งาน Thailand Biennale ที่กระบี่ในปีนี้ สำหรับคนไทยที่จะไปทั้งที ก็ต้องมีการวางแผนการเดินทางว่าจะไปในแต่ละจุด ยังไงอะไรบ้าง วันนี้เรามีแพลนแนะนำตามสถานที่ เน้นความสะดวกสบาย ระยะทาง แต่ถ้าหากใครอยากดูแบบการวางแผมตามไลฟ์สไตล์ เช่น ไปคนเดียว ไปกับเพื่อน ไปกับคนรัก หรือไปกับครอบครัว สามารถดูได้ที่ บทความ Plan Your Trip ของทางเว็บไซต์หลักได้เลย
เส้นทางการเที่ยวชม Thailand Biennale, Krabi 2018 แบบแรก
เริ่มจากสนามบินนานาชาติกระบี่ ตรงดิ่งเข้ามาเที่ยวชมสวนสาธารณะธารา มาชมผลงานแรกคือ Voyage in Time ของ LUXURYLOGICO (1) เป็นกลุ่มศิลปินสี่คนที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1980 ได้แก่ Chih-chien Chen, Kun-ying Lin, Keng-hau Chang และ Geng-hwa Chang ผลงานของพวกเขามีความเป็นแฟนตาซีและนำเสนอออกมาผ่านเทคนิคหลายรูปแบบ ถัดมาในบริเวณเดียวกัน มาพบกับผลงาน I’m waiting on for the future of more water to come ของ ดุษฎี ฮันตระกูล (2) การปรากฏตัวขึ้นอย่างแปลกประหลาดของ กระดานกระโดดน้ำบนโครงสร้างเก่าๆ ที่ถูกทิ้งร้างใจ กลางสวนสาธารณะธารา สารที่ซ่อนตัวอยู่ เบื้องหลังการดำรงอยู่อย่างไม่สมเหตุสมผลของ ผลงาน I’m waiting on for the future of more water to come คือการบอกใบ้ถึงการพยากรณ์ ระดับน้ำทะเลที่จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะ โลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มนุษย์ ไม่อาจป้องกันได้
ถัดมาในโซนเดิม สวนสาธารณะธารา จะพบกับผลงานของ ศิลปินแห่งชาติ วิโชค มุกดามณี ได้รับแรงบันดาลใจ จากเรื่องราวความรักระหว่างพญานาคกับคนพื้นเมือง เรื่องราวนี้เป็นส่วนหนึ่งของตำนานอันโด่งดัง เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องลี้ลับที่ว่าด้วยต้นกำเนิด ของสถานที่สำคัญหลายแห่งและเกาะในกระบี่ รวมทั้ง จังหวัดใกล้เคียง วิโชคได้สร้างโครงสร้างฉลุทำด้วย โลหะในรูปแบบกึ่งนามธรรมและนำเอาสิ่งของต่างๆ ที่ใช้ในพิธีฉลองงานแต่งงานตามวัฒนธรรมไทย มาใช้ในการทำรูปทรงต่างๆ ขึ้นมา โครงสร้างทาง ประติมากรรมมากมายจะถูกจัดวางเรียงรายกัน เพื่อที่จะเลียนแบบงานฉลองและพิธีกรรมต่างๆ ริมฝั่งแม่นำ้กระบี่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ตัวศิลปินมองว่า เป็นรอยต่อระหว่างผืนน้ำกับแผ่นดิน ระหว่างโลก จินตนาการกับโลกความเป็นจริง ระหว่างธรรมชาติ กับมนุษย์ Story of Love (3) จะนำผู้ชมกลับไปสู่ เรื่องเล่าท้องถิ่นและรำลึกถึงความกลมเกลียวกัน ในหมู่ผู้คนไม่ว่าพวกเขาจะแตกต่างกันมากเพียงใด
ใกล้ๆ กันในสระน้ำกลางสวนสาธารณะจะพบกับ งานใหม่ของ Mayrhofer-Ohata ที่จะแสดง ในงาน Thailand Biennale นี้ชื่อ Nobody Nose: Based on a Fake Story (4) มันคือเรื่องแต่งที่ขยายตัว ไปสู่ความจริง ศิลปินคู่นี้ได้สร้างลักษณะจมูกปลอม ขึ้นมาเพื่อทำให้ทะเลสาบเล็กๆ และภูมิทัศน์ของ ทะเลสาบปลอมปนไปด้วยสัญลักษณ์และความหมาย แบบจินตภาพ ประติมากรรมรูปจมูกขนาดใหญ่ ลอยได้ ล้อเล่นกับการค้นหาความรู้และหลักจริยธรรม ที่เกี่ยวข้อง วัตถุที่ดูไม่มีความเป็นจริงนี้ได้ใส่ ประเด็นทางสิ่งแวดล้อมเข้าไปเป็นหลัก โดยเชิญ ผู้ชมเข้าไปสำรวจงานศิลปะในฐานะของความเป็นจริง ประติมากรรมรูปจมูกนี้จะลอยอยู่เหนือน้ำไปเรื่อยๆ มันดูธรรมดามาก แต่เมื่อเพ่งพินิจก็จะเห็นถึง ความบริสุทธิ์ เมื่อลมจากสวรรค์ร่ายรำอยู่ระหว่าง สมองและหัวใจของเรา โครงการนี้จะนำเสนอจมูก ที่เป็นดั่งสะพานระหว่างภายนอกกับภายใน ซึ่งเป็น ชายขอบที่ เกิ ดการแลกเปลี่ ยนขึ้น และเป็ นที่ที่ บางสิ่ง กำลังสูดลมหายใจแห่งชีวิต ไม่ว่าคุณจะหลับอย่างลึก หรือทำสมาธิระดับสูงสุดของจิต คุณก็ยังต้องหายใจ เสมอ คนที่ยังมีชีวิตจำเป็นต้องหายใจอย่างมีสติ มีจิตวิญญาณดวงหนึ่งที่อาศัยอยู่ในตัวคุณ จงปล่อย ให้เขานำคุณไปในที่ใดก็ตามที่เขาจะพาไป
เดินออกมาจากสวนสาธารณะ มาที่หน้าศาลากลางจังหวัดกระบี่ ใกล้กันจะพบกับอีกชิ้นงานใน Thailand Biennale 2018 ปัญญา วิจินธนสาร กับ สัตว์ใหม่ที่ยังไม่พบ (5) ได้สร้างงานจัดวางขนาดใหญ่โดยใช้ ชิ้นส่วนรถยนต์เป็นวัสดุหลัก งานนี้จะจัดวางที่ต้นไม้ขนาดมหึมาริมชายฝั่งแม่น้ำกระบี่ ใกล้ๆ ตัวเมืองซึ่งเป็นพื้นที่ที่ธรรมชาติประสานเข้ากับเมือง รูปร่างของการจัดวางนั้นได้รับอิทธิพลมาจากแมงมุมและตะขาบเพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าชีวิตต่างๆ นั้นได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโดยมนุษย์อย่างไร รูปวงรีจำนวนมากถูกตีความว่าเป็นไข่ของสัตว์เหล่านี้ ซึ่งจะทำให้มันแพร่พันธุ์ได้อย่างไม่มีการควบคุม สัตว์ที่ปัญญาสร้างขึ้นมาจะสื่อความจากตัวเขาที่มองว่ากระบวนการทาง อุตสาหกรรมและสังคมสมัยใหม่เป็นการรุกรานธรรมชาติ มนุษย์ได้บริโภคทั้งธรรมชาติและโลกจนเสียสมดุลไปตลอดกาล ชีวิตไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะต้องปรับตัวไปกับสภาพแวดล้อมแบบใหม่ เรากำลังจะเข้าสู่โลกมหัศจรรย์ใหม่ที่ชีวิตจะต้องดำรงอยู่กับธรรมชาติที่ถูกทำลายไป
Enter your text here…