ไม่ได้เป็นงานหนังสือที่ยิ่งใหญ่อะไรมากมาย เป็นเพียงงานหนังสือเล็กๆ ที่มีการออกบูทขายหนังสือของสำนักพิมพ์เล็กๆ 4 แห่งน่ารักๆ ได้แก่ happening, Fullstop, เป็ดเต่าควาย และสำนักพิมพ์ 113 ร่วมกันจัดงานหนังสือเล็กๆ แต่เป็นจุดกระเพื่อมที่ยิ่งใหญ่ ที่จะทำให้เราชาวนักอ่าน นักศึกษา และชาวนักเขียนพบเจอกัน เพื่อเน้นย้ำว่า หนังสือจะไม่ตายไปตามเทคโนโลยีง่ายๆ เพราะ ยังมีพวกเราอยู่ แม้จะเป็นเพียงงานหนังสือเล็กๆ แต่น่ารักได้ใจนักอ่าน นักศึกษาแน่นอน
ซึ่งงานนี้จะจัดขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยนำนักเขียนในสังกัด อาทิ วินทร์ เลียววาริณ, องอาจ ชัยชาญชีพ, ตุล ไวฑูรเกียรติ, Tedjiro (ผู้เขียน Tokyo In Brown), ศศิ วีระเศรษฐกุล, วิภว์ บูรพาเดชะ ฯลฯ มาพบปะและแจกลายเซ็นกับนักอ่าน พร้อมโปรโมชั่นหลากหลาย
ขอกระซิบว่า งานนี้ไปง่าย ซื้อหนังสือที่ชั้น 1 แล้วขึ้นไปชมงานศิลปะต่อที่ชั้นบนได้เลย!
วินทร์ เลียววาริณ
ในความเป็นจริงแล้ว ชื่อ วินทร์ เลียววาริณ เป็นชื่อใหม่ซึ่งแต่เดิมมีชื่อเกิดว่า สมชัย เลี้ยววาริณ นับเป็นหนึ่งในศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2556 และเป็นนักเขียนที่ได้รับ รางวัลซีไรต์ ถึง 2 ครั้ง คือ เมื่อปี พ.ศ. 2540 (ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน) และเมื่อปี พ.ศ. 2542 (สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน) โดยก่อนหน้าที่เขาจะผันตัวมาเป็นนักเขียนตัวยง เขาทำงานด้านออกแบบมาก่อน คือเป็นสถาปนิก นักตกแต่งภายใน นักออกแบบกราฟิก และนักโฆษณา
ซึ่งผลงานขึ้นชื่อของเขามีมากมายมากถึง 80 เล่ม เช่น
- หนังสือสมุดปกดำกับใบไม้สีแดง (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2537)
- อาเพศกำสรวล (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2537)
- วินทร์ เลียววาริณ ในบุคลิกอันเรียบง่าย
- ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน (นวนิยาย) (พ.ศ. 2537)
- เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว (รวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์) (พ.ศ. 2538)
- สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน (รวมเรื่องสั้นและบทความ) (พ.ศ. 2542)
- 空劫の大河 タイ民主革命奇綺談 (ภาคภาษาญี่ปุ่นของหนังสือ”ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน”) (พ.ศ. 2542)
- หนึ่งวันเดียวกัน (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2544)
- หลังอานบุรี (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2545)
- ปีกแดง (นวนิยาย) (พ.ศ. 2545)
- インモラル・アンリアル ISBN 4763123238 (รวมเรื่องสั้นภาคภาษาญี่ปุ่น) (พ.ศ. 2545)
นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนังสือ 11 เล่มแรกๆ ของเขา
องอาจ ชัยชาญชีพ
องอาจ ชัยชาญชีพ หรือที่คนเรียกกันว่า นักเขียนหัวใจอบอุ่น นั่นเป็นเพราะ คนอ่านมักรู้สึกและสัมผัสได้ผ่านตัวหนังสือของเขา ซึ่งเขาได้บอกเล่าเรื่องราวผ่านตัวหนังสือมาแล้วกว่า 30 เล่ม เช่น ยอดมนุษย์ดาวเศร้า ,หัวแตงโม รวมถึงขอให้รักคุ้มครอที่ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 3 แล้ว ซึ่งเป็นสิบสองความเรียงเรื่องรักบนรายทาง
“ขอให้รักคุ้มครอง” รวบรวม 12 ความเรียงเรื่องรักรายทาง โดย องอาจ ชัยชาญชีพ นักเขียนหัวใจอบอุ่นที่ทุกคนสามารถสัมผัสได้ผ่านตัวหนังสือของเขา นำเสนอเรื่องราว “ความรัก” ของผู้คนที่เขาได้พบเจอในแต่ละช่วงเวลา ทั้ง “สุข เศร้า เหงา รัก” ฯลฯ และด้วยการเล่าเรื่องที่ทำให้ผู้อ่านสามารถมีส่วนร่วมตลอดจนรู้สึกถึงอารมณ์ต่างๆ ในแต่ละสถานการณ์ ผ่านการถ่ายทอดมุมมองความรักในแบบเฉพาะตัวของผู้เขียน จึงทำให้ทั้งสิบสองความเรียงในหนังสือเล่มนี้สามารถเข้าไปสัมผัสหัวใจของผู้อ่านได้ในทุกห้วงอารมณ์
ตุล ไวฑูรเกียรติ
ตุล ไวฑูรเกียรติ เดิมทีเป็นนักแต่งเพลงและนักร้องนำแห่งวง อพาร์ตเมนต์คุณป้า ที่มีประสบการณ์ในแวดวงดนตรีนี้ราวๆ 15 ปี ไม่ว่าจะทั้งในฐานะคนเบื้องหน้าหรือเบื้องหลัง ซึ่งนอกจากนี้เขายังชอบเขียนกวีเป็นชีวิตจิตใจ จนวันหนึ่ง บทกวีเหล่านั้นได้ปรากฏขึ้นเป็นผลงานรวมเล่ม หลบเวลา และ สิ่งที่อยู่นอกใจ
นอกจากนี้เขาได้ให้สัมภาษณ์กับทาง The standard ว่า “ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือตั้งแต่เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือแบบเรียนที่เราเจอในโรงเรียน การ์ตูน นวนิยาย หนังสืออะไรก็แล้วแต่ ถ้าผมอยู่ใกล้ก็จะหยิบอ่าน คือเป็นสิ่งหนึ่งที่เราเสพอยู่แล้ว คล้ายกับเสพดนตรี แต่ว่าความเย้ายวนของการเป็นนักดนตรีมันมีเยอะกว่า ผมเลยจุดความหลงใหลจากตรงนั้น บังเอิญในเพลงมันมีภาษาอยู่ด้วยเลยปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเกี่ยวเนื่องกัน อย่างร็อกแอนด์โรลมันมีอารมณ์ มีเนื้อหา มีสิ่งที่อยากจะเล่า อยากจะระบาย ดังนั้นผมเริ่มจากการแต่งเพลง และหลังจากนั้นจึงเป็นงานเขียนในแบบที่ทุกคนได้เห็น การที่เอามาตีพิมพ์เป็นหนังสือกวีนั้นมันคือของแถม คือผลพลอยได้ที่เกิดจากการที่อยากจะเป็นนักแต่งเพลงมากกว่า”
Tedjiro (ผู้เขียน Tokyo In Brown)
ธาดา ราชกิจ หรือ Tedjiro (นักเขียนหนุ่มที่เคยเขียนหนังสือเล่มสวยเกี่ยวกับโตเกียวชื่อ หอ.คอย.ฉัน) ซึ่งเราเชื่อว่านักอ่านเเฟนตัวยงของ Tedjiro ไม่มีใครไม่รู้จัก หนังสือกลิ่นอายญี่ปุ่นอย่าง Tokyo in Brown ‘Tokyo in Brown’ หนังสือที่ ‘คอกาแฟ’ และ ‘คนรักญี่ปุ่น’ ห้ามพลาดเด็ดขาด!
หนังสือ ‘Tokyo In Brown’ เป็นเรื่องที่เล่าผ่านการออกเดินทางไปสำรวจร้านกาแฟทั่วเมืองโตเกียวประเทศญี่ปุ่น แล้วเก็บข้อมูลและถ่ายภาพสวยๆ ด้วยตัวเองกลับมานำเสนอและบอกเล่าผ่านตัวหนังสือ ให้เราทำความรู้จักกับ 64 ร้านกาแฟที่คัดสรรมาแล้ว พร้อม Coffee index ท้ายเล่ม ที่มี QR Code ให้คอกาแฟสามารถตามรอยไปดื่มด่ำกับกลิ่นกรุ่นของกาแฟได้อีกถึง 94 ร้าน แบบสแกนปุ๊บพุ่งไปดื่มปั๊บได้ทันที!
บางส่วนของร้านกาแฟที่บรรจุอยู่ในเล่มนี้
Streamer Coffee Company
Glitch Coffee and Roasters
Coffeehouse Nishiya
Bear Pond Espresso
Chatei Hatou
Onibus Coffee
Blue Bottle Coffee
ศศิ วีระเศรษฐกุล
เขาท่องอยู่ในวงโคจรของนักวาดภาพมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี ถึงอย่างนั้น เราก็เชื่อว่าแฟนๆ หลายคนคงได้ติดตามผลงานภาพวาดของเขาผ่านเพจเฟซบุ๊ก Sasi การเดินทางของพระจันทร์ ซึ่งเขาได้บอกเล่าเรื่องราวแสนอบอุ่นจากหนังสือนิยายภาพของเขา อย่าง Sky of Yesterday, Something Sometime Somewhere Everyday (เล่ม 1-3), Home (เล่ม 1-2), เซตหนังสือบันทึกการเดินทางตลอด 34 วันในยุโรป ที่ถูกแบ่งเล่มออกตามคอนเซปต์ Diary จำนวน 2 เล่ม, On Location และ Life
ซึ่งแฟนๆ คงไม่มีใครไม่รู้จักหนังสือแสนอบอุ่น Home หนังสือภาพสีน้ำที่จะทำให้คุณ ‘คิดถึงบ้าน’
“ดอกไม้ ประตู แจกัน ดินทรายต้นไม้ใหญ่ แก้วน้ำ จานชาม บันได โคมไฟที่สวยงาม ขอบรั้วและริมทางเดิน ต้นหญ้าอยู่ในสนาม บ้านนี้จะมีความงามได้ถ้ามีเธอ…”
นอกจากนี้ เขายังเปิดคอร์สสอนวาดภาพในโรงเรียนศิลปะและการออกแบบ ณ วาดสตูดิโอ (Ward Studio) ใครจะรู้ว่าเขานั้นไม่ได้เป็นเพียงครูผู้สอน แต่เขาเป็นผู้ร่วมดูแลที่นี่ด้วย
วิภว์ บูรพาเดชะ
วิภว์ บูรพาเดชะ อดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสารบันเทิงเชิงสาระชื่อ HAMBURGER
และยังเคยมีผลงานรวมเรื่องสั้นที่สร้างความโด่งดังในชื่อ ‘หนึ่งปีในเมืองหนึ่ง’ และ ‘ห้วงคำหนึ่ง’ และยังมีหนังสือเรื่องสั้นขนาดยาวชื่อ ‘เมื่อบทเพลงบรรเลงอีกครั้ง’ และหนังสือรวมบทความชื่อ ‘ตื่นจนเช้า’ และ ‘กลางวันตื่น กลางคืนฝัน’ เพราะสิ่งเหล่านั้น ในปัจจุบันทำให้เขาได้เป็นเจ้าของและบรรณาธิการของนิตยสารบันเทิง-ศิลปะชื่อ happening
ตามมาเจอกันได้ในวันที่ 29 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2562 ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (ใกล้บีทีเอส สนามกีฬาแห่งชาติ)
ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย
Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
Instagram: @Zipevent
Website: www.zipeventapp.com
Twitter: @Zipevent
Facebook: @Zipevent