จะเห็นกันทุกเว็บไซต์เลยว่า พอถึงซีซันวันเด็กแห่งชาติ อีเว้นท์งานวันเด็ก สำหรับเด็กๆ มีให้เห็นมากมายก่ายกองกันเลย Zipevent ก็เป็นเพจบันเทิงอีเว้นท์อันดับหนึ่งของประเทศไทย และเป็นแฟนคลับจือปากอีกเช่นกัน ก็ได้มีบทความสำหรับคนที่อยากพอน้องๆ หนูๆ เด็กๆ ไปอีเว้นท์สำหรับเด็กๆ โดยเฉพาะเลย อ่านบทความ รวมอีเว้นท์งานวันเด็กได้ที่นี่ Zipevent ก็มีอีกทางเลือกสำหรับวัยรุ่นใสๆ หัวใจ 4 ดวง กับ งานศิลปะ ทั้ง 5 ที่อยากแนะนำให้ไปกัน
ก่อนจะไป งานศิลปะ มาดูก่อนว่าวันเด็กเป็นมาอย่างไร
วันเด็กแห่งชาติ ในไทย ตรงกับวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่ไม่ได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีไทย เริ่มต้นจัดงานวันเด็กครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 โดยได้กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันเด็กแห่งชาติ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2506 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงวันเด็กแห่งชาติมาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม โดยเริ่มจัดงานวันเด็กในปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา
ในเมื่อพอทราบข้อมูลว่าวันเด็กเป็นมายังไง คร่าวๆ แล้ว ซึ่งต้องขอบคุณข้อมูลจากที่ที่คุณก็รู้ว่า เอามาจากไหน อย่างวิกิพีเดียประเทศไทย ก็ถึงเวลาอันควรแล้ว ที่จะพาไปชวนชม งานศิลปะ ทั้ง 5 ทั่วๆ กรุงเทพฯ ใครใกล้ไหนไปนั้น หรือสนใจงานไหนก็ไปเลย
All Or Nothing – A Duo Exhibition by Niels & Marga
ALL OR NOTHING นิทรรศการคู่ของ Niels Kalk ศิลปินคอลลาจ และ Marga van den Meydenberg ช่างภาพ โดยมี Bora Hong เป็นภัณฑารักษ์นำผลงานจากเบอร์ลินมาจัดแสดงวันที่ 10 – 27 มกราคม 62 ณ YELO HouseNiels กับการสร้างงานตัดปะสร้างโลกใหม่ผ่านความ(ไร้)ตรรกะ เกิดเป็นการค้นหาตัวตนบนความไร้สาระและเหตุการณ์เหนือจริงMarga ช่างภาพที่ชอบถ่ายรูปผู้คนแปลกหน้าในสตูดิโอชั่วคราว โดยเธอคิดว่า มนุษย์ทุกคนมีความโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะ โดยตลอดระยะเวลาการจัดแสดงงาน Marga จะถ่ายรูปผู้คนที่แวะเวียนมาที่นิทรรศการ ณ สตูดิโอที่สร้างขึ้นใน YELO House อีกทั้ง ภาพถ่ายเหล่านั้นจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการด้วย ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชม
8 AM Opening party
คัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี่ ภูมิใจเสนอ 8 โมงเช้า (8 a.m.) นิทรรศการภาพถ่ายโดย ธำมรงค์ วนาฤทธิกุล (Thamarong Wanarithikul) 12 มกราคม – 23 กุมภาพันธ์ 2562 [เปิดนิทรรศการ เสาร์ที่ 12 ม.ค. เวลา 18.30 – 21.00 น.]
ไม่บ่อยนักที่ภาพถ่ายทำให้รู้สึกถึง “มุมมองของพระเจ้า” ที่มองลงจากฟากฟ้ามายังมวลมนุษย์ที่กำลังดิ้นรน เอาชีวิตรอดบนโลกอันน่าทุกข์ทนของเขา หามิได้, ธำมรงค์ วนาฤทธิกุล ไม่ได้กำลังวางตนสูงเสมอพระเจ้าแต่อย่างใด หากแต่บังเอิญว่าวันหนึ่งบนสะพานลอยคนข้ามระหว่างทางไปทำงาน เขาใช้กล้องถ่ายรูปส่องลงมาบนท้องถนนอันวิกฤติของกรุงเทพ เห็นคนงานนั่งๆนอนๆอยู่บนท้ายรถกระบะ และนั่นคือที่มาของผลงานภาพถ่ายชุด “8 โมงเช้า” ที่ธำมรงค์ออกไปถ่ายทุกๆเช้า ตลอดปี 2560 ที่ผ่านมา ผลงานชุดนี้งดงามดั่งภาพจิตรกรรมแนวสัจนิยมเชิงสังคม (Social Realism) ที่คมชัดเต็มไปด้วยรายละเอียด เสื้อผ้า หน้าตา ท่าทาง และสิ่งของประกอบฉากชีวิต เช่น กระติกน้ำ ตะกร้าอาหาร ไปจนถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ทำมาหากิน พวกถังผสมปูน ถังสี ลังเครื่องมือ และหมวกกันกระแทก, และเมื่อมีการจัดแบ่งแยกภาพเป็นชุดของรถแต่ละคัน ยิ่งทำให้ผลงานชุดนี้มีความน่าตื่นเต้นชวนให้ค้นหายิ่งขึ้นไปอีก
ช่างภาพมือใหม่ ธำมรงค์ วนาฤทธิกุล เปิดใจว่า “ผมไม่ได้คิดอะไรถึงผู้คนเหล่านี้เลย จนกระทั่งเมื่อเห็นภาพที่ซ้ำไปซ้ำมาทุกวัน และองค์ประกอบบางอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง เกิดภาพสะท้อนในใจว่า ชีวิตคนทำงานไม่ว่าจะอยู่ในตึกหรือนอกตึก จะขึ้นรถไฟฟ้า รถเก๋ง หรือ รถกระบะ ปัญหาทุกคนก็คือปัญหาเดียวกัน คือ ปากและท้อง ตะกร้าสีฟ้าที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มคนงานใด ก็คือตัวแทนของปากท้องที่เรา คนหาเช้ากินค่ำ ต้องคอยห่วงและพ่วงไปกับชีวิตเราทุกวัน”
มานิต ศรีวานิชภูมิ ภัณฑารักษ์ของคัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี่ กล่าวว่า “การนำเอาปัจจัยเวลา ‘8 โมงเช้า’ มาเป็นเงื่อนไขของการถ่ายภาพชุดนี้ ทำให้ผลงานของธำมรงค์โดดเด่น ไม่ธรรมดาขึ้นมาทันที เพราะภาพชุดนี้บางชุดต้องใช้เวลาถ่ายถึง 30 วัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อว่า ช่างภาพจะสามารถถ่ายรูปรถกระบะคันเดิมได้เกือบทุกเช้า บางวันคนที่เคยนั่งท้ายกระบะนั้นหายไป พวกเขาอาจไม่สบาย หรืออาจโดนไล่ออกจากงาน มันมีนิยายให้เราได้จินตนาการไปต่างๆนานา”ธำมรงค์ วนาฤทธิกุล (เกิด 2518) จบปริญญาโท Msc.IT Queen Mary College, University of London ‘8 โมงเช้า’ เป็นนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของเขา
Destination Nowhere – วงษ์กลม
Destination Nowhere – วงษ์กลม By Prapat Jiwarangsan ณ สถานที่สุดชิคอย่าง Gallery VER Project Room ตั้งแต่วันที่ 12th January – 16 February 2019 opening reception: 12 January 2019 from 6 pm onwards
บุคคลในภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้เกิดที่ญี่ปุ่น แม่ของเขาเป็นแรงงานชาวไทยที่อาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นหลายปีอย่างผิดกฎหมาย เธอมอบตัวและถูกส่งกลับไทยเมื่อไม่นานมานี้ ศาลตัดสินเบื้องต้นว่าให้ส่งลูกของเธอกลับไปด้วย แต่เขากำลังต่อสู้เพื่อสิทธิที่จะอาศัยอยู่ญี่ปุ่นต่อไป ในกรณีของเขา เราควรตัดสินอย่างไร เราควรยึดตามหลักกฎหมายหรือหลักมนุษยธรรม ข้าพเจ้าสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ร่วมกับเขา งานนี้ยังรวมถึงภาพถ่าย และสิ่งของที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องราวของเขาอีกด้วย
เกี่ยวกับศิลปินประพัทธ์ จิวะรังสรรค์
เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อปีพ.ศ. 2522 เป็นศิลปินทัศนศิลป์ชาวไทยที่มีพื้นฐานการทำงานด้านสหศาสตร์ศิลป์และการวิจัยเป็นอย่างดี ประพัทธ์สร้างสรรค์งานจากสื่อหลากชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานภาพถ่าย และวีดีโอ งานของเขามักเกี่ยวกับการสืบค้นและสื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่างประวัติศาสตร์, ความทรงจำ และการเมืองการปกครองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา ประพัทธ์ได้ทำการวิจัยและพัฒนาผลงานที่แสดงถึงประสบการณ์ของแรงงานต่างด้าวที่ออกมาทำงานนอกประเทศของตน ผลงานศิลปะจัดวางของเขาได้ถูกนำไปแสดงมาแล้วทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในกรุงเทพฯ ลอนดอน ฮ่องกง โตเกียว และกวางจู ในขณะที่ผลงานจากสื่อวีดีโอก็ได้ถูกนำไปฉายในงานแสดงระดับนานาชาติมากมาย อาทิเช่น Canada’s Image Festival, International Film Festival Rotterdam, Experimenta India, and Onion City Experimental Film and Video Festival
New/Old Savages
“New/Old Savages” ศิลปิน: ดุษฎี ฮันตระกูล, นรุตม์ ปิติทรงสวัสดิ์, ภาวิต พิเชียรรังสรรค์, พิชยะ คุณวัฒน์, ธาม โชติวิไลวนิช และอัญชลี อนันตวัฒน์ ภัณฑารักษ์: ดุษฎี ฮันตระกูล พิธีเปิด: วันเสาร์ที่ 12 มกราคม 2562 เวลา 18.00 น. **เสวนาภัณฑารักษ์และศิลปิน เวลา 16.00 น.** ระยะเวลาจัดแสดง: 12 มกราคม – 8 มีนาคม 2562 สถานที่: หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท ประเภทผลงาน: ผลงานจิตรกรรม, ภาพพิมพ์ และประติมากรรม
นิทรรศการนี้ขึ้นอยู่กับการมองแล้วก็คิด ไม่ได้เกี่ยวกับรูปธรรมหรือนามธรรม แต่เป็นการส่ง/รับสารด้วยภาษาทางภาพ ไปถึงที่ที่ใกล้และไกลโพ้น มีทั้งคำถามคำตอบและคำถามที่ไม่เคยมีคนถามและคำตอบที่ไม่เคยมีคนตอบ เราจะบายพาสอำนาจกระแสหลักเพื่อคุยกับอดีตที่เราไม่ได้ใช้ชีวิตถึงอนาคตที่เราจะไม่ได้อยู่อย่างไร? ผมเลือกศิลปินอีก 5 คน มาร่วมแสดงในนิทรรศการนี้ เพราะความอยากเห็นข้อมูลที่ผ่านวิธีการจัดการกับพื้นผิวในรูปแบบที่หลากหลายจากคนเหล่านี้ เพื่อพูดถึงสิ่งที่อยู่ตรงหน้าและที่อื่นๆ
แฮซ็อก: คุณคิดว่าจิตรกรรมผนังถ้ำโชเวท์ถือเป็นจุดเริ่มต้นของจิตวิญญาณการเป็นมนุษย์สมัยใหม่หรือไม่ การเป็นมนุษย์คืออะไร
นักมานุษยวิทยา: การเป็นมนุษย์คือการปรับตัวกับโลกได้ดี ดังนั้น สังคมมนุษย์จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ปรับตัวเข้ากับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ กับสัตว์ และกับมนุษย์กลุ่มต่างๆ และสื่อสารบางอย่างเพื่อถ่ายทอด เพื่อจารึกความทรงจำผ่านสิ่งที่เฉพาะและเป็นของแข็ง เช่น ผนัง เนื้อไม้ หรือพวกกระดูก นี่คือการประดิษฐ์ของมนุษย์โครมันยอง
แฮซ็อก: แล้วดนตรีหละนักมานุษยวิทยา: อืม รวมพวกตำนาน ดนตรีด้วยนะ มันเป็นการประดิษฐ์ การทำให้เป็นรูปเป็นร่างของสัตว์ คน สิ่งของ มันเป็นวิธีการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับอนาคตเพื่อระลึกถึงอดีต เพื่อส่งผ่านข้อมูลที่น่าจะดีกว่าภาษา ดีกว่าการสื่อสารทั้งหมด และการประดิษฐ์นี้ยังคงมีถึงทุกวันนี้ เช่นเดียวกับกล้องตัวนี้ เป็นต้น
“ข้อความด้านบนนี้คัดลอกมาจากสารคดีเรื่อง Cave of the Forgotten Dreams ปี ค.ศ.2010 โดย แวร์เนอร์ แฮซ็อก“New/Old Savages” เป็นนิทรรศการจัดการโดย ดุษฎี ฮันตระกูล, นรุตม์ ปิติทรงสวัสดิ์, ภาวิต พิเชียรรังสรรค์, พิชยะ คุณวัฒน์, ธาม โชติวิไลวนิช และอัญชลี อนันตวัฒน์
RAYS OF LIGHT— An Exhibition By Viraj “Andrew “Bunnag
นิทรรศการ “Rays of Light” ผลงานโดย วิราช แอนดรูว์ บุนนาค (Viraj “Andrew” Bunnag) จัดแสดงระหว่างวันที่ 12 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2562 และจะมีพิธีเปิดในวันที่ 12 มกราคม 2562 เวลา 13.00 น. ณ ILFORD Galerie Bangkok
“Rays of Light” เป็นนิทรรศการแสดงผลงานเดี่ยวครั้งแรกของวิราช ผลงานภาพถ่ายที่ดึงดูดสายตาผู้ชมชุดนี้ ซึ่งหลายภาพได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ แสดงให้เห็นผลงานส่วนตัวที่เขาได้สร้างสรรค์ไว้ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาผลงานภาพถ่ายมากมายที่บันทึกไว้จากสารพันแหล่งที่มา สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจอันหลากหลายของวิราช ภาพถ่ายขาวดำจัดวางร่วมกับภาพถ่ายสีได้อย่างกลมกลืน นำมาซึ่งผลลัพธ์ที่น่าทึ่ง ความหลากหลายของหัวเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นท้องถนน กีฬา และสถาปัตยกรรม ส่งผลให้นิทรรศการนี้มีหมวดหมู่ภาพถ่ายอันกว้างขวางน่าประทับใจ
แม้กระนั้น ในขณะที่ผลงานภาพถ่ายมีเฉดสีอันเข้มข้น แต่สิ่งหนึ่งที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงคือการเลือกใช้แสงของวิราช ไม่ว่าเขาจะกำลังเก็บภาพเหตุการณ์บนท้องถนนโดยใช้มุมมองที่มีความเฉพาะตัวอย่างยิ่งของเขาผ่านเลนส์ หรือกำลังแสดงความสามารถอันเป็นเลิศของเขาในการทำให้ภาพมีชีวิตหลังกระบวนการพิมพ์ ทั้งสองประการ วิราชล้วนคัดสรรผลงานภาพถ่ายของเขาในชุด “Rays of Light” นี้ด้วยคุณภาพอันเป็นเลิศและละเอียดอ่อนทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิราชได้ใส่ความเป็นภาพยนตร์ลงไปในผลงานภาพถ่ายเหล่านี้ แท้จริงแล้ว เป้าหมายของเขาคือการสื่อสารเรื่องราวอย่างสมบูรณ์ ชัดเจน ครบถ้วนในเฟรมเดียว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ เขาได้ผสานความรู้ด้านศิลปะที่ได้เล่าเรียนมารวมเข้ากับทักษะด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ผ่านการขัดเกลามาอย่างดีจากวงการภาพยนตร์ ด้วยการใช้เทคนิคอันทันสมัยของสีและแสงในแบบของภาพยนตร์ เขาเสริมแต่งภาพให้จับอารมณ์และบรรยากาศที่หลากหลายเพื่อขยายเรื่องราวที่บันทึก ณ จุดเวลานั้นให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงตัวแบบหลักหรือหัวเรื่องเดิมเลย
ผลลัพธ์ของกระบวนการอันซับซ้อนและอาจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้ ได้ช่วยยกระดับผลงานภาพชุดนี้ให้อยู่เหนือความเป็นภาพถ่ายธรรมดาได้อย่างลงตัว
“ทำ-ลาย(ไทย)” นิทรรศการภาพเขียนศิลปะไทยในมุมมองของ กชวัช บูรณภิญโญ
งาน “ทำ-ลาย(ไทย)” นิทรรศการภาพเขียนศิลปะไทยในมุมมองของ กชวัช บูรณภิญโญ หรือ TIME-LINE Millennials’s perspective of Thai art by Kotchawat Buranapinyo จัดแสดงที่ Dialogue Coffee and Gallery ถนนพระสุเมรุ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม – 10 กุมภาพันธ์ 2019 ค่าเข้าชมฟรี วันที่ 12 มกราคม เวลา 19:00 น. เป็นต้นไป ส่วนวันอื่นๆ ก็ วันธรรมดา : 14.00-23.00 น. และ เสาร์-อาทิตย์ : 11.00-23.00 น. และสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมงานนี้ ได้ที่นี่
บทความนี้ ได้เอาใจเหล่าวัยรุ่น คนทำงาน ที่ไม่ได้มีลูกหลาน น้องๆ และไม่อยากไปเบียดเสียดกับเด็กๆ ในงานวันเด็ก และอีเว้นท์ที่จะเกิดขึ้น และเอาใจคนรักงานศิลป์ งานอาร์ตอีกด้วย งานเปิดตัวต่างๆ วันนี้ มาแน่น มาเต็ม ใครไม่เลิฟเด็ก แต่เลิฟเมืองไทย และเลิฟพัฒพงศ์ ก็ติดตามกันได้จ้า
สามารถค้นหางานอีเว้นท์ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่
Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย LINE @Zipevent
Instagram: @Zipevent
Website: www.zipeventapp.com
Twitter: @Zipevent
Facebook: @Zipevent