Trending Now

เครื่องสำอางที่ไม่ทดลองกับสัตว์ (Cruelty-free) คืออะไร ?

เชื่อว่า “การแต่งหน้า” เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับผู้หญิงอย่างเรา ไม่แพ้กับการเลือกชุดสวยๆ สักตัวเพื่อออกไปที่ไหนสักแห่ง ในยุคที่ทุกคนสามารถแสดงความเป็นตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่แบบนี้ การแต่งหน้าเป็นเหมือนงานศิลปะที่เราสามารถแต่งแต้มได้เองตามความพึงพอใจในรูปแบบที่เราต่างต้องการ

ซึ่งสำหรับหลายๆ คนแล้วอาจตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสักชิ้นเพียงเพราะไม่กี่ปัจจัย เช่น Packaging สุดน่ารัก, โทนสีที่ถูกใจ, คุณภาพของเครื่องสำอาง หรือ เลือกซื้อเครื่องสำอางที่อยู่ในกระแส แต่รู้หรือไม่คะ! ว่ายังมีอีกเรื่องหนึ่งที่กำลังถูกพูดถึงและหลายหน่วยงานได้มีการรณรงค์ให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายคือเรื่องของ “morals awareness” หรือการคำนึงถึงความถูกต้องดีงามต่อส่วนรวมทั้งในด้านศีลธรรม, จริยธรรม และการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ

เครื่องสำอางที่ไม่ทดลองกับสัตว์

เพื่อนๆ หลายคนอาจจะเคยสังเกตเห็นสัญลักษณ์รูปกระต่ายตัวเล็กๆ น่ารักๆ อยู่ตรงมุมล่างฉลากของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งก็มีอีกหลายคนที่อาจจะพึ่งเคยเห็นและอาจไม่รู้ถึงความหมายของมันมาก่อน วันนี้ Zipevent เลยมาไขข้อสงสัย และหยิบเอาเรื่องราวของสัญลักษณ์น้องกระต่ายสุดน่ารักมาบอกเล่าให้ฟังกันในวันนี้ค่ะ

อย่างที่เขาบอกกันนั่นแหละว่า “Beauty is pain” ความสวยงามนั้นแลกมาด้วยความเจ็บปวด แต่ไม่ใช่แค่ความเจ็บปวดของพวกเราที่ต้องอดทดและพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งความสวยหรอกนะคะ แต่มันเป็นความเจ็บปวดของเหล่า “สัตว์” ที่ถูกนำมาเป็นตัวทดลองหรือเรียกอีกอย่างว่าผู้ทดลองใช้อันดับแรกก็ได้ค่ะ แน่นอนว่าสวนผสมและสูตรต่างๆ ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เราใช้กันนั้นจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนและแก้ไขเพื่อให้ได้สูตรสำเร็จที่สามารถวางขายและใช้ได้จริงกับผู้บริโภค 

ดังนั้นเลยมีการทดสอบความเป็นพิษต่อผิวหนังในกระบวนการ Animal Testing หรือการทดลองกับสัตว์เกิดขึ้น ซึ่งจะทดสอบทั้งหมด 4 อย่างด้วยกัน ประกอบด้วย

เครื่องสำอางที่ไม่ทดลองกับสัตว์

Skin Irritation Test : การทดสอบการระคายเคืองต่อผิว

Phototoxicity Test : การทดสอบความเป็นพิษเมื่อเจอแสง

Ocular Irritation Test : การทดสอบการระคายเคืองต่อดวงตา

Transdermal Permeability Test : การทดสอบความสามารถในการซึมซาบเข้าสู่ผิวหนัง

เพราะเหตุนี้การทดลองกับสัตว์จึงเป็นตัวเลือกที่บรรดาบริษัทเครื่องสำอางหลายแห่งมักจะทำ  ลองคิดดูสิคะ ผิวหนังของมนุษย์เรานั้นมีความไวต่อสารเคมีแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป ผิวหนังของสัตว์ก็เช่นเดียวกัน เมื่อสัตว์เหล่านั้นต้องถูกนำมาเป็นตัวทดลอง, ถูกฉีดสารเคมีชนิดต่างๆ เข้าสู่ร่างกายในแต่ละวันแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายของสัตว์อย่างแน่นอน บางตัวขนร่วง ตาแดง หรือแม้แต่อวัยวะภายในบางส่วนทำงานผิดปกติไปเลยก็มี

ในปัจจุปันบริษัทเครื่องสำอางหลายแห่งได้เห็นถึงความสำคัญ และต้องการยุติการทารุณกรรมสัตว์เหล่านี้โดยรณรงค์และส่งเสริมเรื่อง “ความสวยงามที่ไม่ต้องขึ้นอยู่บนความเจ็บปวด” ซึ่งมีการแสดงออกโดยการใช้สัญลักษณ์ต่อไปนี้ ประกอบด้วย Cruelty Free, Leapping Bunny, No Animal Testing และ Vegan Product

เครื่องสำอางที่ไม่ทดลองกับสัตว์

เป็นเครื่องหมายยืนยันว่าแบรนด์ๆ นั้น ไม่ได้ทำการทดลองกับสัตว์ในทุกขั้นตอนการผลิต เพราะประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและเป็นที่ถกเถียงกันอยู่อย่างมากในปัจจุปัน ถ้าหากเรามองในมุมมองที่กว้างขึ้นและใส่ใจถึงเพื่อนร่วมโลกมากขึ้นก็จะเห็นได้ว่าความสวยของเรานั้นไม่จำเป็นต้องมาจากความเจ็บปวดของเพื่อนร่วมโลกก็ได้นะคะ

แล้วเครื่องสำอาจที่ไม่ทดลองกับสัตว์มีกี่แบรนด์นะ? 

จะหาซื้อยากไหม?

มันจะปลอดภัยจริงๆ หรือเปล่า?

ต้องขอบอกเลยนะคะว่าในปัจจุบันเนี่ยมีเครื่องสำอางหลายแบรนด์ได้เลิกทำการทดลองกับสัตว์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สาวๆ หลายคนอาจจะกังวลว่าจะหาซื้อเครื่องสำอางแบบนี้ได้ยากหรือเปล่านะ บอกได้เลยค่ะว่าไม่ต้องเป็นห่วง เพราะในปัจจุปันนี้แบรนด์เครื่องสำอางชั้นนำที่เราซื้อกันอยู่ทุกวันเนี่ย ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งมีทั้งแบรนด์ฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออกที่เข้าร่วมโครงการ เรียกได้ว่าครอบคลุมแทบทุกทวีปทั่วโลกกันเลยทีเดียว

แบรนด์ต่างๆ ได้หันมาทดสอบเครื่องสำอางด้วยวิธีการอื่นๆ แทน เช่น การเพาะเนื้อเยื่อโปรตีนมาใช้เพื่อเป็นตัวทดสอบปฏิกริยาทางเคมี อย่างแบรนด์ The BODY SHOP ก็ได้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ และเทคโนโลยีด้านจุลชีววิทยาสำหรับการทดสอบวัตถุดิบ และส่วนผสมก่อนที่จะนำไปผลิตเป็นสินค้าออกจำหน่าย แถมยังมีการใช้วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโปรตีนที่ ชื่อ “อายเท็กช์” สำหรับเครื่องสำอางที่ใช้กับดวงตาเพื่อทดสอบเรื่องการระคายเคืองนัยน์ตาของมนุษย์ มาทดลองใช้ด้วยนั่นเอง

หรืออีกวิธีหนึ่งคือ การทดสอบในมนุษย์ที่เป็นอาสาสมัครโดยให้โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยเวลล์ (University of wales) เป็นผู้ควบคุมการทดลอง โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังคอยดูแลอย่างใกล้ชิด 

และนี่ก็คือเรื่องราวทั้งหมดของสัญลักษณ์รูปน้องกระต่ายมีชื่อเรียกแบบ Official ว่า Cruelty-free นั่นเองค่ะ หวังว่าข้อมูลที่เราให้ในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านนะคะ ปัญหานี้จะได้หมดไปเพราะยังมีบางประเทศที่มีกฏหมายให้ทดลองกับสัตว์อยู่ มาช่วยกันสนับสนุนความสวยที่ไม่ต้องเบียดเบียนเพื่อนร่วมโลกของเรานะคะ ลองเลือก ลองพิจารณา เช็กสัญลักษณ์ดีๆ ก่อนซื้อน้า 

และสำหรับใครที่อ่านบทความนี้จบแล้วอยากจะออกไปเลือกซื้อเครื่องสำอางที่ไม่ทดสอบกับสัตว์ หรือเช็กว่าเฮ้ย! เครื่องสำอางที่ฉันซื้อใช้แต่งหน้าใน Everyday Look เนี่ยเป็นแบรนด์ Not Test on Animal หรือเปล่า ไม่ต้องเสียเวลาไปตามหาที่ Drug Store หรือตาม Counter Brand ให้วุ่นวายเลยค่ะ เพราะวันนี้ทาง Zipevent มีงานเกี่ยวกับ เครื่องสำอาง, น้ำหอม, สกินแคร์ และสินค้าเพื่อความงามมาบอกต่อกันกับงาน Bangkok Beauty Show 2019 ในวันที่ 11 – 13 กรกฎาคม 2562 เวลา 10.00 – 18.00 น. ณ Bitec บางนางานมหกรรมศูนย์รวมด้านความงามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีแบบ One stop service เรียกได้ว่าสวยครบจบในที่เดียวโดยบริษัทชั้นนำจากเกาหลีและอีกกว่า 10 ประเทศทั่วโลกที่พร้อมเสิร์ฟความสวยให้กับคุณ

ซึ่งภายในงานนอกจากจะมีสินค้าที่หลากหลายน่าสนใจแล้วยังมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกอีกมากมายเช่นหากคุณมั่นใจในฝีมือการแต่งหน้าของคุณก็สามารถสมัครเข้าแข่งขัน Thailand Cosmetic Contest ภายในงานได้ และเข้าชมการสาธิตแต่งหน้าทำผมสไตล์ดาราเกาหลี กับ Taeyang และ Hae Eun ช่างแต่งหน้า และช่างทำผมชื่อดังจากเกาหลี

อีกทั้งยังมีการประกวด Face of Thailand ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่พลาดไม่ได้เลยก็คือการร่วมลุ้นรับตั๋วเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพ-เกาหลี ฟรี! 5 รางวัล (รางวัลละ 2 ที่นั่ง) และรับผลิตภัณฑ์ K-Beauty Gift Bag ฟรี 200 ท่านแรก/วัน สามารถชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/Bangkok-Beauty-Show-2019

Written by Sutipat Prateeppichai

Illustrated by Sutipat Prateeppichai


ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย 
Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
Instagram: @Zipevent
Website: www.zipeventapp.com
Twitter: @Zipevent
Facebook: @Zipevent

Comments

comments

Author