Design Research Day ใน Bangkok Design Week 2020
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.30-16.50 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น M (อาคารส่วนหน้า) TCDC กรุงเทพฯ
เตรียมพบกับ 10 นักสร้างสรรค์ในการนำเสนอโปรเจ็กต์ และงานวิจัยด้านการออกแบบจากหลากหลายสาขา ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการใช้ความคิดสร้างสรรค์จากกระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาต่างๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นให้เกิดแนวคิดที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพใหม่ ซึ่งจะเกิดขึ้นในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2563
Design Research Day คือ วันแห่งการนำเสนอผลงานการออกแบบ และนวัตกรรมใหม่ๆ ผ่านการนำเสนอโปรเจ็กต์หรืองานวิจัยในรูปแบบการบรรยายที่เป็นกันเอง ภายในเวลาคนละ 20 นาที
“รูปแบบสีของเมืองกรุงเทพฯ : Bangkok city Colourscape”
อัตลักษณ์ของพื้นที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการรับรู้รูปแบบสีขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม เช่น เปลือกอาคาร หลังคา ประตู และหน้าต่าง ผลงานวิจัยนี้ได้นำเสนอตัวอย่างการศึกษา และการสร้างรูปแบบสีที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ผ่านทฤษฎีสี เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์และรักษาความกลมกลืนทางภูมิทัศน์ ทั้งในระดับสถาปัตยกรรมและระดับย่าน ด้วยกระบวนการถ่ายภาพและการประมวลผลในรูปแบบดิจิทัลอย่างง่าย เพื่อมุ่งหวังให้คนทั่วไปสามารถนำองค์ความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่เมือง ย่านหรือชุมชนของตนเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สำคัญที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์
ธนสาร ช่างนาวา – อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในงานออกแบบ และงานสถาปัตยกรรม มีความสนใจทางด้านการศึกษาประสิทธิภาพและความคิดสร้างสรรค์ของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการทำงานวิจัยที่บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบที่พัฒนาคุณภาพในการดำรงชีวิตของมนุษย์
Design Research Day
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.30-16.50 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น M (อาคารส่วนหน้า) TCDC กรุงเทพฯ
สำรองที่นั่งได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/Design-Research-Day
“Cycles”
Cycles นิทรรศการเชิงปฏิสัมพันธ์ที่ตั้งคำถามกับระบบการเรียนการสอนของประเทศไทยในยุคปัจจุบัน ถึงการค้นหาวิถีและแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ให้มีศักยภาพมากขึ้น โดยอาศัยหลักการทางจิตวิทยาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาเป็นส่วนประกอบในการสร้างสรรค์ทฤษฎีจิตวิทยาแฟชั่น ซึ่งถูกบรรจุไปด้วยกิจกรรมทางดิจิทัล และอนาล็อคทั้งหมด 5 รูปแบบ ใช้เป็นสื่อกลางในการค้นหาตัวตนและลักษณะของการรับรู้ของผู้ที่เข้าร่วม เพื่อใช้เป็นจุดกำเนิดของการเรียนรู้แบบ Individual Learning หรือการเรียนแบบเจาะจงในอนาคต
ภทรฤน พงษ์ประสิทธิ์ – นิสิตปริญญาโท สาขานวัตกรรมการออกแบบ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เจ้าของแบรนด์ VINN PATARARIN / Creative Director และ Strategist บริษัท Yellaban Creative Media Studio
Design Research Day
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.30-16.50 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น M (อาคารส่วนหน้า) TCDC กรุงเทพฯ
สำรองที่นั่งได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/Design-Research-Day
“Every day Architecture : สถาปัตยกรรมของทุกวัน (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคนเมือง)”
จากเนื้อหางานเขียนของผู้บรรยายในคอลัมน์ ‘อาคิเต็ก-เจอ’ ในนิตยสารออนไลน์ The Cloud ที่พาไปสำรวจพื้นที่สถาปัตยกรรมแบบไทยๆ ในหลายแง่มุม ตั้งแต่ พื้นที่จอดวินมอเตอร์ไซค์ยันศาลพระภูมิ โดยทั้งหมดทั้งมวลก็คือปรากฏการณ์การออกแบบแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ในเมืองที่เรามองเห็นได้ริมทางทุกวัน หรือที่เรียกว่าคือสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคนเมือง สู่การเริ่มทำวิจัยโดยสังเกตในเรื่องเหล่านี้ที่ลงลึกขึ้นโดยการบันทึกด้วยการถ่ายภาพและการสเก็ตช์รูปเพื่อให้เห็นแนวความคิดการออกแบบแก้ปัญหาเชิงพื้นที่นั้นๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อหาความซ้ำและความเชื่อมโยงวิธีออกแบบแก้ปัญหาของคนเมืองจริงๆ
ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ – สถาปนิกและนักเขียน โดยมีงานเขียนคอลัมน์ของตนเองที่มีชื่อว่า ‘อาคิเต็ก-เจอ’ ในนิตยสารออนไลน์ The Cloud โดย อาคิเต็ก-เจอ เป็นแสลงภาษาไทยที่ว่า สถาปนิกไปเจออะไรมา โดยเป็นคอลัมน์เล่าเรื่องสถาปัตย์ไทยๆ ใกล้ตัวในเมืองโดยสังเกต ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างพื้นที่ไม้ห้ามจอดรถ ยันเรื่องใหญ่ๆ อย่างปรากฏการณ์พื้นที่วินมอเตอร์ไซค์ ในมุมมองสถาปนิก โดยทำงานเขียนกับงานออกแบบควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันกำลังเริ่มต้นทำสตูดิโอสถาปนิกของตนเองที่มีชื่อว่า Everyday Architect & Design Studio โดยให้ความสนใจในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับงานเขียนของตน หรือที่เรียกว่า Urban Vernacular Design นั่นเอง
Design Research Day
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.30-16.50 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น M (อาคารส่วนหน้า) TCDC กรุงเทพฯ
สำรองที่นั่งได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/Design-Research-Day
“โครงการพัฒนาคุณภาพผ้าไหม ให้มีคุณสมบัติทำความสะอาดตัวเองได้”
การอนุรักษณ์สืบสานงานปราณีตศิลป์การทอผ้ายกดอก อยุธยา หัตถศิลภูมิปัญญาของไทยให้มีความโดดเด่นและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องประกอบการแต่งกาย ที่ไม่ต้องการการทำความสะอาดบ่อยครั้ง เหมาะสมตรงตามความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ ด้วยการนำเทคโนโลยีงานวิจัยมาพัฒนาต่อยอด ทำให้ผ้าไหมมีสมบัติ self-cleaning หรือสมบัติผ้าทำความสะอาดตัวเองได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนซักเพียงแค่นำผ้าไหมที่เปื้อนคราบสิ่งสกปรกชนิดสารอินทรีย์วางไว้ภายใต้สภาวะแสงอัลตราไวโอเลต เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาโฟโตแคตาไลติค และทำให้คราบสิ่งสกปรกนั้นๆ ค่อยๆ สลายไปได้เอง
นัดดาวดี บุญญะเดโช – อาจารย์ประจำ หลักสูตร แฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องตกแต่ง อาจารย์บัณฑิตศึกษา สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความเชี่ยวชาญด้าน เครื่องตกแต่งแฟชั่น (Fashion accessories) ออกแบบอัตลักษณ์องค์กร และสื่อสิ่งพิมพ์ (Corporate Identity (CI) and Graphic design) การตลาดและการสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ (Marketing and Creative Branding)
Design Research Day
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.30-16.50 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น M (อาคารส่วนหน้า) TCDC กรุงเทพฯ
สำรองที่นั่งได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/Design-Research-Day
“Swing Notation: The Swing Dancical Notation”
“สวิงโนเทชั่น” คือระบบตัวโน้ตระบบแรกในประวัติศาสตร์ที่ทำการออกแบบมาเพื่อบันทึกการเต้นรำสวิงแดนซ์โดยเฉพาะโดยการนำศาสตร์ของกราฟิกดีไซน์เข้ามาใช้ ในการออกแบบสัญลักษณ์หรือตัวโน้ตให้จดจำได้ง่ายและใช้งานง่ายระบบตัวโน้ตนี้ เปรียบได้เหมือนภาษาใหม่ ที่เขียนบันทึกการขยับร่างกายแต่ละส่วน ตั้งแต่หัว ลำตัว แขนซ้าย แขนขวา เท้าซ้าย และเท้าขวาไปจนถึงชนิดของสัมผัสที่ผู้เต้นได้รับจากคู่เต้นของเราด้วย เช่นแรงดึง หรือแรงผลัก (สวิงแดนซ์สามารถเต้นเดี่ยว และเต้นคู่ได้) จุดประสงค์ของโปรเจกต์นี้คือการจดบันทึกการเต้นรำสวิงแดนซ์เอาไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อไม่ให้เกิดการสูญหายอย่างในปี 1940 ขึ้นอีกในอนาคต
ชิษณพงศ์ ธนาธีรสวัสดิ์ – Graphic Designer , Created Swing Notation
Design Research Day
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.30-16.50 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น M (อาคารส่วนหน้า) TCDC กรุงเทพฯ
สำรองที่นั่งได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/Design-Research-Day
“CharoenKrung : Making of Creative Industry Hub ผังเมืองเจริญกรุง:ย่านสร้างสรรค์ฉบับคิด-ผลิต-ขาย”
ความฝันที่ต้องการเห็นย่านเจริญกรุงเป็นศูนย์กลางคิด-ผลิต-ขาย สำหรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ในขณะที่ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ที่จะประกาศใช้กลางปี 2563 พบว่า มีการใช้ที่ดินเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นครั้งแรกเท่าที่การผังเมืองไทยเคยมีมา แต่ทว่า…เจริญกรุงกลับไม่ได้ถูกกำหนดใช้ประโยชน์ที่ดินเศรษฐกิจสร้างสรรค์นี้แต่อย่างใด คำถามคือ “ความย้อนแย้งของภาครัฐระหว่างความฝันย่านสร้างสรรค์เจริญกรุงกับการกำหนดที่ดินในผังเมืองรวมกรุงเทพฯ จะมีผลบังคับใช้ให้เจริญกรุงให้เป็นศูนย์กลางคิด-ผลิต-ขาย ได้อย่างไร”
เบญจมินทร์ ปันสน – ปริญญาโท การผังเมืองมหาบัณฑิต จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผู้ช่วยที่ปรึกษาโครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เฉพาะบริเวณชุมชนโดยรอบท่าอากาศยานอู่ตะเภาตามนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง
Design Research Day
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.30-16.50 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น M (อาคารส่วนหน้า) TCDC กรุงเทพฯ
สำรองที่นั่งได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/Design-Research-Day
“Love Without Boundary”
ความสัมพันธ์แบบหลายรัก (Polyamory) เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะเมืองพอร์ตแลนด์ ซึ่งเปรียบเสมือนเมืองหลวงของความสัมพันธ์รูปแบบนี้ ที่พัฒนาไปเกินกว่าเรื่องเพศ ความสัมพันธ์แบบหลายรักไม่เพียงแต่ส่งผลต่อรูปแบบโครงสร้างครอบครัวที่เปลี่ยนไป แต่ยังส่งผลต่อวิธีการอยู่อาศัยเช่นกัน
โดยผลงานวิจัยและการออกแบบชิ้นนี้เป็นการนำเสนอรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและสังคม กับการจัดการที่ว่างทางสถาปัตยกรรม เพื่อก่อให้เกิดช่องว่าง และความยืดหยุ่นในอาคาร ที่เหมาะสมกับความหลากหลายของโครงสร้างครอบครัว และสามารถปรับเปลี่ยนการอยู่อาศัยได้ตามความสัมพันธ์ที่จะเปลี่ยนแปลงขี้นในอนาคต
วิธินันท์ วัฒนศัพท์ – witi9.studio, architect ปริญญาโท MA Architecture ที่ Royal College of Art ประเทศอังกฤษ เป็นคนไทยคนแรกที่ได้ฝึกงานที่บริษัทสถาปนิก Atelier Bow-wow ประเทศญี่ปุ่น และทำงานที่บริษัทสถาปนิก Kanoon Studio ปัจจุบันทำงานที่บริษัทสถาปนิก Creative Crews
Design Research Day
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.30-16.50 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น M (อาคารส่วนหน้า) TCDC กรุงเทพฯ
สำรองที่นั่งได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/Design-Research-Day
“The Future Trend of Aging Society 2020-21 : ข้อมูลวิจัยเทรนด์ โอกาสใหม่ทางธุรกิจและคุณภาพชีวิตที่จะงอกเงยและเติบโตไปพร้อมกัน”
จากโจทย์ Mega Trend ใหญ่ของโลกได้แก่ “สังคมผู้สูงอายุ” ที่ประเทศไทยเองก็กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายนี้ ศูนย์วิจัย เทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab เห็นโอกาสที่จะลุกขึ้นมาสร้างคลังความรู้ของ Aging Society สำหรับประเทศไทยให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ ชุดข้อมูลวิจัยเทรนด์ The Future Trend of Aging Society 2020-21 นี้ประกอบด้วยข้อมูลวิจัย Thailand Aging Segmentation ที่เป็นการแบ่งส่วนตลาดด้วยปัจจัยทางจิตวิทยาของกลุ่มวัยเก๋าที่จะทำให้คุณเข้าใจพวกเขาได้อย่างลึกซึ้งขึ้น และข้อมูล The Future Trend of Aging Society ข้อมูลแนวโน้มการสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ๆ โดยงานวิจัยนี้มุ่งเป้าที่จะจุดประกายให้ภาคธุรกิจเห็นโอกาสใหม่นำมาซึ่งการยกระดับความสุขของผู้สูงอายุไทยให้เติบโตงอกเงยไปพร้อมกัน
ปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ – ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต (Trend and Future Concept Research Lab) BaramiziLab ของกลุ่มบริษัท บารามีซี่ ทำหน้าที่วิจัยเพื่อค้นหาโอกาสใหม่ให้ภาคธุรกิจและเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนากลยุทธ์ของแบรนด์ผ่านการมีข้อมูลเจาะลึกของกลุ่มเป้าหมาย
Design Research Day
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.30-16.50 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น M (อาคารส่วนหน้า) TCDC กรุงเทพฯ
สำรองที่นั่งได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/Design-Research-Day
“นวัตกรรมการใช้ดินเพื่อทดแทนวัสดุสิ่งทออันสะท้อนถึงการเห็นคุณค่าของตนเอง”
มนุษย์ในแต่ละชนชาติมีความแตกต่างกันในเรื่องของสีผิวพรรณอันมีเม็ดสีเมลานินเป็นเซลล์ประกอบสำคัญของร่างกาย และเป็นตัวกำหนดระดับความเข้มของสีผิวพรรณ เมลานินสามารถสังเคราะห์ได้จากแบคทีเรียชั้นดีที่มีอยู่ในธรรมชาติ ผู้วิจัยจึงมีแนวความคิดในการสังเคราะห์เมลานินโดยการใช้ “ดิน” นำมาสร้างนวัตกรรมวัสดุทดแทนสิ่งทอเพื่อใช้ผลิตเครื่องนุ่งห่มแห่งอนาคต ผลลัพธ์ดังกล่าวสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ลึกซึ้งระหว่างผิวพรรณมนุษย์กับเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้ง ก่อเกิดความงามและความปลอดภัยต่อผู้สวมใส่
ขจรศักต์ นาคปาน – อาจารย์พิเศษ สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย โรงเรียนบุนกะแฟชั่น และนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Design Research Day
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.30-16.50 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น M (อาคารส่วนหน้า) TCDC กรุงเทพฯ
สำรองที่นั่งได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/Design-Research-Day
BANGKOK DESIGN WEEK 2020
Resilience: New potential for living ปรับตัว > อยู่รอด > เติบโต
1 – 9 กุมภาพันธ์ 2563
เจริญกรุง-ตลาดน้อย / สามย่าน / อารีย์-ประดิพัทธ์ / ทองหล่อ-เอกมัย
ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
Instagram: @Zipevent
Website: www.zipeventapp.com
Twitter: @Zipevent
Facebook: @Zipevent