วังน่านิมิต ภาคแรกจะจัดแสดงที่หอศิลป์ฯ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 10-27 มิถุนายนนี้ ส่วนภาคที่ 2 เป็นการจัดแสดงข้อมูลที่ใช้ในการสร้างงานนิทรรศการ รวมถึงข้อมูลวังหน้าที่น่าสนใจต่างๆ รวมไว้ในช่องทางออนไลน์ ให้ผู้ที่สนใจเข้าไปสืบค้นได้ที่ www.wangnaproject.space ส่วนภาคที่ 3 คือการยกนิทรรศการ วังน่านิมิต ที่เสร็จสิ้นจากการจัดที่หอศิลป์ฯ กรุงเทพฯ แล้ว ไปจัดแสดงอีกครั้งบนพื้นที่จริง คือที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในเดือนธันวาคม อยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่ นิทรรศการ ” วังน่านิมิต ” ประวัติศาสตร์ทรงคุณค่าในรูปแบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย วังน่านิมิต ที่ BACC
ส่วนแรกในนิทรรศ วังน่านิมิต ที่ BACC
อย่างแรกเมื่อคุณเข้าไปในนิทรรศการ วังน่านิมิต ตัวหนังสือทั้งหมดทั้งมวล จะมีเพียงเท่านี้ ในนิทรรศการครั้งนี้จะมีผู้บรรยายตลอดการเดินชม ไม่ต้องห่วงว่าจะงง หรือไม่เข้าใจ ในงานนี้ไม่มีค่าเข้าชมใดๆ บรรยากาศของนิทรรศการจัดแบบสว่างเป็นจุดๆ กึ่งๆ บังคับเดินไปตามทิศทาง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาครั้งนี้ แต่ต้องออกตัวก่อนว่า ในงาน วังน่านิมิต ที่ BACC เป็นภาคแรก นำเสนอการเปลี่ยนแปลงของวังหน้าในช่วงรัชสมัยที่ 4-5 เท่านั้น
แผนผังอาณาเขตของวังหน้าในสมัยรัตนโกสินตอนต้น ในรูปแบบ 3 มิติ
เดินถัดมาในโซนที่ 2 เป็นแท่นแสดงภาพในรูปแบบ 3 มิติ แผงผังของอาณาเขตทั้งหมดของวังหน้า พร้อมกับคำอธิบายจากผู้บรรยาย ที่อธิบายถึงการสร้างวังหน้าในรัชสมัยที่ต่างกัน แสดงถึงอำนาจทางเมือง หรือความรุ่งเรืองของศิลปะ ศาสนาในช่วงต่างๆ
โปรเจคเตอร์ นำเสนอวังหลังในสมัยรัชกาลที่ 4 กับปัจจุบัน
ในสมัยรัชกาลที่ 4 และในสมัยที่พระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า ถูกปกครองโดยพระบามสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสร้างปราสาท หรือวังต่างๆ ที่มีรูปแบบเหมือนวังหลวง รวมถึงมีการสร้างสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางทหาร โดยนำเสนอภาพในปัจจุบันกับในอดีต โดยใช้การฉายภาพโปรเจคเตอร์
โมเดลจำลองตัวแบบพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
การสร้างพระราชวัง หลังคาจะซ้อนมากกว่าหนึ่งชั้น แต่การก่อสร้างวังหน้าในรัชสมัยพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสร้างที่คล้ายกับวังหลวง มีความเชื่อที่ว่า พระเจ้าแผ่นดิน เปรียบเสมือนเป็นเทวดาห้ามเหยียบหรือเดินบนพื้นดิน เลยต้องมีการยกพื้นสูง เพื่อให้พระเจ้าแผ่นดินลงจากพาหนะแล้วเสด็จเข้าสู่ตัวพระราชวังได้เลย
ในส่วนที่สะดุดตาที่สุด หรือท้องพระโรงจำลอง
ท้องพระโรงจำลองนี้ ให้ความรู้สึกเหมือนเราไปอยู่ในพระราชวังบวรสถานมงคล ที่มองไปตามทิศต่างๆ ก็จะเห็นพระราชวัง หรือส่วนต่างๆ ของวังหน้าเสมือนจริง รวมถึงการใช้ผ้าสีขาวบางมาทำแทนผนัง เพื่อที่ต้องการจะสื่อถึงว่า การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของวังหน้า ขึ้นอยู่กับการเมืองอย่างเห็นได้ชัด มีความอ่อนไหว เปลี่ยนแปลงได้ตลอด ไม่ว่าทั้งจะรุ่งเรือง หรือสูญสิ้นไป ในส่วนด้านในได้มีรายละเอียดจากผู้บรรยายหลายๆ อย่าง เช่น ฟอนต์ที่ใช้ของคำว่า “วังน่านิมิต” คือฟอนต์อะไร มาจากใคร
ในส่วนที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง คงหนี้ไม่พ้นเรื่อง สีไทยโทนที่ใช้ สีไทยโทนเกิดจากการที่ ทางผู้เชี่ยวชาญใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์เป็นโค้ดสี และนำไปเทียบกับสีไทยโทนที่มีอยู่ พบว่ามีการใช้สีแดงชาด และทองคำเปลวเป็นสีทอง ซึ่งจะเป็นสีที่ใช้ตามสถานที่ในเชิงพระพุทธศาสนา แต่ในรัชสมัยที่วังหลังรุ่งเรือง ก็มีการใช้สีในลักษณะนี้เช่นกัน
จบในส่วนของภาคแรกในนิทรรศการ วังน่านิมิต ที่ BACC
ในส่วนของภาคแรกของนิทรรศการ วังน่านิมิต ที่ BACC เป็นการนำเสนอในส่วนของการเปลี่ยนแปลง ความรุ่งเรือง และการสิ้นสุดของวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ 4-5 เท่านั้น สำหรับท่านที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ นิทรรศการ “วังน่านิมิต” ประวัติศาสตร์ทรงคุณค่าในรูปแบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงมี นิทรรศการ เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก ที่ซึ่งได้ถ่ายทอดเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงได้เล่าเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงของวังหน้าในช่วงรัชกาลที่ 4-5 อีกด้วย สามารถอ่านเพิ่มเติมประกอบได้ ส่วนเรื่องของสีไทยโทนทางทีมจะศึกษา และนำมาเล่าสู่กันฟังใหม่
‘วังน่านิมิต’ ภาคแรกจะจัดแสดงที่หอศิลป์ฯ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 10-27 มิถุนายนนี้ ส่วนภาคที่ 2 เป็นการจัดแสดงข้อมูลที่ใช้ในการสร้างงานนิทรรศการ รวมถึงข้อมูลวังหน้าที่น่าสนใจต่างๆ รวมไว้ในช่องทางออนไลน์ ให้ผู้ที่สนใจเข้าไปสืบค้นได้ที่ www.wangnaproject.space ส่วนภาคที่ 3 คือการยกนิทรรศการ วังน่านิมิต ที่เสร็จสิ้นจากการจัดที่หอศิลป์ฯ กรุงเทพฯ แล้ว ไปจัดแสดงอีกครั้งบนพื้นที่จริง คือที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในเดือนธันวาคม อ่านเรื่องที่สนใจเพิ่มเติมได้ที่นี่