ในปี 2020 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก มอบประสบการณ์สุดล้ำไปกับ MODA พิพิธภัณฑ์ศิลปะดิจิทัลแห่งแรกของกรุงเทพที่ชั้น 2 ของริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ที่คัดสรรนิทรรศการมัลติมีเดียมาให้ชมตลอดทั้งปี 2020 เปิดตัวด้วยธีมแรก Something Nouveau ในวันที่ 15 มกราคม – 16 เมษายน 2020 ที่ RCB Galleria ชั้น 2 เพื่อให้เหล่าอาร์ตเลิฟเวอร์สได้ใกล้ชิดกับศิลปะอาร์ตนูโวของศิลปินชื่อดัง นำโดยกุสตาฟ คลิมท์ (Gustav Klimt) อัลโฟน มูคา (Alphonse Mucha) และออเบรย์ เบียร์ดสเลย์ (Aubrey Beardsley)
ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ขอแนะนำศิลปะรูปแบบใหม่ที่กรุงเทพ นิทรรศการมัลติมีเดีย FROM MONET TO KANDINSKY ที่นำเสนอศิลปะ ความรู้และความบันเทิง เป็นประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครและสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมทุกวัยและมีแบ็คการวนด์ที่ต่างกันมากถึง 60,000 คนในช่วงที่จัดแสดง 12 สัปดาห์ที่ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก
SOMETHINGNOUVEAU
สิ่งเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นที่ MODA (Museum of Digital Art) นิทรรศการแรกในปี 2020 นำเสนอผ่านธีม SOMETHING NOUVEAU เพื่อเฉลิมฉลองยุคทองแห่งศิลปะ ดีไซน์และสถาปัตยกรรมในยุคอาร์ตนูโว (ปีค.ศ. 1890-ค.ศ. 1910) ผลงานของกุสตาฟ คลิมท์ (Gustav Klimt) อัลโฟนส์ มูคา (Alphonse Mucha) และออเบรย์ เบียร์ดสเลย์ (Aubrey Beardsley) ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างดี ผลงานยังคงได้รับการประมูลไปในราคาที่สูงลิ่ว เช่น ผลงาน The Woman in Gold ได้รับการยกย่องและสื่อถึงความเป็นคลิมท์ได้อย่างดี
ART NOUVEAU
ศิลปะอาร์ตนูโวเป็นหนึ่งในศิลปะที่มีสุนทรียะอันทันสมัยมากที่สุด เป็นที่ยอมรับว่าศิลปะลัทธินี้เป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของศิลปะ สถาปัตยกรรมและงานดีไซน์ แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ พุ่งสู่จุดสูงสุดในช่วงปีค.ศ. 1900 ความงดงามและสไตล์ที่มีเอกลักษณ์ยังคงได้รับการชื่นชมไปทั่วโลก อันเนื่องมาจากอาร์ตนูโวได้รับการพัฒนาในที่ต่างๆ พร้อมๆ กัน จึงมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละที่
นิทรรศการมัลติมีเดีย <<Something Nouveau. Klimt, Mucha, Beardsley>> ประกอบด้วยเรื่องราว 3 เรื่องที่อุทิศให้กับสามมาสเตอร์ผู้มีสไตล์ ผลงานระดับมาสเตอร์พีซที่สวยงามกว่า 500 ภาพถูกฉายด้วยโปรเจ็กเตอร์ลงบนจอขนาดใหญ่ท่จัดวางไว้ในมุมต่างๆ ของห้องมัลติมีเดียที่กว้างขวาง ผู้ชมสามารถชมรายละเอียดเล็กๆ ที่มีความสำคัญอย่างมากและเปี่ยมไปด้วยอารมณ์ซึ่งแฝงอยู่ในงานอาร์ตนูโว
ดังนั้น ที่สุดแห่งสุนทรียะในแง่ของลัทธิศิลปะสมัยใหม่คืออาร์ต นูโว อันเป็นที่ประจักษ์จากความรุ่งเรืองของศิลปะ สถาปัตยกรรม และงานดีไซน์ ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาอันสั้น (ตั้งแต่ปี 1890 ถึง 1910 และรุ่งเรืองที่สุดในปี 1900) ความงดงามและสไตล์อันเป็นปัจเจกล้วนเป็นที่ชื่นชมไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน อาร์ต นูโว ได้เสาะแสวงหาสุนทรียะอันทันสมัยอย่างแท้จริงจนกลายเป็นนิยามของภาษาภาพในช่วงเวลาหนึ่งที่เรียกกันว่า “ยุคทอง”
ในช่วงที่อาร์ต นูโว เบ่งบานนั้นคือความอว็องการ์ด (avant-garde) หรือความล้ำอย่างแท้จริงซึ่งลัทธิทางศิลปะนี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างยิ่งที่จะประนีประนอมความต้องการต่างๆ ของยุคสมัยแห่งเทคนิคและความปรารถนาในแง่ความงามและการเชิดชู ศิลปินอาร์ตนูโวได้ล้มล้างความเชื่ออันแพร่หลายในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่งานจิตรกรรมและประติมากรรมอยู่เหนืองานฝีมือ ศิลปินเหล่านี้ปรารถนาความคิดในแง่ของ “ศิลปะแขนงต่างๆ” เข้ามาแทนและช่วยลดช่องว่างระหว่างวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์
ในเวลาเดียวกัน ศิลปะอาร์ต นูโว ได้พัฒนาไปในที่ต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากในที่ต่างๆ อย่างไรก็ตาม ศิลปินอาร์ต นูโว มีความคิดร่วมกันซึ่งถ่ายทอดออกมาอย่างชาญฉลาดโดยบิดาแห่งปรัชญา ดีไซเนอร์ชาวอังกฤษและนักธุรกิจนาม
วิลเลียม มอร์ริส (William Morris) “เพื่อมอบความพึงพอใจในสิ่งต่างๆ ให้กับผู้คน สิ่งนั้นจำเป็นต้องใช้โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งนั่นก็คือการตกแต่งออฟฟิศ ส่วนการมอบความพึงพอใจในสิ่งต่างๆ พวกเขาจำเป็นต้องทำสิ่งนั้นขึ้นมาและให้คนอื่นได้ใช้”
AUBREY BEARDSLEY
ผู้ที่ถ่ายทอดความเป็นที่สุดแห่งประวัติศาสตร์อาร์ต นูโว ได้ดีที่สุดราวกับเปลวไฟอันโชติช่วงในเวลาอันสั้นคือศิลปินหนุ่มชาวอังกฤษนามออเบรย์ เบียร์ดสลีย์ (Aubrey Beardsley) ผู้ซึ่งความแปลกประหลาดของเขาทำให้เขาเป็นผู้สร้างสรรค์งานอาร์ตนูโวด้วยความแตกต่างมากที่สุด ความสง่างามของเส้นสายในงานออกแบบของเบียร์ดสลีย์ประกอบกับอารมณ์ขันอันแปลกประหลาดและความหลงใหลในความพิสดารและข้อห้ามที่ก่อให้เกิดความสนใจขึ้นมาในเวลาเดียวกัน อีกทั้งการปฏิเสธผู้คนในยุควิคตอเรียน (Victorian era) ผลงานที่สวยงามที่สุดของเบียร์ดสลีย์ ได้แก่ Le Morte d’Arthur, Salomey และผลงานวาดภาพให้กับนิตยสาร The Savoy, The Studio และ Yellow Book นำมาจัดแสดงในนิทรรศการนี้ด้วย
ALPHONSE MUCHA
ส่วนศิลปินชาวเช็กนามอัลโฟนส์ มูคา (Alphonse Mucha) นำเสนอภาพลักษณ์ของผู้หญิงสมัยใหม่ (“new woman”) อันแสดงให้เห็นถึงสื่อที่กำลังผงาดเข้ามามีบทบาทคืองานภาพโฆษณา ผู้หญิงมักเป็นสิ่งที่ปรากฏในงานศิลปะของเขาเพื่อจุดประสงค์ในเชิงเปรียบเทียบและการตกแต่ง มูคาและสหายส่งเสริมความเป็นเฟมินีนเสมือนเป็นสิ่งต่อต้านโลกที่ถูกครอบงำด้วยอุตสาหกรรม ความไม่เป็นส่วนตัวและโลกของผู้ชาย (masculine) นิทรรศการมัลติมีเดียอันสวยงามแสดงให้เห็นถึงผลงานอันงามสง่าที่สุดของมูคาในสมัยที่สร้างสรรค์งานในกรุงปารีส
GUSTAV KLIMT
ในขณะที่เบียร์ดสลีย์ (Beardsley) เป็นอัจฉริยะที่ไม่เคยได้รับการฝึกฝน กุสตาฟ คลิมท์ (Gustav Klimt) ได้เข้าเรียนในโรงเรียนศิลปะและงานฝีมือที่กรุงเวียนนา จากนั้นความอัจฉริยะของเขาจึงเริ่มต้นขึ้น งานยุคแรกๆ ของเขาได้เติมเต็มความคาดหวังในเชิงวิชาที่ร่ำเรียนมาและตอบสนองพวกชนชั้นกลาง จึงเป็นภาพของธรรมชาติและฉากต่างๆ ในประวัติศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม งานของเขาไม่สนองต่อข้อจำกัดของนิกายออร์ธอด็อกซ์ (Orthodox) บรรยากาศของความรักในเชิง อีโรติคและเรื่องเพศอบอวลไปทั่วกรุงเวียนนา
ในช่วงปี 1900 และมีอิทธิพลกับเขาอย่างมาก เฉกเช่นนักปรัชญานามฟรีดริช นีทเชอ (Friedrich Nietzsche) คลิมท์มองว่าศิลปินคือผู้ส่งสารแห่งความจริง ไม่ใช่ความเพ้อฝันแต่อย่างใด ในปัจจุบันภาพจิตรกรรมสีทองอันโดดเด่นของเขาเป็นที่รู้จักและชื่นชมไปทั่วโลก ผลงานมาสเตอร์พีซของเขาเป็นหัวใจอันแท้จริงของสไตล์ศิลปะแบบอาร์ตนูโวและการแสดงแบบมัลติมีเดีย ผู้ชนจะเพลิดเพลินไปกับผลงานสีทองที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา
ไปจนถึงผลงานในยุคต้นๆ และชิ้นมาสเตอร์พีซคลาสสิค
นิทรรศการ SOMETHING NOUVEAU แบ่งเป็น 3 ส่วน
Gallery
‘Something Nouveau’ เป็นนิทรรศการแรกของปี 2020 ซึ่งเป็นการฉลองยุคทองของศิลปะแบบอาร์ตนูโวผ่านงานศิลปะอันพริ้วไหวและเพื่อการตกแต่งของกุสตาฟ คลิมท์ (Gustav Klimt) อัลโฟนส์ มูคา (Alphonse Mucha) และออเบรย์ เบียร์ดสเลย์ (Aubrey Beardsley)
Space
ส่วนที่สองจะมอบประสบการณ์ให้กับผู้ชม (รวมถึงเอ็ฟเฟ็กต์สามมิติ) และงานอินสตอลเลชั่น (installation) แบบดิจิทัลอินเตอร์แอ็คทีฟ ผู้ชมไม่เพียงแต่ดำดิ่งไปสู่โลกแห่งศิลปะดิจิทัลที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยศิลปินงานดิจิทัลร่วมสมัยจากประเทศต่างๆ และสามารถมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผลงานได้อีกด้วย ความเป็นไปได้ที่เนรมิตโลกแห่งความแฟนตาซีขึ้นมานั้นสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กๆ ซึ่งเราต้องการให้พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับนิทรรศการและสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะที่เคลื่อนไหวได้เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงนิทรรศการ
VR Studio*
ส่วนที่สามนำเสนอโลกเสมือนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งผู้ชมต้องใช้อุปกรณ์ในการชมและฟังเพื่อดื่มด่ำไปกับโลกแห่งสามมิติและสามารถเนรมิตโลกเสมือนขึ้นมาได้ด้วยตนเองด้วยเทคโนโลยี
*หมายเหตุ จะได้เข้าชมโซน VR Studio เฉพาะผู้ที่ซื้อบัตรทาง Zipevent ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย. 2562 – 14 ม.ค. 2563 เท่านั้น
งานเริ่มจัดแสดงวันที่ 15 ม.ค. – 16 เม.ย. 2563
ห้องอาร์ซีบี แกลลอเรีย ชั้น 2 ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ แบงค๊อก
วันจันทร์ – วันพฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 20.00 น.
วันศุกร์ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 21.00 น.
เริ่มขายวันที่ 22 พ.ย. 2562 นี้วันแรก ถึงวันที่ 14 ม.ค. 2563 ที่นี่คลิกเลย
ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย
Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
Instagram: @Zipevent
Website: www.zipeventapp.com
Twitter: @Zipevent
Facebook: @Zipevent