รับก็คืองานบนแพลตฟอร์มใหม่ๆ เหล่านี้ได้เข้าถึงผู้ชมกลุ่มใหม่และก่อให้เกิดเป็นกลุ่มหรือชุมชนที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ ได้สัมผัสกับศิลปะและวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ต้องพิจารณาและเป็นคำถามของการเสวนาในหัวข้อนี้ก็คือ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการทำโครงการบนแพลตฟอร์มออนไลน์มีอะไรบ้าง และเทศกาลละครสำหรับเด็กและเยาวชนต่างๆ ควรต้องปรับการทำงานอย่างไร อะไรคือความท้าทาย โอกาส หรือรูปแบบการทำงานใหม่ที่เกิดขึ้นมาในสถานการณ์ช่วงนี้บ้าง 

หัวข้อที่ 3 พื้นที่สำหรับเล่นในช่วง “New Normal”: อนาคตของเทศกาลละครนานาชาติสำหรับเด็กและเยาวชน 

The ‘New Normal’ Playground: The Future of International TYA Festivals

Play From Home

หลังเกิดโรคระบาด Covid-19  อนาคตของเทศกาลและละครสำหรับเด็กและเยาวชนก็คงจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป สำหรับคนทำงานแล้ว ยังมีอีกหลายประเทศที่อยู่ระหว่างการล็อคดาวน์ กักตัว หรือเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้ผู้จัด ศิลปิน และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจำเป็นต้องตั้งสติและพยายามทำความเข้าใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และมาครุ่นคิดว่าจะส่งผลอย่างไรต่ออนาคตของวงการศิลปะ เทศกาลศิลปะ และ สังคมในภาพรวมบ้าง เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงมากพอแล้ว เทศกาลและการจัดงานศิลปะ ควรจะเป็นไปในทิศทางใด หรือการทำเทศกาลออนไลน์เป็นอนาคตของวงการ และ เทศกาลศิลปะจะท้าทายข้อจำกัดและปรับตัวกับโลก “New Normal” ได้อย่างไร

หัวข้อที่ 4: Playing on Empty: การสร้างงานในช่วงวิกฤต

Playing on Empty: Creating New Work in the time of Crisis

Play From Home

ผู้เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อนี้เป็นศิลปินจากหลากหลายชาติ ที่จะมาสนทนากันเรื่องความสำคัญของการใช้เทคโนโลยี จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์มาสร้างผลงานในช่วงเวลาเช่นนี้ โดยทุกคนจะมาแบ่งปันประสบการณ์การทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส แรงบันดาลใจ แรงผลักดัน ความอึดอัด รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ที่เกิดจากโรคโควิด-19 นี้ ว่ามีผลต่อการทำงานของศิลปินแต่ละคนในบริบทของประเทศนั้น ๆ กันอย่างไรบ้าง สามารถสื่อสารเชื่อมโยงกับผู้ชมและมีส่วนสนับสนุนให้ผู้ชมได้ผ่านพ้นสถานการณ์ช่วงนี้ไปได้อย่างเข้มแข็งขึ้นหรือไม่ ศิลปินแต่ละท่านสามารถดึงให้เด็ก ๆ มีความสนใจ หรือ ร่วมมือกับการแสดงในแพลตฟอร์มแบบใหม่นี้ได้อย่างไร และมีทางที่จะทำให้การแสดงผ่านช่องทางนี้ ได้รับประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับการรับชมการแสดงแบบสดมากขึ้นได้อย่างไร

เริ่มกิจกรรม Play From Home ตลอดทั้งเดือนสิงหาคมนี้
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/bictfest/


ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย 

  • Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
  • Instagram: @Zipevent
  • Website: www.zipeventapp.com
  • Twitter: @Zipevent
  • Facebook: @Zipevent

Comments

comments

Author