ปัจจุบันในยุคของโลกดิจิตัล แทบทุกคนบนโลกใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างแพร่หลายและสะดวกรวดเร็ว ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงวัยสูงอายุรู้จัก และคุ้นเคยกับ Social Network เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น Facebook Instagram Line หรืออื่นๆ มากมาย จากสถิติในปี 2015 คนไทยใช้ Facebook มากเป็นอันดับ 8 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงถือเป็นโอกาสทองในการใช้ให้เกิดประโยชน์

Event ส่วนมากที่ได้เสียงกระแสตอบรับที่ดี มักจะมีต้นทุนมาจากความนิยมในโลกโซเชียล ผู้คนให้ความสนใจและพูดถึงในวงกว้าง มีการแชร์หรือบอกต่อ เพราะฉะนั้นหลายคนอาจจะสงสัยว่า ควรจะเริ่มจากจุดไหนดีนะ ถ้าตอนนี้ยังมีคนพูดถึงงาน Event ของตัวเองไม่มากเท่าที่ควร​

“ การโปรโมทงาน Event เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ นอกเหนือจากการทำ Event ให้น่าสนใจและตอบโจทย์ทั้งผู้จัด(Organizer) และผู้เข้าร่วม (Attendee) เพราะด้วยข้อจำกัดของงานที่มีแค่ไม่กี่วัน ถ้าไม่มีการโปรโมทไปยังกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้คนมางานน้อย ถ้างั้นเราจะจัด Event ไปเพื่ออะไร? “

Let’s get started! (มาเริ่มกันเลย!)

#Attention Please! (เรียกร้องความสนใจกันหน่อย!)

ก่อนอื่นเลยทําให้ข่าวงาน Event สะดุดตาผู้คนให้ได้ก่อน ยิ่งผ่านตาคนมากเท่าไหร่ คนก็จะย่ิงจําได้มากเท่านั้น สร้างโพสต์ใน Website, Facebook, Twitter, Instagram, etc. เพื่อให้ข่าวสารส่งไปถึงผู้คนได้ทั่วถึงที่สุด เคล็ดลับเพิ่มเติมคือ การติดแฮชแท็ก (Hashtag) ให้กับงาน event นั้นๆ เช่น #thailandbookfair เพราะแฮชแท็ก จะช่วยให้คนติดตามงานได้มากและสะดวกยิ่งขึ้น

การศึกษาช่วงเวลาการโพสต์ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะมีผลต่อจำนวนการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น จากสถิติปี 2015 เวลาที่คน Like Share และ Comment ใน facebook มากที่สุด คือ วันพุธ เวลา 9.00-16.00 น. กับช่วงเวลา 16.00 และ 20.00 น. ของอาทิตย์-พฤหัส และช่วงเวลาที่ Like Share และComment ใน facebook น้อย คือ 5 ทุ่มถึง 8 โมงเช้า เป็นต้น ดังนั้นผู้จัดงานควรศึกษา และสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละ Social Network เพื่อที่จะได้เข้าถึงได้อย่างดีที่สุด

# Sharing is the key (การแชร์คือกุญแจสำคัญ)

หลังจากได้โพสต์และแฮชแท็กของ Event แล้ว การ share, share,และ share จะทําให้ข่าวสารการโปรโมทกระจาย ไปในวงที่กว้างมากกว่าเดิม แต่จะทําอย่างไรให้คนแชร์ล่ะ?

  • การหาช่องทางจากกลุ่มคน เช่น ดารา Net Idol หรือ สื่อที่มีชื่อเสียง เช่น Page Facebook ต่างๆ ที่มีคนติดตามเป็นจำนวนมาก ให้ช่วยแชร์โพสต์
  • สร้างกิจกรรมให้คนแชร์เพื่อลุ้นรับรางวัล
  • การเพิ่ม Content ไปในทางโน้มน้าวให้คนแชร์ เช่น ชอบกด Like ใช่กด Share
  • นําข้อมูลและโพสต์ไปลงโฆษณาในเว็บไซต์อื่นๆ

# Quality over Quantity (คุณภาพต้องมา)

  • อีเว้นท์เกี่ยวกับอะไร
  • วัน / เวลา
  • สถานที่
  • การเดินทาง และช่องทางติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อมูลเหล่านี้จะขาดหรือผิดพลาดไม่ได้เลย ต้องหมั่นคอยตรวจสอบและอัพเดทข้อมูลหากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข รวมไปถึงข้อมูลรายละเอียดของงานเชิงลึกต่างๆ ที่จะต้องกระชับและครบถ้วน ก็จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของงาน Event นั้นให้มากยิ่งขึ้นด้วย

# Visualisation (แสง สี เสียง)

อย่างที่เคยได้ยินกันมาว่า Don’t judge the book by its cover หรืออย่าตัดสินหนังสือเพียงเพราะหน้าปก แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนมากจะมองที่ภาพก่อนอ่านที่เนื้อหาอยู่ดี ดังนั้น การใส่ภาพ หรือวิดิโอประกอบเป็นสิ่งที่สําคัญมากๆ เพราะว่าจะช่วยดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี

การจ้างช่างถ่ายรูป หรือคนออกแบบแบนเนอร์ของ Event จึงเป็นสิ่งที่ควรค่าการลงทุน เพราะการมีรูปหรือบรรยากาศจากการจัดคร้ังที่แล้วมาเสริม จะทําให้คนได้เห็นภาพมากขึ้นว่า Event นั้นเกี่ยวกับอะไร กิจกรรม เป็นแบบไหน เพราะถ้าเป็นแค่ตัวหนังสือล้วนๆ รับรองว่าครึ่งหนึ่งของคนที่เข้ามาอ่านจะเลื่อนผ่านแน่นอน

# Keep calm and continue promoting (ทำใจนิ่งๆ และโปรโมทต่อไป)

ก่อนถึงวันงาน ผู้จัดควรจะโปรโมท และแชร์โพสต์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อคอยย้ำเตือนว่างานนั้นใกล้เข้ามาแล้วแถมยังช่วยให้งาน event ผ่านตาผู้อ่านอยู่ตลอด ไม่ต้องกังวลไปถ้าช่วงแรกโพสต์ของเราอาจจะยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก เพียงแค่คอยอัพเดทและแชร์ข้อมูลอยู่เรื่อยๆ สุดท้ายแล้ว ผลตอบรับจะออกมาในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

นอกจากนั้นผู้จัดยังสามารถ Boost Post หรือส่งเสริมโพสต์ ที่จะช่วยกระจาย หรือ โปรโมท โพสต์นั้นๆ ให้มีคนเห็นเยอะมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ขึ้นอยู่กับ Budget โดยราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 150 – 10,000 บาท ขึ้นไป สำหรับ Facebook

อ้างอิง :

  • www.tintup.com/blog/10-social-media-tips-to-promote-your-next-event-without-spending-a-dime/
  • www.s3.amazonaws.com
  • www.seo.co.th/smm.php
  • www.it24hrs.com/2016/stat-social-media-thai-populations/

Comments

comments

Author

A multidisciplinary designer who have erratic mood swings.