ถ้าหากนิยามว่า หน้ากากอนามัย ที่เราทุกคนใช้ตอนนี้เป็น ขยะติดเชื้อ รู้หรือไม่ว่ามันอาจมีมากถึงประมาณ 30 ล้านชิ้นต่อเดือน แต่บ่อยครั้งที่เราเห็นหน้ากากอนามัยเกลื่อนกลาดอยู่บนทางเท้าบ้าง ซึ่งการทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วไม่ถูกที่นั้น อาจทำให้โรคระบาดนี้ไม่หายไปไหนเสียที
มาดูสักนิดก่อนที่จะหยิบหน้ากากอนามัยมาสวม
ก่อนที่จะหยิบหน้ากากอนามัยมาสวมนั้น อยากให้ทุกคนเช็กขั้นตอนเหล่านี้ดูว่า ทุกวันนี้เรา ‘ใส่-ถอด-ทิ้ง’ หน้ากากอนามัยกันอย่างถูกต้องแล้วหรือยัง? ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มใส่หน้ากากอนามัยไปพร้อมๆ กันเลย
1. ก่อนสวมใส่หน้ากากอนามัย ให้ล้างมือด้วยเจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือสบู่และน้ำ
2. สวมหน้ากากอนามัยให้คลุมบริเวณปากและจมูก เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีช่องว่างระหว่างใบหน้า และหน้ากาก
3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับหน้ากากอนามัยขณะใช้งาน หากมือไปโดนให้ล้างมือด้วยเจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือสบู่ และน้ำ
4. สวมหน้ากากอนามัยที่ใหม่อยู่เสมอ และไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ
เพราะหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งสะสมเขื้อโรค ซึ่งไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เราถึงควรแยกขยะหน้ากากอนามัยก่อนนำไปผ่านกระบวนการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีต่างๆ 4 วิธี ได้แก่
1. เผาในเตาเผา
2. ทำลายเชื้อด้วยไอน้ำ
3. ทำลายเชื้อด้วยความร้อน
4. วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา หากเราทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วไม่ถูกวิธี อาจทำให้เชื้อแพร่กระจายไปได้ จากการสัมผัสหน้ากากอนามัยผ่านการปะปนจากขยะอื่นๆ
โดยกระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำถึงการทิ้งขยะ หน้ากากอนามัย เพื่อให้สังคมปลอดภัยจาก COVID-19 ดังนี้
- ถอดหน้ากากอนามัย โดยไม่สัมผัสด้านในของหน้ากาก
- พับหน้ากาก เก็บให้ส่วนที่สัมผัสกับร่างกายอยู่ด้านใน
- ม้วนหน้ากากแล้วใช้ที่เกี่ยวหูพันโดยรอบหน้ากาก
- นำใส่ถุงพลาสติกที่มีการผูกหรือปิดอย่างแน่นหนา
- ทิ้งถุงพลาสติกที่บรรจุหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วลงถังขยะที่มีฝาปิด
- ทิ้งลงถังขยะรวมโดยมีป้ายหรือข้อความระบุเป็น “ถุงขยะสำหรับทิ้งหน้ากากอนามัย หรือผ้าปิดปาก ปิดจมูก ที่ใช้แล้ว” ติดไว้ที่ถุงขยะอย่างชัดเจน
- แยกเก็บรวบรวมไว้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนกับขยะอื่น
ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำ และสบู่ทุกครั้ง
รู้วิธีกันแล้ว หวังว่าเพื่อนๆ จะใส่-ถอด-ทิ้งหน้ากากอนามัยได้อย่างถูกวิธี เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ลดงานให้พนักงานเก็บขยะ และให้ง่ายต่อการทำลายอีกด้วย
ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
Instagram: @Zipevent
Website: www.zipeventapp.com
Twitter: @Zipevent
Facebook: @Zipevent
ขอขอบคุณข้อมูลจากเพจ เป็ดไทยสู้ภัย