ถ้าคุณทำงานมาหลายปี ไม่มีเงินเก็บออมไว้เลย ชวนให้รู้สึกว่าน่าเศร้าใจนัก! ขอบอกเลยว่า บทความนี้เหมาะมากๆ สำหรับคุณ ใครที่คิดเก็บเงิน แต่ก็เก็บได้แบบไม่งอกเงย เเถมช้ามากๆ ไม่ทันกิน หรือเอาไปลงทุนทำธุรกิจอะไรไม่ได้เลย เรามีทางช่วย อ่านต่อไปกันได้เลย!
แบบที่ 1
เปลี่ยนรูปแบบการฝากเงิน
เป็นรูปแบบการเก็บเงินที่วัยรุ่นหลายคนมองข้าม บางคนเริ่มเก็บด้วยแบงก์ 50 หรือบางคนเลือกเก็บเป็นเหรียญ หยอดกระปุก แต่รู้ไหมคะ ว่าการเก็บเงินแบบนั้นไม่สามารถงอกเงยขึ้นได้ วันนี้เราเลยจะมาเเนะนำการเก็บเงินที่เหมือนกับการปลูกต้นไม้ หมั่นฝากเป็นประจำเหมือนรดน้ำ ต้นไม้ต้นนี้ก็จะค่อยๆ โตขึ้นจากดอกเบี้ยเงินฝากนั่นเอง โดยวันนี้เราจะมาแนะนำ 2 รูปแบบสำหรับคนชอบเก็บเงินแบบหยดกระปุกกันค่ะ
- เงินฝากออมทรัพย์ เป็นการฝากเข้าธนาคารแบบพื้นฐาน ที่เรามักเห็นๆ กันบ่อยๆ โดยเริ่มเปิดบัญชีฝากอยู่ที่ 500 บาท หากฝากเป็นประจำ ก็จะได้ดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ แต่ดอกเบี้ยน้อยกว่าแบบอื่น เพราะ การฝากธรรมดาแบบนี้สามารถกดเงินออกมาใช้ได้ เหมาะสำหรับคนที่จำเป็นต้องถอนเงินออกมาใช้เป็นประจำ
- เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ เป็นการฝากเงินอีกรูปแบบหนึ่งที่คล้ายๆกับการฝากเงินออมทรัพย์แบบธรรมดา แต่จะได้ดอกเบี้ยสูงกว่า ซึ่งไม่มีกำหนดระยะเวลาการถอน เราสามารถถอนได้ตลอด แต่จะมีเงื่อนไขการถอน เหมาะสำหรับคนที่เก็บออมทรัพย์เพื่อเป็นเงินฉุกเฉิน หรือ เงินเพื่อต่อยอดสู่ธุรกิจต่างๆ ที่จะเกิดการถอนไม่บ่อย
แบบที่ 2
ซื้อพันธบัตรรัฐบาล
เป็นการลงทุนที่มีเราเป็นเจ้าหนี้ และรัฐบาลเป็นลูกหนี้ โดยรัฐบาลจะนำเงินฝากส่วนนี้ไปลงทุนในเรื่องต่างๆ ตามนโยบาย ไม่ว่าจะเรื่องเศรษฐกิจ คมนาคม หรืองานเพื่อสังคมต่างๆ
และสิ่งที่เราได้กลับมา คือ ดอกเบี้ย ซึ่งดอกเบี้ยนี้มีทั้งแบบคงที่ และไม่คงที่ แล้วเเต่เราจะเลือก และขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในพันธบัตรนั้นๆ เช่นเดียวกับการถือครอง ที่ขึ้นอยู่กับรัฐบาล ว่าเขาจะกำหนดถือครองกี่ปี ซึ่งจะมีตั้งแต่หนึ่งปีไปจนถึงสิบปีเลยก็ได้นะ
ดังนั้น การลงทุนเก็บเงินแบบนี้จะเป็นการได้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าฝากแบบธรรมดา เนื่องจากเป็นรัฐบาล เราจึงมั่นใจได้ว่ายังไงเราก็จะได้รับเงินฝาก พร้อมดอกเบี้ยตามเงื่อนไขอย่างเเน่นอน และการฝากแบบนี้เหมาะมากๆ กับคนที่ฝากแล้วไม่ต้องการถอน ฝากยาวๆ ได้ กินดอกเบี้ยยาวๆ ได้นั่นเอง
แบบที่ 3
ออมในกองทุนรวม
กองทุนรวม คือ การระดมเงินจากนักลงทุนหลายรายมารวมกันเป็นเงินก้อนใหญ่ ซึ่งเงินก้อนนั้นจะจดทะเบียนเป็น ‘นิติบุคคล’ โดยผู้จัดการกองทุนจะนำเงินก้อนนั้นไปลงทุนตามนโยบายที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
ซึ่งกองทุนรวมมีให้เลือกหลายประเภท มีทั้งความเสี่ยงต่ำ จนไปถึงความเสี่ยงสูงมาก โดยก่อนเริ่มลงทุน เราต้องทำการประเมินความเสี่ยงก่อน เพื่อให้รู้ว่าตนเองเหมาะกับกองทุนประเภทไหน
- ความเสี่ยงต่ำ เหมาะกับการลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินและกองทุนรวมตราสารหนี้
- ความเสี่ยงปานกลาง-สูง เหมาะกับการลงทุนรวมผสม
- ความเสี่ยงสูงมาก หากต้องการประหยัดภาษีต้องเลือกกองทุนรวม LTF หรือ RMF
แบบที่ 4
ซื้อประกันชีวิตแบบออมทรัพย์
นอกจากเป็นหลักประกันเพื่อความมั่นคงแล้ว ประกันนับเป็นตัวที่ช่วยในการต่อยอดเงินชั้นดี โดยเฉพาะประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ ที่จะให้คุณทยอยฝากเงินเข้าไปตามระยะเวลาการจ่ายเบี้ยที่กำหนด แล้วคุณจะได้รับเงินคืนตามที่ระบุไว้แน่นอนเมื่อครบกำหนดสัญญา
ซึ่งข้อดีคือ คุณจะได้การคุ้มครองชีวิตเพิ่มมาด้วย แถมยังเลือกแบ่งชำระเป็นแบบรายปี หรือรายเดือนได้อีกด้วย
สำหรับใครที่อยากเข้าใจให้ลึกซึ้งกว่านี้ เราขอแนะนำให้คุณทุกคนเข้าไปขอรับคำปรึกษาดีๆ ได้ที่สถาบันการเงิน หรือ งานอีเว้นท์เกี่ยวกับการเงินทั้งหลาย รับรองว่า ไม่นานเงินร้อยของคุณจะสามารถพุ่งสู่เงินล้านได้ง่ายๆ เลยล่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก PRIME TIME
ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย
Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
Instagram: @Zipevent
Website: www.zipeventapp.com
Twitter: @Zipevent
Facebook: @Zipevent