ย้อนกลับไปเมื่อปี 2018 กระแสเทรนด์อย่าง JOMO และ FOMO ต่างเป็นที่ถูกพูดถึงในละแวกของวงการอุตสาหกรรมต่างๆ เพราะสิ่งนี้ถูกเรียกว่าเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภค ด้วยความที่ผู้บริโภคมีความหลากหลายจึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องศึกษาเพื่อดูแนวโน้มความเป็นไปของธุรกิจ ทำให้เทรนด์นี้ยังคงกลายเป็นเทรนด์หลักในการใช้เพื่อดึงดูด และโปรโมทตัวงานอยู่เรื่อยมา
เหมือนที่ดั่งผู้ประกอบการรู้ว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และยิ่งจากสถานการณ์ที่โลกกำลังเผชิญอยู่ ความต้องการของผู้บริโภคจึงยิ่งทวีความผันผวนเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว จากสิ่งหนึ่งกลายต้องปรับเป็นสิ่งใหม่ กฎของการรักษาระยะห่าง การดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อแบรนด์ไปในทิศทางใหม่ ซึ่งในทางอุตสาหกรรมงานอีเว้นท์สิ่งนี้ถูกเรียกว่า ‘อีเว้นท์ในรูปแบบใหม่’
วันนี้เราจึงจะพามาพูดถึงกระแสเทรนด์อย่าง JOMO และ FOMO ว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเหล่านี้ส่งผลกระทบยังไงกับอีเว้นท์รูปแบบใหม่บ้าง
จากสถิติจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากร 69 ล้านคน อายุเฉลี่ย 40 ปี เนื่องจากไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย หากดูโปรไฟล์ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกลุ่มแอคทีฟมีจำนวน 57 ล้านคน เป็นสัดส่วน 82% ของประชากร ทุกวันนี้คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 9 ชั่วโมง 11 นาที
JOMO
Joy of Missing Out หรือที่แปลว่า ความสุขที่ได้พลาดบางสิ่งบางอย่างไป
JOMO เป็นขั้วตรงข้ามที่เรียกว่าเป็นพฤติกรรมถอยห่างจากโซเซียลมีเดีย เพื่อเอาเวลาไปโฟกัสกับกิจกรรมรอบตัวมากขึ้น ไม่ยึดติดโซเชียล แต่ไม่ได้หมายความว่าคนเหล่านี้ไม่ได้ใช้สื่อออนไลน์ แต่เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีที่ไม่กระทบกับการใช้ชีวิตมากนัก
วิธีการสร้างสื่อสำหรับบุคคลที่มีพฤติกรรมถอยห่างจากโซเชียล
เน้น Multitasking ที่ยังสามารถทำกิจกรรมอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย สื่อที่นิยมนำมาใช้กับพฤติกรรมถอยห่างจากโซเชียลก็คือ Audio หรือ Podcast ซึ่งจะไม่ได้เป็นการเอาตัวเองไปจดจ่ออยู่กับหน้าจอเพียงอย่างเดียว เพราะสามารถเลือกฟัง Content ตามหัวข้อที่ต้องการได้อย่างอิสระ และทำสิ่งอื่นๆ รอบตัวควบคู่ไปได้นั่นเอง
FOMO
Fear of Missing Out แปลว่า ความกลัวที่จะพลาดบางสิ่งบางอย่าง
หรือที่รู้จักกันว่า “สังคมก้มหน้า” นั่นเอง คนที่มีพฤติกรรมนี้มักจะกลัวการตกเทรนด์ ตกข่าวที่กำลังเป็นประเด็นบนโลกอินเทอร์เน็ต เสพติดข่าวสารทางโซเชียลมีเดียผ่านสมาร์ทโฟนหรือรวมถึงมีอาการติดมือถือตลอดเวลา
วิธีการสร้างสื่อสำหรับบุคคลที่มีพฤติกรรมเสพติดโซเชียล
สำหรับบุคคลที่มีพฤติกรรมเสพติดโซเชียลนั้น สื่อที่จะสามารถต่อรองกับผู้บริโภคได้จะต้องเป็นสื่อที่โหนกระแส หรือมีเรื่องราวให้น่าติดตาม สร้างเป็นเรื่องราวแบบ Story ที่ทันสมัยและสามารถแชร์ ส่งต่อไปได้เรื่อยๆ อีกทั้งถ้ามีลูกเล่นที่สามารถเล่นได้ก็จะตอบโจทย์กับคนที่เสพติดโซเชียลเป็นอย่างมาก
พฤติกรรมผู้บริโภคกับอีเว้นท์รูปแบบใหม่
ทุกวันนี้เวลาจะทำอะไรในเชิงธุรกิจ ความต้องการของผู้บริโภคต้องมาเป็นอันดับหนึ่งอยู่เสมอ ผู้บริโภคยังคงมีบทบาทมากยิ่งขึ้น แถมยังเป็นคนกำหนดทิศทางของแบรนด์ และกิจกรรมต่างๆ ในการทำอีเว้นท์ด้วย ที่กล่าวมาคือ ผู้บริโภคยุคใหม่ต่างมีอำนาจในการท้าทายแบรนด์ทำให้คุณค่าของแบรนด์ต่างๆ ถูกมองข้ามไป
แต่คุณค่าของแบรนด์จะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก ความเป็นแบรนด์จะวัดกันที่ความเชื่อและประสบการณ์ของผู้บริโภคที่ได้สั่งสมผ่านตัวของผู้บริโภค ผู้บริโภคยุคใหม่ก็ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการท้าทายแบรนด์ เพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น
เอาตนเองตั้งอยู่เหนือแบรนด์ ทำให้แบรนด์ต่างๆ จำเป็นต้องสร้างอารมณ์ร่วม เคารพ และแสดงจุดยืนในฝั่งเดียวกันกับผู้บริโภค เช่นเดียวกับอีเว้นท์รูปแบบใหม่ New Normal ที่ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะหันมาสนใจในสื่อโซเชียลมากขึ้น
สรุปได้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้นั้นไม่ค่อยส่งผลกระทบเท่าไหร่นักกับอีเว้นท์ในรูปแบบใหม่นี้ หากแต่เป็นสิ่งท้าทายให้กับเจ้าของแบรนด์มากกว่าว่าจะสามารถสื่อสารวัตถุประสงค์ของแบรนด์ได้ตรงมากน้อยเพียงใด
จังหวะของการโปรโมทโฆษณาจึงเป็นเรื่องสำคัญ และต้องเป็น Message ที่เหมาะสมกับคนและโมเมนต์นั้นๆ หากเป็นโมเมนต์ FOMO จะต้องให้ข้อมูลที่กระตุ้นความอยากได้และอยากซื้อ แต่หากเป็นโมเมนต์ JOMO ที่ต้องการอยู่กับตัวเองและพักผ่อน ก็ต้องให้ข้อความที่เหมาะสมเช่นกัน
ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย
- Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
- Instagram: @Zipevent
- Website: www.zipeventapp.com
- Twitter: @Zipevent
- Facebook: @Zipevent
ขอบคุณข้อมูลจาก: positioningmag.com และ fillgoods.co