จ่อหัวข้อมาขนาดนี้ อาจจะทำให้ใครหลายๆ คนเกิดความสงสัยอยู่เป็นนัยๆ ที่ว่า Hyper Relevant Skill คือทักษะแขนงไหนของการใช้ชีวิต? ถ้าหากให้พูดกันตามตรง ทักษะชนิดนี้เป็นทักษะที่เกิดขึ้นมาใหม่เพื่อจะช่วยให้เราอยู่รอดในโลกของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในทางกลับกันถ้าให้พูดถึงทักษะของการใช้ชีวิต หรือทักษะการทำงานแน่นอนว่าผู้คนย่อมรู้จักฮาร์ดสกิล และซอฟต์สกิล กันอยู่แล้ว

แต่ตั้งแต่การผันเปลี่ยนของสังคม จุดหนึ่งที่เรามองเห็นได้ชัดเจนคงหนีไม่พ้นการระบาดของโรคอุบัติใหม่ที่ส่งผลกระทบไปทั่วทั้งโลก ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ในแต่ละอุตสาหกรรม การใช้ชีวิต รวมไปถึงวิธีการเอาตัวรอด อีกทั้งยังยากที่จะปฏิเสธว่ามนุษย์เราเองก็ต้องมีการปรับตัวทั้งในเรื่องของการอยู่รอด ชีวิตประจำวัน และการทำงาน เหมือนคำกล่าวที่ว่า

“Hard Skills เป็นสกิลที่ทำให้คุณได้สัมภาษณ์งาน แต่ถ้าจะให้รักษางานจนกระทั่งเจริญรุ่งเรืองต่อไปได้ จำเป็นต้องมี Hyper Relevant Skill ในการปรับตัวด้วย” 


Hyper Relevant Skill คือ ความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน กล่าวคือถ้าใครมีทักษะที่สามารถยืดหยุ่นได้ก็จะถือว่าสามารถอยู่รอดในยุคปัจจุบันนี้ได้ เพราะอย่างที่บอกไปตอนแรกว่า…โลกนี้อยู่ยากขึ้นทุกวัน

Hyper Relevant Skill

4 ทักษะที่เป็นที่พูดถึงและน่าจับตามองในระดับโลก

  1. หมวด Mindset หรือวิธีการมองโลก รับรู้ และทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย Agility Mindset, Outward Mindset และ Growth Mindset
  2. ทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหา (Problem Solving, Decision Making) ทักษะนี้ต้องมาในรูปแบบใหม่ ต่างจากที่เราเคยรู้จัก ด้วยความหลากหลายของข้อมูลและบริบทสังคมในปัจจุบัน
  3. ทักษะการคิดวิเคราะห์​ (Critical Thinking) ในยุคปัจจุบันควรเป็นการวิเคราะห์บนพื้นฐาน data science ให้มากที่สุด
  4. การทำงานบนความแตกต่าง (Working with Diversity) สิ่งนี้คือทักษะที่จะนำมาซึ่งผลงานที่แปลกใหม่และท้าทายกว่าเดิม เพราะสภาพแวดล้อมที่ประกอบไปด้วยความแตกต่างจะนำมาซึ่งวิธีคิดและการทำงานแบบใหม่ที่เราไม่คุ้นเคย

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ที่ทางเราได้มีการคาดการณ์และเขียนถึงเรื่องราวของกระแสเทรนด์โลกไว้ในช่วงก่อนต้นปี เรื่องเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2020 (สามารถหาอ่านได้ทาง อัปเดต 4 เทรนด์งานอีเว้นท์แห่งปี 2020 ) ที่มีการสันนิษฐานเอาไว้หลากหลายในเรื่องความเป็นไปในอนาคตของกระแสสังคม ที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยีจะมีบทบาทมากขึ้นกับชีวิตมนุษย์ นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวก รวมไปถึงสังคมของผู้สูงอายุที่จะเพิ่มมากขึ้น

Hyper Relevant Skill

แต่การคาดเดาเหล่านั้นกลับตาลปัตรไปหมดเพราะอยู่ดีๆ ก็เหมือนถูกโลกทำร้าย เทรนด์ของโลกก็เปลี่ยนไปกว่าเดิม ส่งผลกระทบให้มนุษย์ต้องดิ้นรนปรับตัว และสกิลที่จะมาเป็นตัวชี้วัดว่าใครจะเป็นผู้อยู่รอดในสังคมก็คือ HyperRelevant Skill นั่นเอง

ซึ่งคำศัพท์ของทักษะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้เป็นปรากฎการณ์ที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในวงการของการศึกษา เพราะมหาวิทยาลัยจะพร้อมรองรับคนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็ก ถึงวัยหลังเกษียณ จะมีการเรียนการสอนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ผู้สนใจ ใฝ่รู้ หรือ แม้แต่ผู้ที่ทำงานอยู่แล้วขาดวุฒิก็จะมาเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยได้ เพื่อหาสิ่งที่เหมาะสมกับตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องมาเป็นนักศึกษาแบบเดิมๆ คือ 4-5 ปี ต่อจากนี้ ผู้สนใจจะเข้ามาเรียนเมื่อสนใจ ได้ทักษะและก็ออกไปทำงาน เมื่อทำงานไปแล้วเกิดความคิดว่าต้องการทักษะเพิ่มขึ้น ก็สามารถกลับมาเรียนเพิ่มได้เรื่อยๆ เป็น Lifetime University คือ “มหาวิทยาลัยเพื่อให้การเรียนรู้ตลอดชีวิต”

ตรงนี้ความร่วมมือเป็นพันธมิตรกันระหว่าง มจธ และ SEAC มีขอบเขตภายใต้โครงการ “สร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)” เป็นระยะเวลา 3 ปี ระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน 2563 – 17 มิถุนายน 2566 โดยในปีแรกจะมีโครงการนำร่องภายในประเทศ อาทิ ร่วมมือกันออกแบบคอร์สเพื่อสร้างกลุ่มอาชีพใหม่ป้อนภาคการศึกษา

นอกจากนี้…ยังมีแผนการพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรด้าน Business Mindset ให้กับบุคลากรสายวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ซึ่งทักษะและแนวคิดด้านธุรกิจเป็นส่วนสำคัญที่ควรถูกเติมเต็มให้กับกลุ่มบุคลากรสายนี้ รวมทั้ง ยังมีแผนการใช้หลักสูตรออนไลน์สำหรับจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนขนาดใหญ่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการจัดการห้องเรียนภายใต้นโยบาย Social Distancing เป็นต้น

ซึ่งทั้งนี้เราก็ต้องมาจับตาดูกันแบบใกล้ชิดว่าในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีการปรับตัวอย่างไร จะควบคุมความไม่แน่นอนได้หรือไม่กับยุคสมัยปัจจุบันนี้ ซึ่งบอกได้คำเดียวเลยว่าอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวและยืดหยุ่นได้รวดเร็วนั้นจะสามารถอยู่รอดได้ในโลกใบนี้นั่นเอง


ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย 

  • Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
  • Instagram: @Zipevent
  • Website: www.zipeventapp.com
  • Twitter: @Zipevent
  • Facebook: @Zipevent

Comments

comments

Author

Nothing really goes away